สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น 8 ดวง

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น 8 ดวง

23 ต.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งที่ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา เบลเยียม สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ได้รายงานว่า พบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเพิ่มขึ้นอีก ดวง ทำให้ในขณะนี้จำนวนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่ค้นพบมีถึง 74 ดวงแล้ว 

นักดาราศาสตร์คณะนี้ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์เชนขนาด เมตรที่หอสังเกตการณ์ลิก กล้องแองโกลออสเตรเลียนขนาด 3.9 เมตร และกล้องเคกขนาด 10 เมตร สำรวจสเปกตรัมของดาวฤกษ์บริเวณใกล้เคียงจำนวน 1,200 ดวงเพื่อหาการเลื่อนดอปเพลอร์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญของการมีอยู่ของดาวเคราะห์ เป้าหมายสำคัญของคณะสำรวจคือการค้นหาระบบสุริยะที่มีลักษณะคล้ายกับระบบสุริยะของเรา

ดาวฤกษ์ทั้ง ดวงที่เป็นดาวแม่ของดาวเคราะห์ใหม่นี้ มีมวลอยู่ในช่วง 0.9-1.2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ระยะห่างระหว่างดาวแม่และดาวบริวารอยู่ในช่วง 0.07-3.5 หน่วยดาราศาสตร์ มีคาบ วันถึง ปี

ความสำคัญอย่างหนึ่งของการค้นพบในครั้งนี้คือ การพบว่าดาวเคราะห์บางดวงมีคุณสมบัติคล้ายกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรามาก ก่อนหน้านี้ ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่เคยพบมา ล้วนแต่มีวงโคจรที่รีมาก ต่างไปจากวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราซึ่งเป็นวงรีค่อนข้างกลม อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ระบบสุริยะอื่นที่ค้นพบมามีต้นกำเนิดและวิวัฒนาการเหมือนหรือต่างจากระบบสุริยะของเราอย่างไร


ภาพของระบบสุริยะของดาว HD 23079 ในจินตนาการของ เดวิด เอ. ฮาร์ดี ดาวเคราะห์มีมวลเป็น 3 เท่าของดาวพฤหัสบดีและโคจรรอบดาวแม่ครบรอบทุก ๆ 628 วันและมีวงโคจรเกือบกลม (ภาพจาก PPARC, astroart.org)

ภาพของระบบสุริยะของดาว HD 23079 ในจินตนาการของ เดวิด เอ. ฮาร์ดี ดาวเคราะห์มีมวลเป็น 3 เท่าของดาวพฤหัสบดีและโคจรรอบดาวแม่ครบรอบทุก ๆ 628 วันและมีวงโคจรเกือบกลม (ภาพจาก PPARC, astroart.org)

วงโคจรของดาวเคราะห์สามดวงที่พบโดยหอสังเกตการณ์แองโกล-ออสเตรเลียน (เส้นสีเหลือง) เทียบกับวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา (เส้นสีแดง,เขียว) (ภาพจาก C.Tinney / Anglo-Australian Observatory)

วงโคจรของดาวเคราะห์สามดวงที่พบโดยหอสังเกตการณ์แองโกล-ออสเตรเลียน (เส้นสีเหลือง) เทียบกับวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา (เส้นสีแดง,เขียว) (ภาพจาก C.Tinney / Anglo-Australian Observatory)

<br />
	   ตารางแสดงมวลของดาวฤกษ์ที่พบดาวบริวาร 8 ดวง (หน่วยเป็นจำนวนเท่าของมวลดวงอาทิตย์) มวลต่ำสุดของดาวเคราะห์บริวาร (หน่วยเป็นจำนวนเท่าของมวลดาวพฤหัสบดี) ระยะไกลสุดของดาวเคราะห์ (a) ความรี (e) และคาบการโคจร (P)


ตารางแสดงมวลของดาวฤกษ์ที่พบดาวบริวาร 8 ดวง (หน่วยเป็นจำนวนเท่าของมวลดวงอาทิตย์) มวลต่ำสุดของดาวเคราะห์บริวาร (หน่วยเป็นจำนวนเท่าของมวลดาวพฤหัสบดี) ระยะไกลสุดของดาวเคราะห์ (a) ความรี (e) และคาบการโคจร (P)

ที่มา: