สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นอีกสองดวง

พบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นอีกสองดวง

11 มิ.ย. 2560
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ระบบสุริยะของเรามีดวงจันทร์บริวารดาวเคราะห์เพิ่มขึ้นอีกสองดวงแล้ว เป็นบริวารของดาวพฤหัสบดี ทำให้ขณะนี้จำนวนดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีเพิ่มขึ้นเป็น 69 ดวง 

ดวงจันทร์ใหม่สองดวงนี้ไม่ได้ค้นพบโดยยานจูโนที่กำลังโคจรสำรวจดาวพฤหัสบดีอย่างใกล้ชิด ไม่ได้พบโดยกล้องฮับเบิล แต่พบโดยกล้องบนพื้นโลกเรานี้เอง ยิ่งกว่านั้น การค้นพบนี้ค่อนข้างจะเป็นเรื่องบังเอิญ เพราะไม่ได้เกิดจากการค้นหาบริวารของดาวพฤหัสบดีโดยตรง 

"คณะของเราได้ดำเนินการค้นหาวัตถุที่อยู่สุดขอบระบบสุริยะ รวมถึงค้นหาดาวเคราะห์ดวงที่เก้า แต่ในช่วงนั้น ระหว่างปี 2559-2560 ดาวพฤหัสบดีเข้ามาอยู่ในพื้นที่สำรวจของเรา เราจึงเบนลองถ่ายภาพบริเวณใกล้ดาวพฤหัสบดีดูสักหน่อย" สก็อตต์ เชปเพิร์ด จากสถาบันวิทยาศาสตร์คาร์เนกีเล่าถึงเบื้องหลังการค้นพบ

ดวงจันทร์ใหม่ทั้งสองดวงมีอันดับความสว่างประมาณ 24 แปลเป็นขนาดได้เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 กิโลเมตรเท่านั้น 

ดวงแรกคือ เอส/2016 เจ 1 (S/2016 J1) ค้นพบโดยเชปเพิร์ดในวันที่ มีนาคม 2559 ด้วยกล้อง 6.5 มาเจลัน-บาเดอ ที่หอดูดาวลัสกัมปานัสในชิลี อยู่ห่างจากดาวพฤหัสบดีเฉลี่ย 20,600,000 กิโลเมตร มีระนาบวงโคจรเอียง 140 องศา ความรี 0.14 โคจรรอบดาวพฤหัสบดีครบรอบใช้เวลา 1.65 ปี

อีกดวงหนึ่งคือ เอส/2017 เจ 1 (S/2017 J1) ค้นพบโดยเชปเพิร์ดและ ชาดวิก ทรูจิลโล เมื่อวันที่ 23 มีนาคมต้นปีนี้เอง โดยกล้องวิกเตอร์บลังโกขนาด เมตรของหอดูดาวเซร์โรโตโลโลอินเตอร์อเมริกันในชีลี และเมื่อย้อนกลับไปตรวจสอบกับภาพที่ถ่ายโดยกล้องซุบะรุก่อนหน้านี้ก็พบจุดแสงของดวงจันทร์ดวงนี้ด้วย เป็นการยืนยันการค้นพบได้เป็นอย่างดี ดวงจันทร์ดวงนี้มีระยะห่างจากดาวพฤหัสบดีเฉลี่ย 23,500,000 กิโลเมตร ความรีของวงโคจร 0.40 และระนาบของวงโคจรเอียงเป็นมุม 149 องศา ใช้เวลา 2.01 ปีจึงจะโคจรรอบดาวพฤหัสบดีครบรอบ

สังเกตว่า ระนาบของวงโคจรทำมุมกับระนาบศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีมากกว่า 90 องศา แปลว่าดวงจันทร์ทั้งสองดวงนี้โคจรถอยหลัง หมายถึงโคจรสวนทางกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์เชื่อว่าบริวารที่โคจรสวนทางกับการหมุนของดาวเคราะห์เช่นนี้มีต้นกำเนิดมาจากที่อื่น แต่ต่อมาถูกความโน้มถ่วงของดาวเคราะห์คว้าจับเอาไว้เป็นบริวาร

ภาพที่ค้นพบดวงจันทร์ <wbr>เอส/2016 <wbr>เจ <wbr>1 <wbr>(S/2016 <wbr>J1) <wbr>ถ่ายเมื่อวันที่ <wbr>3 <wbr>มีนาคม <wbr>2559 <wbr>ด้วยกล้องมาเจลัน-บาเดอ <wbr>6.5 <wbr>เมตรในชิลี<br />

ภาพที่ค้นพบดวงจันทร์ เอส/2016 เจ (S/2016 J1) ถ่ายเมื่อวันที่ มีนาคม 2559 ด้วยกล้องมาเจลัน-บาเดอ 6.5 เมตรในชิลี
(จาก Scott Sheppard)

ภาพที่ค้นพบดวงจันทร์ <wbr>เอส/2017 <wbr>เจ <wbr>1 <wbr>(S/2017 <wbr>J <wbr>1) <wbr>ถ่ายเมื่อวันที่ <wbr>23 <wbr>มีนาคม <wbr>2560 <wbr>ด้วยกล้องเซร์โรโตโลโลขนาด <wbr>4 <wbr>เมตรในชิลี<br />

ภาพที่ค้นพบดวงจันทร์ เอส/2017 เจ (S/2017 1) ถ่ายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2560 ด้วยกล้องเซร์โรโตโลโลขนาด เมตรในชิลี
(จาก Scott Sheppard)

วงโคจรของดวงจันทร์ทั้ง 69 ดวงของดาวพฤหัสบดี ส่วนใหญ่โคจรถอยหลัง

วงโคจรของดวงจันทร์ทั้ง 69 ดวงของดาวพฤหัสบดี ส่วนใหญ่โคจรถอยหลัง (จาก Scott Sheppard)

ที่มา: