สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(4 ม.ค. 68) ฝนดาวตกคนคู่ เกิดขึ้นราววันที่ 14-15 ธันวาคมของทุกปี ฝนดาวตกนี้มีความพิเศษหลายอย่าง เช่นมีอัตราตกที่สูงได้ถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง มีความเร็วของดาวตกสูงเพราะสะเก็ดดาวของฝนดาวตกนี้พุ่งเข้าใส่โลกด้วยความเร็วถึง 127,000 กิโลเมตรต่อ ...

พบแหล่งของคลื่นวิทยุกำเนิดซ้ำคาบยาว

(13 ธ.ค. 67) คณะนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคอร์ทินในเพิร์ท ออสเตรเลีย ได้กวาดกล้องโทรทรรศน์เมอร์ชิสันไวด์ฟิลด์ในเวสเทิร์นออสเตรเลียไปบนท้องฟ้า แล้วพบคลื่นวิทยุกำเนิดซ้ำคาบยาวแห่งใหม่ มีชื่อว่า กลีม-เอกซ์ เจ 0704-37 (GLEAM-X J0704-37) มีคาบการแผ่คลื่นนานถึง 2.9 ชั่วโมง ตำแหน่งที่พบอยู่ในกลุ่ม ...

โลกเคยมีวงแหวนเมื่อ 466 ล้านปีก่อน

(11 ธ.ค. 67) ในระบบสุริยะของเรา มีดาวเคราะห์หลายดวงที่มีวงแหวน ดวงที่โดดเด่นที่สุดก็คือดาวเสาร์ นอกจากดาวเสาร์แล้ว ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ก็มีวงแหวนเหมือนกัน แม้แต่ดาวอังคารก็มีหลักฐานว่าอาจเคยมีวงแหวนมาก่อน ล่าสุด นักดาราศาสตร์พบว่าโลกเราก็อาจเคยมีวงแหวนกับเขาด้วย ...

สนามแม่เหล็กพิศวงของดาวยูเรนัส

(8 ธ.ค. 67) หนึ่งในปริศนาจากยานวอยเอเจอร์ 2 ที่ยังคาใจนักดาราศาสตร์จนถึงปัจจุบันก็คือ เรื่องของสนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัส สนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัสมีลักษณะแปลกประหลาดไม่เหมือนดาวดวงอื่นที่มีสนามแม่เหล็ก นั่นคือแกนแม่เหล็กภายในดาวไม่พาดผ่านใจ ...

อาร์เทมิสเลื่อนอีกแล้ว

(6 ธ.ค. 67) เมื่อวานนี้ (5 ธันวาคม) นาซาได้แถลงข่าวควาบคืบหน้าเกี่ยวกับภารกิจอาร์เทมิส ซึ่งเป็นอภิมหาโครงการของนาซาที่จะนำมนุษย์กลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้ง นาซาได้รายงานว่า ภารกิจอาร์เทมิส 2 ซึ่งเป็นภารกิจที่จะนำมนุษย์ 4 คนไปอ้อมหลังดวงจันทร์และกลับมายังโลก ซึ่งเดิมกำหนดวันส่งไว้ในเดือนกันยายน 2568 เลื่อนไป ...

หนุ่มออสเตรเลียดวงดี หาทองแต่ได้อุกกาบาต

(5 ธ.ค. 67) เดอร์มอต เฮนรี นักธรณีวิทยาของพิพิธภัณฑ์เมลเบิร์น ผู้มีประสบการณ์การจำแนกก้อนหินมาอย่างยาวนานกว่า 37 ปี เคยตรวจสอบก้อนหินมานับพันก้อนจากผู้คนที่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาต ในจำนวนหินนับพันก้อนที่เคยตรวจสอบ มีเพียงสองก้อนเท่านั้นที่พบว่าเป็นอุกกาบาตจริง ...

