เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม นาซาได้ปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเซอร์ทิฟ (SIRTF--Space Infrared Telescope Facility) ขึ้นสู่อวกาศ กล้องนี้นับเป็นหนึ่งในสี่ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศชั้นนำของโลก ซึ่งรู้จักกันในนามของ หอดูดาวเอก (Great Observatory) อีกสามกล้องที่เหลือคือกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หอดูดาวรังสีเอกซ์จันทรา และหอดูดาวรังสีแกมมาคอมป์ตัน
บัดนี้กล้องเซอร์ทิฟซึ่งชื่อมีชื่ออ่านยากหนักหนาได้ชื่อใหม่แล้วโดยนาซาได้แถลงข่าวชื่อใหม่เมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา ชื่อใหม่นี้คือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.ไลแมน สปิตเซอร์ จูเนียร์ (1914-1997) หนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในศตวรรษที่ 20
ดร.สปิตเซอร์เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะนำกล้องโทรทรรศน์ไปวางไว้ในอวกาศเพื่อขจัดปัญหาจากการรบกวนของบรรยากาศโลก ทำให้ภาพที่ได้คมชัดกว่าภาพจากกล้องที่ตั้งบนพื้นโลกมาก เขาใช้เวลากว่า 50 ปีผลักดันแนวคิดนี้ให้เป็นจริง และนำความสำเร็จมาให้โครงการอวกาศหลายโครงการรวมถึงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ดร.สปิตเซอร์ได้เคยทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันเป็นเวลาถึง50 ปี มีบทบาทสำคัญในวิชาดาราพลศาสตร์ อวกาศระหว่างดาว และฟิสิกส์พลาสมา ได้รับรางวัลมากมายรวมถึงเหรียญทองแคเทอรีนวอฟบรูซ เหรียญเฮนรีเดรเปอร์จากสถาบันวิชาการวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Science) รางวัลเจมส์คลาร์กแมกซ์เวลล์ในสาขาฟิสิกส์พลาสมาจากสมาคมฟิสิกส์อเมริกันซึ่งเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ในสาขานี้ เหรียญทองจากสมาคมดาราศาสตร์หลวง เหรียญทองวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และรางวัลคราฟอร์ดจากสถาบันวิชาการหลวงสวีเดน
นอกจากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นแล้วสปิตเซอร์ยังเป็นบรมครูที่ได้รับความเคารพนับถือจากลูกศิษย์ลูกหาอย่างมาก เขาแต่งตำราที่มีชื่อเสียงมากสองเล่มนั่นคือ Physics of Fully Ionized Gases และ Diffuse Matter in Space
บัดนี้กล้องเซอร์ทิฟซึ่งชื่อมีชื่ออ่านยากหนักหนาได้ชื่อใหม่แล้ว
ดร.สปิตเซอร์เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะนำกล้องโทรทรรศน์ไปวางไว้ในอวกาศ
ดร.สปิตเซอร์ได้เคยทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันเป็นเวลาถึง
นอกจากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่โดดเด่นแล้ว