สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์

14 มิถุนายน 2550 โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 พฤศจิกายน 2563
คนแรกที่เสนอความคิดว่าดวงจันทร์เต็มไปด้วยภูเขาคือ ดีโมครีตัส นักปราชญ์ชาวกรีก มีอายุในช่วงปี 460-370 ปีก่อนคริสตกาล

คนแรกที่เขียนแผนที่ของดวงจันทร์คือ ดับเบิลยู กิลเบิร์ต ในช่วงราว ๆ ปี พ.ศ.2143 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2194 แผนที่นี้เขียนโดยการสังเกตการณ์ด้วยตาเปล่า เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้น

ในปี 2535 พรรคนิวคาสเซิล กรีน ในอังกฤษ มีการกำหนดปฏิทินการประชุมพรรคโดยใช้ปฏิทินจันทรคติ โดยกำหนดให้ประชุมกันทุกวันจันทร์ดับ และปฏิบัติงานตามแผนทุกวันจันทร์เพ็ญ

คำว่า lunatic ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายว่า คนเพี้ยน คนไม่สมประกอบ เริ่มใช้ในประเทศอังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1290 แต่มีการใช้มาตั้งแต่ยุคโรมันแล้ว คำนี้มีรากศัพท์เกี่ยวกับดวงจันทร์เนื่องจากคนในยุคนั้น (รวมถึงยุคนี้บางคน) เชื่อว่าดวงจันทร์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมประหลาด ๆ ของมนุษย์คนดังอย่าง เจมส์ วัตต์, เบนจามิน แฟรงคลิน และอีกหลายคน เคยถูกเรียกว่า lunatic มาก่อน ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะว่าเป็นคนเพี้ยน แต่เป็นสมาชิกของสมาคมดวงจันทร์ (Lunar Society) ซึ่งเรียกสมาชิกของสมาคมว่า lunatic และสมาคมนี้ก็ไม่ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับดวงจันทร์ แต่เป็นสมาคมสำหรับอภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ มีการจัดประชุมทุกคืนวันจันทร์ก่อนวันเพ็ญ ด้วยเหตุผลที่ว่าแสงจันทร์ใกล้เพ็ญจะช่วยส่องทางยามค่ำคืนเมื่อสมาชิกกลับบ้าน จึงมีชื่อสมาคมว่า Lunar Society


แผนที่ดวงจันทร์ชิ้นแรกที่เขียนโดยการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เขียนโดย โธมัส แฮริออต ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2262 ซึ่งแสดงรายละเอียดต่าง ๆ บนผิวดวงจันทร์ได้อย่างละเอียดและแม่นยำกว่าแผนที่ที่เขียนโดยกาลิเลโอในปี พ.ศ.2263 เสียด้วยซ้ำ

ภูเขาลูกแรกบนดวงจันทร์ที่มีการวัดความสูงกันคือ อัลเพนไนนส์ โดยกาลิเลโอ ในปี พ.ศ.2263

คนแรกที่อธิบายแสงจาง ๆ บนดวงจันทร์ด้านมืดในคืนจันทร์เสี้ยวคือ ลีโอนาร์โด ดา วินชี เขาอธิบายว่าแสงนั้นเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากผิวโลกอีกทีหนึ่ง ซึ่งถูกต้องทุกประการ

ภาพถ่ายภาพแรกของดวงจันทร์ เป็นผลงานของ เจ ดับเบิลยู แดรเปอร์ ถ่ายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2383 ใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง นิ้ว เปิดหน้ากล้องนาน 20 นาที

การวัดอุณหภูมิพื้นผิวของดวงจันทร์เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2412 ผลของการวัดครั้งนั้นคือ 100 องศาเซลเซียส (ตัวเลขที่แท้จริงในปัจจุบันคือ -163 ถึง 117 องศาเซลเซียส)

การวัดการสะท้อนเรดาร์ของดวงจันทร์เพื่อวัดระยะห่างเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1946 โดย แซด เบย์ ที่ฮังการี

การวัดระยะทางของดวงจันทร์ที่แม่นยำที่สุดในขณะนี้คือการวัดการสะท้อนของแสงเลเซอร์ ระยะทางเฉลี่ยที่วัดได้คือ 353911.218 กิโลเมตร

ทะเลที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ชื่อ ทะเลแห่งฝน (Mare Imbrium) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,300 กิโลเมตร ลึก กิโลเมตร

ด้านไกลของดวงจันทร์มีทะเลขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นคือ ทะเลตะวันออก (Mare Orientale) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 กิโลเมตร

แอ่งที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์คือ แอ่งเอตเคน-ขั้วใต้ (South Pole-Aitken basin) มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 2,500 กิโลเมตร ลึก 13 กิโลเมตร ค้นพบโดยยานคลีเมนไทน์ ในปี พ.ศ.2537 เชื่อว่าแอ่งนี้มีอายุถึง 3,800 ถึง 4,300 ล้านปี เกิดจากอุกกาบาตที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 200 กิโลเมตร

เครเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์คือ เบลลี(Bailly) เส้นผ่านศูนย์กลาง 295 กิโลเมตร ลึก 3.96 กิโลเมตร

ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของโลกคือ เอเบิล เป็นของสหรัฐอเมริกา ปล่อยจากฐานวันที่ 17 สิงหาคม 2501 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกที่ประสบผลสำเร็จคือ ลูนาร์ ยานนี้ไม่ได้ลงจอด เพียงแต่ผ่านดวงจันทร์ไปและส่งข้อมูลกลับมายังโลก

ยานลำแรกที่ลงจอดบนดวงจันทร์คือ ยานลูนา ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2502

ภาพถ่ายดวงจันทร์ด้านไกลภาพแรกถ่ายโดยยาน ลูนา ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2502

ภาพยานอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์ที่สามารถถ่ายได้จากโลกคือ ภาพของยานออร์บิเตอร์ ถ่ายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2511 โดย เจ.เฟาน์เทน, เอส. ลาร์สัน, และ จี. ไคเปอร์ ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาด 100 นิ้วที่แคทาลีนา จุดของยานมีอันดับความสว่างประมาณ 12 ถึง 15

เที่ยวบินอวกาศเที่ยวบินแรกที่นำมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์คือ อะพอลโล ในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2511

นักบินคนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คือ นีล อาร์มสตรอง ซึ่งเดินทางไปกับยานอะพอลโล 11 เขาได้เหยียบดวงจันทร์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2512 คนถัดมาก็คือเอ็ดวิน อัลดริน

ยานอวกาศลำแรกที่นำตัวอย่างหินจากดวงจันทร์กลับมายังโลกโดยไม่มีนักบินคือ ลูนา 16 ปล่อยจากฐานในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2513

ศาสตราจารย์ทางธรณีวิทยาคนแรกที่เดินทางไปเหยียบดวงจันทร์คือ แฮริสัน ชมิทท์ เดินทางไปกับยานอะพอลโล 17 ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2515

นักบินอวกาศคนล่าสุดที่ได้เหยียบดวงจันทร์คือ ยูจีน เซอแนน นักบินอวกาศยานอะพอลโล 17

ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของญี่ปุ่นคือ ฮะโกะโมะโระ ปล่อยจากฐานไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2533

การสังเกตการณ์ดวงจันทร์ในขณะดวงจันทร์เป็นเสี้ยวบางที่สุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2515 โดยนาย อาร์. มอแรน จากแคลิฟอเนีย ด้วยกล้องสองตาขนาด 10 50 ในขณะนั้นดวงจันทร์มีอายุคาบเพียง 14 ชั่วโมง 53 นาที เท่านั้น