ดวงจันทร์ดวงที่สองของโลกที่แท้เป็นชิ้นส่วนดวงจันทร์

(25 พ.ย. 67) บริวารดวงที่สองที่เพิ่มเข้ามานอกจากดวงจันทร์ก็คือ ดาวเคราะห์น้อยชื่อ 2024 พีที 5 (2024 PT5) ที่ผ่านเข้ามาใกล้โลกแล้วถูกโลกคว้าจับมาโคจรรอบตัวเอง แต่วงโคจรนี้ไม่เสถียร หลังจากโคจรเพียงไม่ถึงรอบก็ ...

ดวงจันทร์แอเรียลของดาวยูเรนัสมีมหาสมุทรบาดาล

(6 พ.ย. 67) ดวงจันทร์แอเรียลและพี่น้องในครอบครัวยูเรนัสทั้งหมดอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 2.9 พันล้านกิโลเมตร จึงหนาวเย็นมาก ประกอบกับบนแอเรียลไม่มีบรรยากาศ ดังนั้นคาร์บอนไดออกไซด์ควรจะระเหิดไปเป็นแก๊สและหลุดลอยออกสู่อวกาศไปในทันที ...

เบเทลจุสก็มีคู่

(2 พ.ย. 67) ความสว่างของดาวเบเทลจุสไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเป็นรายคาบ ดาวที่มีความสว่างไม่คงที่เช่นนี้เรียกกว่าดาวแปรแสง นักวิทยาศาสตร์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวเบเทลจุสแล้วพบว่ามีวัฏจักรสองวัฏจักรซ้อนกันอยู่ ...

จีนเตรียมอัปเกรดเทียนกง

(29 ต.ค. 67) สถานีเทียนกงมีขนาดไล่เลี่ยกับสถานีมีร์ของโซเวียต แต่อีกไม่นานจะใหญ่ขึ้นอีกเกือบเท่าตัวเพราะเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ตัวแทนจากสถาบันเทคโนโลยีการบินอวกาศจีนได้เปิดเผยว่าจีนมีแผนจะปรับปรุงสถานีเทียนกงให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ...

ดาวเทียมอินเทลแซตแตกเป็นเสี่ยงกลางอวกาศ

(24 ต.ค. 67) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม มีรายงานว่า ดาวเทียมอินเทลแซต 33 อี (Intelsat 33e) พลังงานตกอย่างไม่ทราบสาเหตุ หลังจากนั้นอีกไม่กี่ชั่วโมงก็มีการตรวจพบว่าดาวเทียมดวงนี้เริ่มแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 ชิ้น ...

ดาวเคราะห์ของดาวบาร์นาร์ด

(2 ต.ค. 67) คณะนักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดย โจเนย์ กอนซาเลส เอร์นันเดซ จากสถาบันวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์หมู่เกาะคะเนรีของประเทศสเปนได้พบดาวเคราะห์ต่างระบบดวงใหม่ ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลต่ำที่สุดดวงหนึ่งในบรรดาดาวเคราะห์ต่างระบบที่เคยค้นพบ และที่สำคัญอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ...

ก้าวต่อไปของอินเดีย ก่อนส่งคนไปอวกาศ

(23 ก.ย. 67) ในปลายปีนี้ องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย หรือ อิสโร (ISRO--Indian Space Research Organization) จะส่งยานอวกาศทดสอบแบบไม่มีมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก หากภารกิจนี้สำเร็จ ตามมาด้วยภารกิจทดสอบแบบไม่มีมนุษย์อีกสามภารกิจ หากสำเร็จด้วยดี ก็จะถึงคราวส่งมนุษย์จริง ๆ ขึ้นไป ...

ดาวเทียมสตาร์ลิงก์รุ่นใหม่ ก่อปัญหาให้วงการดาราศาสตร์ยิ่งกว่าเก่า

(21 ก.ย. 67) สตาร์ลิงก์ คือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตด้วยเครือข่ายดาวเทียมของของสเปซเอกซ์ บริษัทเดียวกับที่สร้างจรวดฟัลคอนและยานดรากอน เครือข่ายนี้จะใช้ดาวเทียมขนาดเล็กนับหมื่นดวง โคจรรอบโลกในระดับต่ำ สร้างเครือข่ายการสื่อสารที่รวดเร็วและครอบคลุมได้ทุกตารางนิ้วบนพื้นโลก ...

ปลายเดือนนี้โลกจะมีบริวารเพิ่ม

(15 ก.ย. 67) นักวิจัยสองคน ได้แก่ คาร์ลอส เด ลา ฟูเอนเต มาร์กอส และ ราอุล เด ลา ฟูเอนเต มาร์กอส ได้คำนวณแนววิถีแล้วพบว่า วัตถุดวงนี้จะถูกโลกคว้าจับเอามาเป็นบริวารตั้งแต่วันที่ 29 กันยายนจนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ...

พบภูเขาไฟลูกใหม่บนไอโอ

(13 ก.ย. 67) หนึ่งในภาพที่ถ่ายโดยจูโน เป็นภาพที่ถ่ายขึ้นในเดือนเมษายน 2567 แสดงภูเขาไฟลูกหนึ่งใกล้เส้นศูนย์สูตรเยื้องไปทางใต้เล็กน้อย แสดงร่องรอยการไหลของลาวาหลายครั้งหลายหน ครอบคลุมพื้นที่ 180 x 180 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับ ...

สตาร์ไลเนอร์กลับถึงโลก แต่ลูกเรือไม่มาด้วย

(7 ก.ย. 67) ยานสตาร์ไลเนอร์ลำนี้มีชื่อว่า คาลิปโซ ได้ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ มิถุนายน โดยมีมนุษย์อวกาศโดยสารไปด้วยสองคน คือ สุนิตา วิลเลียมส์ และ บุตช์ วิลมอร์ เป็นภารกิจทดสอบครั้งที่สามของยานรุ่นนี้และเป็นครั้งแรก ...

ดาวหาง เอ 3 ยังไม่หมดลุ้น กันยา-ตุลามาตามนัด

(15 ส.ค. 67) เป็นเวลาปีครึ่งแล้วที่นักดาราศาสตร์ทั้งอาชีพและสมัครเล่นเฝ้าติดตามความคืบหน้าของดาวหางที่เพิ่งพบใหม่ดวงหนึ่งที่ชื่อ ซี/2023 เอ (จื่อจินซาน-แอตลัส) [C/2023 A3 (Tsuchinshan–ATLAS)] หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอ 3 เพราะดาวหางดวงนี้มีวงโคจร ...

จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีอาจเพิ่งเกิด

(11 ส.ค. 67) นับตั้งแต่ที่นักดาราศาสตร์เริ่มประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์แล้วหันขึ้นส่องดวงดาว ก็พบว่าดาวพฤหัสบดีมีจุดแดงใหญ่แล้ว โดยคนแรกที่ค้นพบจุดแดงใหญ่นี้คือ โจวันนี กัสซีนี ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1665 หลังจากนั้นก็มีการศึกษาดาวเคราะห์ดวงนี้และมีบันทึกเกี่ยวกับจุดแดงนี้มาตลอด ...

หลุมดำมวลปานกลางในโอเมกาคนครึ่งม้า

(2 ส.ค. 67) ในบรรดาศัพท์แสงทางดาราศาสตร์ หลุมดำ เป็นชื่อที่ถูกเอ่ยถึงบ่อยมาก จึงเป็นที่คุ้นหูมากแม้ในหมู่คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงดาราศาสตร์ หลุมดำเป็นวัตถุที่ลึกลับที่สุดชนิดหนึ่งในเอกภพ แม้จะถูกเอ่ยถึงบ่อยครั้งมาก แต่นักดาราศาสตร์ก็ยังรู้จักวัตถุชนิดนี้ไม่มากนัก ยังมีความลับอีกมากหมายเกี่ยวกับหลุมดำที่ยังดำมืดเหมือนชื่อ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น