สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกคนคู่ 2549

ฝนดาวตกคนคู่ 2549

13 ธันวาคม 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ฝนดาวตกคนคู่ เป็นหนึ่งในฝนดาวตกกลุ่มที่มีจำนวนดาวตกมากที่สุดในรอบปี สะเก็ดดาวต้นกำเนิดของฝนดาวตกกลุ่มนี้เกิดจากดาวเคราะห์น้อย "เฟทอน" ซึ่งคาดว่าในอดีตอาจเคยมีสภาพเป็นดาวหางมาก่อน และเป็นหนึ่งในวัตถุที่มีวงโคจรเกือบตัดกับวงโคจรโลก คาดว่ามันจะโคจรเข้าใกล้โลกภายในระยะ ล้านกิโลเมตรในวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2636

ปกติเราจะสามารถสังเกตเห็นดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ได้ระหว่างวันที่ 7-17 ธันวาคม แต่ดาวตกจะมีความถี่สูงสุดในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคมของทุกปี แม้ดาวตกกลุ่มนี้จะดูเหมือนมีจุดกำเนิดจากบริเวณกลุ่มดาวคนคู่ แต่เราไม่จำเป็นต้องมองไปในทิศทางของกลุ่มดาวนี้เพราะดาวตกเกิดได้ทั่วฟ้า นักดาราศาสตร์แนะนำว่าตำแหน่งที่สังเกตดาวตกได้ดีที่สุดคือท้องฟ้าส่วนที่มืดที่สุดและมีมุมเงยประมาณ 45 องศา


คาดหมายจำนวนดาวตก

จำนวนดาวตกสูงสุดที่คาดว่าจะนับได้สำหรับประเทศไทย
เวลา คืนวันที่ 13 ธ.ค. คืนวันที่ 14 ธ.ค.
21.00-22.00 น. 20 50
22.00-23.00 น. 35 70
23.00-24.00 น. 50 80
00.00-01.00 น. 60 80
01.00-02.00 น. 70 80
02.00-03.00 น. 80 80
03.00-04.00 น. 80 60
04.00-05.00 น. 70 50

หมายเหตุ
 เป็นเพียงการคาดหมายคร่าว ๆ โดยสมมุติให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีแสงรบกวนและเมฆบดบัง หากมีแสงไฟรบกวน จำนวนดาวตกอาจลดลงเหลือราวครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า
 ดาวตกจากฝนดาวตกคนคู่ส่วนใหญ่มีสีขาวและเหลือง จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ใกล้กับดาวคาสเตอร์ (Castor) ในกลุ่มดาวคนคู่และสามารถพบลูกไฟได้ราวร้อยละ ของดาวตกทั้งหมด
 ตัวเลขในตารางยังไม่คำนึงถึงแสงรบกวนจากดวงจันทร์ซึ่งจะเริ่มโผล่พ้นขอบฟ้าในเวลาประมาณตี ของคืนวันที่ 13 และตี ของคืนวันที่ 14 ธันวาคม ดังนั้นจำนวนดาวตกที่เห็นได้จะน้อยกว่าค่าในตารางหลังเวลาดังกล่าว