เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอะพอลโล 11
ภารกิจอะพอลโล 11 เป็นเหตุการณ์ทางเทคโนโลยีที่น่าจะนับได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 และยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ด้วยการนำมนุษย์ไปเหยียบลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ได้สำเร็จ
ยานอะพอลโล11 ขึ้นจากแท่นปล่อยเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2512 เพื่อนำมนุษย์สามคนไปดวงจันทร์ ลูกเรือทั้งสามได้แก่ นีล อาร์มสตรอง , บัซ อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ ยานใช้เวลาสามวันจึงไปถึงดวงจันทร์ หลังจากเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์แล้ว ยานได้ปล่อยยานลงจอดหรือลูนาร์โมดูลลงมาจอดที่ทะเลแห่งความเงียบ นีล อาร์มสตรอง เป็นคนแรกที่ก้าวออกมาและประทับรอยเท้าแรกของมนุษยชาติลงบนดวงจันทร์ หลังจากที่ใช้เวลาเกือบหนึ่งวันเต็มบนดวงจันทร์ ทั้งสองก็กลับขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อกับโมดูลสั่งการที่โคจรรอบดวงจันทร์อยู่ ก่อนที่จะมุ่งหน้ากลับสู่โลก ยานอะพอลโลกลับมาถึงโลกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม และลูกเรือทั้งสามก็กลับออกมาอย่างปลอดภัยเยี่ยงวีรบุรุษ
นั่นคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้และร่วมภาคภูมิแต่เบื้องหลังภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน
ปีนี้พ.ศ. 2562 เป็นวาระครบรอบ 50 ปีของภารกิจอะพอลโล 11 ขอนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับภารกิจอะพอลโลมาเล่าขานกัน
●บุคคลสำคัญที่เป็นเบื้องหลังความสำเร็จในการสร้างและพัฒนาจรวดให้แก่สหรัฐอเมริกาจนพิชิตดวงจันทร์ได้ เป็นอดีตศัตรูในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเยอรมันชื่อ เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ วิศวกรผู้ที่พัฒนาขีปนาวุธ วี 2 ให้ฮิตเลอร์
●จรวดที่นำยานอะพอลโลไปยังดวงจันทร์คือ จรวดแซตเทิร์น 5 เป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังมีสถิติการปฏิบัติภารกิจดีเยี่ยม ในการขึ้นสู่ท้องฟ้า 13 ครั้ง ประสบความสำเร็จทั้ง 13 ครั้ง (มีข้อผิดพลาดบางอย่างในภารกิจอะพอลโล 6)
●ตำแหน่งหนึ่งในโครงการอะพอลโลที่ไม่โดดเด่นแต่ว่าสำคัญอย่างยิ่งยวด คือ เจ้าหน้าที่พับร่ม ซึ่งมีหน้าที่พับร่มชูชีพแล้วยัดเข้าเข้าไปในยานเพื่อใช้กางขณะยานกลับสู่โลก คนที่มีฝีมือพอจะทำงานนี้ได้มีเพียงสามคนเท่านั้น หน้าที่นี้สำคัญมากเสียจนองค์การนาซาไม่อนุญาตให้สามคนนี้นั่งรถคันเดียวกัน เพื่อลดโอกาสความสูญเสียหากรถเกิดอุบัติเหตุ
●โปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบนำทางของยานอะพอลโล เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีทั้งหมด โปรแกรมในระบบนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "โค้ดของแฮมิลตัน" ตามชื่อของ มาร์กาแร็ต แฮมิลตัน ผู้อำนวยการภาควิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ของเอ็มไอที และหัวหน้าผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ให้โครงการอะพอลโล ชื่อเรียกนี้มักพาให้เข้าใจผิดว่าแฮมิลตันเขียนโปรแกรมทั้งหมดเพียงคนเดียว แต่ในความเป็นจริง โปรแกรมที่ใช้ในภารกิจอะพอลโลมีคนเขียนโปรแกรมอยู่นับร้อยคน
●ในยุคของอะพอลโล ยังไม่มีชิปไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นแรกของโลก (Intel 4004) เกิดขึ้นหลังจากอะพอลโล 11 นานถึง 11 ปี คอมพิวเตอร์ในยานอะพอลโล เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ๆ ของโลกที่ใช้ไอซี สัญญาณนาฬิกาที่ใช้มีความถี่ 2 เมกะเฮิรตซ์ คอมพิวเตอร์ในสมาร์ตโฟนทุกวันนี้มีความถี่สัญญาณนาฬิกาเร็วกว่านั้นราวหนึ่งพันเท่า!
●ในปีที่ยานอะพอลโล 11 ไปดวงจันทร์ ผู้คนยังฟังเพลงจากเทปคาสเซตต์ คำนวณตัวเลขด้วยสไลด์รูล นาฬิกาแบบตัวเลขยังไม่มี ประเทศไทยยังอยู่ในยุคเผด็จการทหารและยังไม่มีโทรทัศน์สีใช้ สงครามเวียดนามยังคงดุเดือด ลินุส โทรวัลด์ส ผู้ให้กำเนิดระบบปฏิบัติการลินุกซ์เพิ่งเกิด สรพงศ์ ชาตรี เพิ่งเข้าวงการแสดง
●มนุษย์อวกาศที่ออกไปเดินบนดวงจันทร์ ให้ความเห็นตรงกันว่า ฝุ่นดวงจันทร์มีกลิ่นคล้ายเขม่าดินปืน แม้ชุดที่มนุษย์อวกาศใส่ไปเดินบนดวงจันทร์จะปิดสนิท แต่เมื่อกลับเข้ามาในยานลูนาร์โมดูลและถอดชุดออก ก็จะมีโอกาสสัมผัสและสูดฝุ่นดวงจันทร์ที่เกาะติดชุดอวกาศเข้ามา นอกจากมีกลิ่นชวนพิศวงแล้วฝุ่นดวงจันทร์ยังทำให้เกิดการระคายเคืองรุนแรงอีกด้วย
●ภารกิจอะพอลโล 11 เกือบจบลงด้วยโศกนาฏกรรม เมื่อลูกเรือคนหนึ่งเผลอทำให้เบรกเกอร์ในยานลูนาร์โมดูลแตกเสียหาย ซึ่งหากเบรกเกอร์ตัวนี้ไม่ทำงาน ยานก็จะกลับขึ้นไปหายานบริการไม่ได้ นักบินก็จะต้องติดอยู่บนดวงจันทร์จนตาย แต่ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขได้โดยอาร์มสตรองใช้ปากกาแหย่เข้าไปในเบรกเกอร์แทน
●หากคุณคิดว่าภารกิจการเหยียบดวงจันทร์ของอะพอลโล 11 เป็นเรื่องโกหก คุณก็ไม่ใช่คนเดียวที่คิดแบบนั้น ในการสำรวจความคิดเห็นโดยสำนักต่าง ๆ พบว่าชาวอเมริกันราว 10-20 เปอร์เซ็นต์ก็ไม่เชื่อเช่นกัน ในบางกลุ่มชาติพันธุ์เช่นชาวอเมริกันผิวดำ มีผู้ไม่เชื่อเกินครึ่ง ส่วนในรัสเซียนั้น สัดส่วนผู้ที่ไม่เชื่อมีมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์และบางสำนักตัวเลขผู้ที่ไม่เชื่อพุ่งขึ้นไปถึงเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ในไทยเคยมีผู้ทำแบบสำรวจความเห็นในเว็บไซต์ pantip.com พบว่ามีผู้ไม่เชื่อราวหนึ่งในสี่ของผู้ออกความเห็น
●นีล อาร์มสตรอง ได้เป็นมนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ ส่วน บัซ อัลดริน เป็นมนุษย์คนแรกที่ฉี่บนดวงจันทร์ แต่อัลดรินไม่ได้ทำวีรกรรมสีทองรดบนดินดวงจันทร์โดยตรง เขาปล่อยในชุดอวกาศซึ่งมีถุงเก็บอยู่ภายในขณะยังอยู่ในยานลูนาร์โมดูล
●ภารกิจอะพอลโล 11 มีการเก็บตัวอย่างหินบนดวงจันทร์กลับมาวิเคราะห์ และได้พบแร่ชนิดใหม่หลายชนิด หนึ่งในนั้นต่อมาได้ชื่อว่า อาร์มัลคอไลต์ (Armalcolite) ซึ่งตั้งชื่อตามนามสกุลของลูกเรือทั้งสาม (Armstrong+Aldrin+Collins)
ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Apollo_11
●ภาพมนุษย์บนดวงจันทร์ที่ถ่ายในภารกิจอะพอลโล 11 เกือบทั้งหมด เป็นภาพของ บัซ อัลดริน ส่วน นีล อาร์มสตรอง แทบไม่มีภาพตัวเองเลย เพราะเขาเป็นผู้ถือกล้อง
●เมื่อยานลูนาร์โมดูลลงจอดบนดวงจันทร์ ตามตารางของภารกิจ นักบินทั้งสอง (นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน) ต้องหลับในยานเป็นเวลา 5 ชั่วโมงก่อนจึงค่อยออกจากยาน แต่ทั้งสองตื่นเต้นเกินกว่าจะหลับลง จึงขออนุญาตศูนย์ควบคุมภารกิจว่าขอออกมาก่อน ซึ่งก็ได้รับอนุญาต
●ก่อนที่นักบินทั้งสองจะออกมาจากยานลูนาร์โมดูล บัซ อัลดรินได้ประกอบพิธีศีลมหาสนิทภายในยาน โดยได้เตรียมขนมปังและเหล้าไวน์รุ่นพิเศษเพื่อการนี้มาด้วย ส่วนนีล อาร์มสตรองไม่ได้ร่วมพิธีด้วย เพียงแต่ดูเฉย ๆ
ที่มาhttps://www.history.com/news/buzz-aldrin-communion-apollo-11-nasa
●ทางทำเนียบขาวได้เตรียมคำสดุดีและไว้อาลัยนักบินในภารกิจอะพอลโล 11 ไว้ให้ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสันอ่านออกอากาศไว้แล้ว เพื่อใช้ในกรณีที่ภารกิจนี้ล้มเหลว สุนทรพจน์ดังกล่าวเริ่มต้นด้วยประโยคว่า "โชคชะตาได้ลิขิตให้ชายผู้ที่ไปสำรวจดวงจันทร์โดยสันติได้พักผ่อนอย่างสงบที่นั่น..."
●ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่สหรัฐอเมริกาดำเนินโครงการอะพอลโล สหภาพโซเวียตก็มีเป้าหมายส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์เช่นเดียวกัน แต่จรวด เอ็น 1 ที่โซเวียตสร้างขึ้นเพื่อการส่งคนของตนเองไปดวงจันทร์ไม่เคยไปถึงดวงจันทร์ และสุดท้ายโครงการก็ยกเลิกไป
●รัสเซียพัฒนายานโซยุซเพื่อใช้ในการนำชาวรัสเซียไปดวงจันทร์ แม้โครงการไปดวงจันทร์จะล้มเลิกไป แต่ยานโซยุซยังคงใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน และได้ชื่อว่าเป็นยานอวกาศที่ปลอดภัยน่าเชื่อถือที่สุด
●การส่งมนุษย์ไปบนดวงจันทร์ เป็นวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี แต่วิสัยทัศน์นี้ได้กลายเป็นจริงในสมัยของเพื่อนรักเพื่อนแค้นของเคเนดี นั่นคือประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน
●ประโยคอมตะที่ นีล อาร์มสตรอง กล่าวเมื่อประทับรอยเท้าแรกลงบนพื้นดวงจันทร์คือ "นี่คือก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ" (That's one small step for a man, one
ยานอะพอลโล
นั่นคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้และร่วมภาคภูมิ
ปีนี้
●
●
●
●
●
●
●
●
●
●
●
ที่มา
●
●
●
ที่มา
●
●
●
●
●