สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เลื่อนวันปล่อยยานอวกาศ

เลื่อนวันปล่อยยานอวกาศ

22 ก.ย. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
องค์การนาซาได้เลื่อนกำหนดการปล่อยยานอวกาศแคสซีนี-ไฮเกนส์ และยานอวกาศลูนาร์พรอสเปกเตอร์ จากกำหนดที่จะต้องปล่อยในเดือนกันยายนออกไป 

จากกำหนดวันปล่อยเดิมของยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์คือวันที่ 24 กันยายน ได้ถูกเลื่อนออกไปโดยยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน แต่อย่างเร็วต้องหลังวันที่ 23 พฤศจิกายน ไม่มีเหตุผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นกับตัวยานเอง แต่เหตุผลเนื่องจากทางพนักงานต้องการตรวจสอบจรวดขับดัน LMLV2 (Lockheed Martin Launch Vehicle ให้ถี่ถ้วนยิ่งขึ้น 

ยานอวกาศลำนี้จะใช้เวลาเดินทางไปดวงจันทร์นาน วัน หลังจากที่ไปถึงดวงจันทร์แล้วจะปรับวงโคจรให้อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ เพื่อสำรวจบริเวณขั้วทั้งสองของดวงจันทร์และโคจรอยู่ในระดับความสูง 110 กิโลเมตร อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ติดไปกับยานด้วยคือ สเปกโทรมิเตอร์นิวตรอน (neutron spectrometer) ซึ่งสามารถตรวจหาน้ำแข็งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่ตามก้นแอ่งบริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้ 

ยานอวกาศแคสซีนี ยานอวกาศอีกลำหนึ่งที่มีหน้าที่สำรวจดาวเสาร์ ซึ่งมีกำหนดจะต้องเดินทางในปลายเดือนกันยายนก็ต้องเลื่อนกำหนดปล่อยออกไปอีกเช่นกัน เมื่อพนักงานพบรอยรั่วในจรวดขับดันไททัน/เซนทอร์ และที่ฉนวนของยานไฮเกนส์ ซึ่งเป็นยานลำลูกของแคสซีนี 

หลังจากที่ซ่อมข้อผิดพลาดดังกล่าวแล้ว ทางองค์การนาซาได้กำหนดวันปล่อยใหม่คือวันที่ 13 ตุลาคม หรืออย่างช้าไม่เกิน พฤศจิกายน อย่างไรก็ตามนักเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์พยายามเรียกร้องให้ยกเลิกการปล่อยจรวดครั้งนี้เสีย เนื่องจากยานแคสซีนีใช้พลังงานจากพลูโทเนียมซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสี อันอาจจะมีผลร้ายแรงต่อสภาพแวดล้อมหากเกิดระเบิดขึ้นขณะปล่อยจรวด 



ยานแคสซีนี

ยานแคสซีนี

ในปี 2547 ยานแคสซีนีจะปล่อยยานลำลูกชื่อ ไฮเกนส์ ลงไปสำรวจดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ และส่งสัญญาณกลับขึ้นมาที่ยานแคสซีนีเพื่อสะท้อนกลับมายังโลก ภาพจาก European Space Agency

ในปี 2547 ยานแคสซีนีจะปล่อยยานลำลูกชื่อ ไฮเกนส์ ลงไปสำรวจดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ และส่งสัญญาณกลับขึ้นมาที่ยานแคสซีนีเพื่อสะท้อนกลับมายังโลก ภาพจาก European Space Agency

<br />
<span class='mkbb-indentation'></span>ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์<br />


ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์

ที่มา: