สมาคมดาราศาสตร์ไทย

หลุมดำหรี่

หลุมดำหรี่

1 มิ.ย. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
แม้ว่ากล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ตัวใหม่ของยุโรปจะอยู่ในช่วงทดสอบก่อนใช้งานจริง แต่กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ เอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (XMM-Newton) ก็ทำให้เกิดการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญขึ้นแล้ว เมื่อพบว่าหลุมดำแห่งหนึ่งเกิดหรี่ลงไปกว่าเดิม 

กล้องเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันได้สำรวจ แอลเอ็มซี เอกซ์-3 (LMC X-3) เพื่อทำการเทียบค่ามาตรฐาน (calibrate) ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของยาน สาเหตุที่เลือกวัตถุนี้เนื่องจากมันมีความสว่างในย่านรังสีเอกซ์คงที่มาเป็นเวลานานนับ 30 ปีแล้ว นับตั้งแต่มีการค้นพบ 

แต่เอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันได้พบว่าตั้งแต่วันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ความเข้มของรังสีเอกซ์ของหลุมดำนี้เริ่มหรี่ลงและหรี่ลงเรื่อย ๆ จนเหลือความเข้มข้นของรังสีน้อยกว่าเดิมนับร้อยเท่า การค้นพบนี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งโดยยาน Rossi X-Ray Timing Explorer ของนาซา สาเหตุของการหรี่ลงอย่างกะทันหันของแอลเอ็มซี เอกซ์-3 ยังเป็นปริศนาสำหรับนักดาราศาสตร์อยู่ และในขณะเดียวกันการเทียบค่ามาตรฐานของยานเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันก็ยังดำเนินต่อไป ส่วนการปฏิบัติงานจริงจะเริ่มในเดือนมิถุนายน 

แผนภาพแสดงความเข้มของแสงในย่านพลังงานต่าง ๆ ของแอลเอ็มซี เอกซ์-3 ที่ได้จากกล้อง EPIC ของเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน เส้นสีดำแสดงระดับความเข้มของพลังงานในภาวะปกติ ส่วนเส้นสีแดงข้างล่างเป็นความเข้มของพลังงานหลังจากที่หลุมดำนี้หรี่ลงไปเกือบ 100 เท่า ภาพจาก K. Mason, MSSL, UK

แผนภาพแสดงความเข้มของแสงในย่านพลังงานต่าง ๆ ของแอลเอ็มซี เอกซ์-3 ที่ได้จากกล้อง EPIC ของเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน เส้นสีดำแสดงระดับความเข้มของพลังงานในภาวะปกติ ส่วนเส้นสีแดงข้างล่างเป็นความเข้มของพลังงานหลังจากที่หลุมดำนี้หรี่ลงไปเกือบ 100 เท่า ภาพจาก K. Mason, MSSL, UK

ที่มา: