สมาคมดาราศาสตร์ไทย

หลุมดำมิดเดิลเวท

หลุมดำมิดเดิลเวท

1 ก.ย. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ในเดือนเมษายน 2542 นักดาราศาสตร์สองกลุ่มได้พบหลักฐานว่ามีหลุมดำที่มีมวลปานกลางอยู่ในดาราจักรอื่น ๆ บางดาราจักร ซึ่งเป็นการค้นพบทางอ้อม จนเมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์กลุ่มอื่นอีกหลายกลุ่มได้ยืนยันการค้นพบดังกล่าว ว่ามีหลุมดำประเภทดังกล่าวอยู่จริง โดยได้มีการค้นพบหลุมดำที่มีมวลปานกลางอยู่ในใจกลางดาราจักร M82 ที่อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 11 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวหมีใหญ่ กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์จันทราได้ถ่ายภาพของดาราจักรนี้ในย่านรังสีเอกซ์ และสามารถแสดงภาพของจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์รุนแรงใกล้กับตำแหน่งศูนย์กลางของดาราจักร จุดกำเนิดรังสีเอกซ์นี้อยู่ห่างจากใจกลางดาราจักรเพียง 600 ปีแสง และมีความสว่างเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในคาบ 10 นาที 

ฟิลิป คาเรต จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน อธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า การกระเพื่อมของความเข้มข้นรังสีเอกซ์นี้น่าจะเกิดจากก้อนของก๊าซร้อนกำลังหมุนรอบหลุมดำในเฮือกสุดท้าย ก่อนที่จะถูกหลุมดำกลืนเข้าไป คุณสมบัตินี้คล้ายกับที่พบในหลุมดำ อื่น ๆ ที่มีการศึกษามา เป็นไปไม่ได้เลยที่วัตถุนี้จะเป็นอย่างอื่นนอกจากหลุมดำ คาบการผันแปร 10 นาทีของมันเป็นค่าที่จำกัดขีดสูงสุดของมวลหลุมดำนี้ไว้ไม่เกิน 80,000 เท่าของมวลของดวงอาทิตย์ 

ในขณะเดียวกัน ความสว่างที่มากของวัตถุนี้ก็จำกัดขีดต่ำสุดของมวลเอาไว้ที่ 500 เท่าของมวลของดวงอาทิตย์ ซึ่งสูงเกินกว่าที่จะเกิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์ดวงเดียว 

ก่อนหน้านี้ นักดาราศาสตร์รู้จักหลุมดำเพียงสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มดำขนาดเล็ก ซึ่งมีมวลเพียงประมาณ ถึง 10 เท่าของมวลของดวงอาทิตย์ กับหลุมดำยักษ์ ที่มีมวลตั้งแต่ประมาณ ล้านถึง พันล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ในใจกลางของดาราจักร 

วัตถุนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ดักลาส ริชโชน จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน เสนอว่าอาจเกิดขึ้นจากดาวฤกษ์ในกระจุกดาวที่หนาแน่นมาก ๆ มาชนกันจนดาวทั้งหมดหลอมรวมกันจนเป็นหลุมดำดวงเดียว 

หรือบางทีมันอาจจะเกิดขึ้นจากกลไกเดียวกันกับที่ทำให้เกิดหลุมดำขนาดยักษ์ทั่ว ๆ ไปที่พบในใจกลางของดาราจักรหลายแห่ง ซึ่งก็ยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเกิดขึ้นอย่างไร ขณะนี้มีทฤษฎีที่อธิบายการกำเนิดหลุมดำยักษ์ไม่ต่ำกว่า ทฤษฎี การค้นพบหลุมดำขนาดกลางนี้อาจช่วยให้ไขปมปริศนาการกำเนิดหลุมดำนี้ได้ 

ภาพรังสีเอกซ์บริเวณใจกลางของดาราจักร M82 ตำแหน่งศรชี้คือหลุมดำ ภาพนี้มีด้านกว้าง 5 ลิปดา หรือ 16,000 ปีแสง (ภาพจาก NASA/SAO/CXC)

ภาพรังสีเอกซ์บริเวณใจกลางของดาราจักร M82 ตำแหน่งศรชี้คือหลุมดำ ภาพนี้มีด้านกว้าง 5 ลิปดา หรือ 16,000 ปีแสง (ภาพจาก NASA/SAO/CXC)

ที่มา: