สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ภาพใหม่ของดาวบีตาขาตั้งภาพ

ภาพใหม่ของดาวบีตาขาตั้งภาพ

19 มี.ค. 2554
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดาวบีตาขาตั้งภาพ (Beta Pictoris) อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 63.4 ปีแสง ในกลุ่มดาวขาตั้งภาพ อายุ 12 ล้านปี เป็นดาวฤกษ์ดวงแรกที่นักวิทยาศาสตร์ถ่ายภาพจานฝุ่นรอบดาวได้โดยตรง และยังพบว่ามีดาวเคราะห์เป็นบริวารหนึ่งดวงโคจรรอบดาวที่ระยะ 8-15 หน่วยดาราศาสตร์อีกด้วย
ตามหลักการตั้งชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น จะตั้งชื่อตามดาวฤกษ์ที่โคจรอยู่ แต่มีอักษรต่อท้าย โดยเริ่มต้นที่ บี (b) เป็นต้นไป ตามลำดับการค้นพบ ดังนั้นดาวเคราะห์ของดาวบีตาขาตั้งภาพดวงนี้ ก็มีชื่อว่า บีตาขาตั้งภาพบี (Beta Pictoris b)
ล่าสุดนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องนาโค (NaCo) บนกล้องดูดาววีแอลที สำรวจระบบสุริยะนี้ในย่านความถี่ 2.8 ไมโครเมตร (การสำรวจก่อนหน้านี้ทำที่ความยาวคลื่น ไมโครเมตร) ภาพที่ได้ยืนยันว่ามีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวดวงนี้จริง และยังช่วยให้นักดาราศาสตร์ประเมินได้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลอยู่ระหว่าง 7-11 เท่าของดาวพฤหัสบดี มีอุณหภูมิยังผลอยู่ที่ 1,100-1,700 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิยังผลของดาวเคราะห์ คืออุณหภูมิพื้นผิวที่สมมุติว่าพื้นผิวนั้นดำสนิท ดูดกลืนรังสีทั้งหมดทุกย่านความถี่และแผ่รังสีทั้งหมดนั้นกลับสู่อวกาศ)
การที่พบว่าดาวบีตาขาตั้งภาพบียังคงอบอุ่นอยู่แสดงว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ยังรักษาความร้อนดั้งเดิมที่ได้รับมาจากกระบวนการสร้างดาวเคราะห์อยู่ ในขั้นตอนต่อไป นักดาราศาสตร์จะสำรวจหาสมบัติต่าง ๆ ของบรรยากาศบนดาวเคราะห์ดวงนี้ รวมถึงอันตรกิริยาระหว่างดาวเคราะห์กับวัสดุในจานฝุ่นรอบดาวฤกษ์ด้วย 
ซ้าย :  ดาวบีตาขาตั้งภาพบี (Beta Pictoris b) ถ่ายในปี 2546  กลาง : ถ่ายในเดือนตุลาคม 2552 และมีนาคม 2554  แสดงการเปลี่ยนตำแหน่งที่เกิดจากการโคจรอย่างชัดเจน

ซ้าย : ดาวบีตาขาตั้งภาพบี (Beta Pictoris b) ถ่ายในปี 2546 กลาง : ถ่ายในเดือนตุลาคม 2552 และมีนาคม 2554 แสดงการเปลี่ยนตำแหน่งที่เกิดจากการโคจรอย่างชัดเจน

ที่มา: