การสังเกตดวงจันทร์
ทุกคนรู้จักดวงจันทร์ ส่วนใหญ่อาจเคยเห็นภูเขาสูง หลุมใหญ่น้อยจำนวนมากบนดวงจันทร์โดยดูผ่านกล้องดูดาว แล้วเกิดความรู้สึกประทับใจต่าง ๆ กัน แต่หลายคนคงไม่ทราบล่วงหน้าว่าในแต่ละคืนดวงจันทร์อยู่ตรงไหน มีลักษณะอย่างไร คืนนี้จะเห็นดวงจันทร์หรือเปล่า ตอนที่ออกไปกลางแจ้งดูท้องฟ้าดวงจันทร์กำลังขึ้นหรือว่าอยู่สูงบนฟ้า หรือว่ากำลังจะลับขอบฟ้าทางตะวันตก จะมีดาวสว่างอยู่เคียงข้างในลักษณะ "ดาวเคียงเดือน" หรือไม่ แสงจันทร์จะรบกวนการดูดาวอื่น ๆ เพียงใด
ดวงจันทร์จะเป็นอย่างไรในคืนนี้เราจะถามคำถามนี้ได้ต้องรู้ว่าคืนนี้เป็นวันข้างขึ้นหรือวันข้างแรมกี่ค่ำ มนุษย์ใช้ดวงจันร์เป็นเครื่องบอกเวลาและทำปฏิทินมานานแล้วเรียกว่า ปฏิทินจันทรคติ คำว่า "เดือน" ก็มาจากดวงจันทร์ หมายถึง ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์เคลื่อนรอบโลก 1 รอบ บรรพบุรุษของเราได้เฝ้าสังเกตความยาวของเดือนจากดวงจันทร์อย่างละเอียดแล้วพบว่า ช่วงเวลาจากจันทร์เพ็ญหนึ่งถึงจันทร์เพ็ญถัดไป หรือช่วงเวลาระหว่างการเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน มีความยาวประมาณ 29.5 วัน ปฏิทินจันทรคติของไทยจึงแบ่งเดือนออกเป็น 2 พวก คือ พวก เดือนขาด หรือ เดือนคี่ และพวก เดือนเต็มหรือเดือนคู่ โดยให้เดือนคี่มี 29 วัน และเดือนคู่มี 30 วัน ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะได้เดือนละ 29.5 วัน วันเริ่มต้นของเดือนคือ ขึ้น 1 ค่ำ ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวเล็กมาก ตกลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ภายในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในวันถัดมาดวงจันทร์อยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออกมากขึ้น ส่วนที่ได้รับแสงสว่างหันมาทางโลกมากขึ้น เราจึงเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวโตขึ้นและดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าภายหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที นี่คือ วันข้างขึ้น 2 ค่ำ วันข้างขึ้นดวงจันทร์สว่างมากขึ้นห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น และขึ้นเวลากลางวัน ถ้าห่างดวงอาทิตย์ 90 จะปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลม ขึ้นเวลาเทียงวัน ดังนั้นเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินดวงจันทร์จึงอยู่สูงสุดบนฟ้า หันด้านนูนไปทางดวงอาทิตย์และตรงกับข้างขึ้น หรือ 8 ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระ
ดวงจันทร์วันขึ้น7-8 ค่ำจะตกลับขอบฟ้าประมาณเที่ยงคืน ดวงจันทร์เต็มดวงหรือจันทร์เพ็ญจะตรงกับขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันพระกลางเดือนหรือแรม 1 ค่ำ พอดวงอาทิตย์ลับของฟ้าทางตะวันตกดวงจันทร์เพ็ญจะขึ้นทางตะวันออก เพราะฉะนั้น ดวงจันทร์วันขึ้น 15 ค่ำ จึงอยู่บนฟ้าตลอดทั้งคืนและสว่างที่สุดด้วย แสงจันทร์เพ็ญรบกวนการดูดาวเป็นที่สุด
หลังจากขึ้น15 ค่ำแล้วจะเป็นวันแรม 1 ค่ำจนถึงแรม 14 ค่ำ สำหรับเดือนคี่ ส่วนเดือนคู่จะมีถึงแรม 15 ค่ำ วันแรมน้อย ๆ ดวงจันทร์ยังสว่างมากและขึ้นจากขอบฟ้าช้าลงวันละประมาณ 50 นาที วันแรม 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์ปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลม ขึ้นเวลาประมาณเที่ยงคืน จึงอยู่สูงสุดบนฟ้าในเวลาจวนสว่าง วันข้างแรมแก่ ๆ ดวงจันทร์จะไม่เป็นอุปสรรคในการดูดาวก่อนดวงจันทร์ขึ้น เรากำหนดให้วันแรม 7 -8 ค่ำ และแรม 14-15 ค่ำ เป็นวันเพระเช่นเดียวกัน
ในการสังเกตดวงจันทร์นักดาราศาสตร์กำหนดให้ขนาดปรากฏของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงตาม "อายุ" กล่าวคือ เริ่มต้นนับอายุเมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ขึ้นพร้อม ๆ กันซึ่งตรงกับวัน จันทร์ดับ (New Moon) วันที่เห็นดวงจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลมครั้งแรก ดวงจันทร์จะผ่านวันเดือนดับมาแล้ว 7 หรือ 8 วันเรียกว่าดวงจันทร์มีอายุประมาณ 7-8 วัน (First quater Moon) จันทร์เพ็ญ (Full Moon) คือดวงจันทร์อายุ 15 วัน วันที่เห็นดวงจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลมหลังจะตรงกับวันที่ดวงจันทร์มีอยุ 22 วัน (Last quater Moon) ซึ่งจะตรงกับวันราว ๆ แรม 7-8 ค่ำ ดังนั้นดวงจันทร์ที่ปรากฏบนฟ้าจึงมีอายุสูงสุดเป็น 29.5 วัน
ถ้าทราบวันข้างขึ้น-ข้างแรมหรืออายุของดวงจันทร์แล้วเราจะสามารถบอกได้ว่าคืนนั้นดวงจันทร์จะสว่างเพียงใด อยู่ ณ ตำแหน่งใดเมื่อเวลาที่ดู ต่อไปนี้จึงเป็นบทสรุปการเห็นดวงจันทร์ที่มีอายุต่าง ๆ กัน
วันเดือนดับจะไม่เห็นดวงจันทร์เพราะดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ในสัปดาห์นี้เราจะเห็นดวงจันทร์อยู่ ทางตะวันตกในเวลาหัวค่ำเห็นเป็นเสี้ยวโตขึ้นตามอายุ ดวงจันทร์อายุ 1 วันหรือประมาณขึ้น 1 ค่ำจะเป็นเสี้ยวเล็กที่สุดใกล้ขอบฟ้าตรงที่ดวงอาทิตย์ตก คล้ายเขาวัวปลายแหลม 2 เขาชูขึ้น ดวงจันทร์ขึ้น 1 ค่ำ จะลับขอบฟ้าไปพร้อมแสงพลบค่ำ ดวงจันทร์อายุ 3 วันหรือขึ้น 3 ค่ำจะเห็นอยู่สูงจากขอบฟ้าด้านตะวันตกมากกว่าขึ้น 2 ค่ำในเวลาเดียวกัน แต่สว่างมากกว่า จะตกลับฟ้าหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ดวงจันทร์อายุ 5 วันหรือขึ้น 5 ค่ำจะสว่างขึ้นเป็นรูปเขาควายหงายเพราะอ้วนขึ้น อยู่สูงจากขอบฟ้าด้านตะวันตก หันด้านนูนไปยังจุดที่ดวงอาทิตย์ตก ตกกินหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 4 ชั่วโมง ดวงจันทร์อายุ 7 วันหรือขึ้น 7 ค่ำจะปรากฏเป็นรูปครึ่งวงกลมครุ่งแรก เห็นอยู่สูง ๆ กลางฟ้าเมื่อเวลาหัวค่ำ หันด้านนูนไปทางตะวันตก สว่างมากขึ้น รบกวนการดูดาวไปจนถึงประมาณเที่ยงคืน
ดวงจันทร์สว่างขึ้นและเห็นอยู่ค่อนไปทางตะวันออกตกลับขอบฟ้าหลังเที่ยงคืนช้าลงไปวันละประมาณ 50 นาที เช่นวันขึ้น 10 ค่ำหรือดวงจันทร์อายุ 10 วันจะตกดินหลังดวงอาทิตย์ประมาณ 8 ชั่วโมง 20 นาที วันเพ็ญดวงจันทร์จะสว่างทั้งคืน
เป็นดวงจันทร์ข้างแรมอายุมากกว่า15 วัน ถ้าเป็นข้างแรมน้อย ๆ ดวงจันทร์จะรบกวนการดูดาวตลอดคืน ถ้าเป็นข้างแรม 4-7 ค่ำ จะมีเวลาดูดาวโดยดวงจันทร์ไม่รบกวนในเวลาหัวค่ำถึงประมาณ 3 ทุ่ม ถ้าเป็นวันพระแรม 7 ค่ำดวงจันทร์จะขึ้นประมาณเที่ยงคืน
เป็นดวงจันทร์ช่วงสัปดาห์สุดท้ายตั้งแต่แรม8
ดวงจันทร์จะเป็นอย่างไรในคืนนี้
ดวงจันทร์วันขึ้น
หลังจากขึ้น
ในการสังเกตดวงจันทร์
ถ้าทราบวันข้างขึ้น-ข้างแรมหรืออายุของดวงจันทร์แล้ว
ระหว่างวันเดือนดับและวันที่ดวงจันทร์เป็นรูปครึ่งวงกลมแรก
วันเดือนดับจะไม่เห็นดวงจันทร์
ระหว่างดวงจันทร์รูปครึ่งวงกลมครึ่งแรกและจันทร์เพ็ญ
ดวงจันทร์สว่างขึ้นและเห็นอยู่ค่อนไปทางตะวันออก
ระหว่างจันทร์เพ็ญกับดวงจันทร์รูปครึ่งวงกลมครึ่งหลัง
เป็นดวงจันทร์ข้างแรมอายุมากกว่า
ระหว่างดวงจันทร์รูปครึ่งวงกลมครึ่งหลังและวันเดือนดับ
เป็นดวงจันทร์ช่วงสัปดาห์สุดท้ายตั้งแต่แรม