สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ระบบสุริยะใหม่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา

ระบบสุริยะใหม่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา

1 พ.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้รายงานว่า ได้ค้นพบระบบสุริยะใหม่ที่มีดาวเคราะห์หลายดวงเป็นครั้งแรก 

ดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบใหม่นี้ เป็นบริวารของดาว อิปไซลอน แอนดรอเมดา (Upsilon Andromedae) อยู่ห่างจากโลก 44 ปีแสง ระบบสุริยะของดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดานี้ไม่ใช่ระบบสุริยะใหม่ เนื่องจากดาวดวงนี้ได้เคยถูกพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่แล้วหนึ่งดวงตั้งแต่ปี 2539 โดยพอล บัตเลอร์และ จีออฟ มาร์ซี นักล่าดาวเคราะห์ชั้นแนวหน้าของโลก แต่การค้นพบครั้งใหม่นี้ มีดาวเคราะห์บริวารถูกค้นพบเพิ่มขึ้นอีกถึงสองดวง ผู้ที่ค้บพบในครั้งนี้เป็นกลุ่มนักดาราศาสตร์สองกลุ่ม ซึ่งหนึ่งในสองกลุ่มนี้ก็คือ มาร์ซีและบัตเลอร์เอง 

ดาวเคราะห์ดวงแรกของดาว อิปไซลอน แอนดรอเมดา ที่ถูกค้นพบก่อนหน้านี้ มีรัศมีวงโคจร 0.06 หน่วยดาราศาสตร์ (9 ล้านกิโลเมตร) และมีมวลไม่น้อยกว่าสามในสี่ของมวลดาวพฤหัสบดี ส่วนดาวเคราะห์สองดวงที่ถูกค้นพบใหม่มีวงโคจรที่รีมากกว่า ดวงแรกมีรัศมีวงโคจรเฉลี่ย 0.83 หน่วยดาราศาสตร์ (124.5 ล้านกิโลเมตร) และมีมวลไม่น้อยกว่า เท่าของดาวพฤหัสบดี ส่วนอีกดวงหนึ่งมีรัศมีวงโคจรเฉลี่ย 2.5 หน่วยดาราศาสตร์ (375 ล้านกิโลเมตร) และมีมวลไม่น้อยกว่า เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี 

เปรียบเทียบกับระบบสุริยะของเรา ดาวศุกร์มีรัศมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 0.7 หน่วยดาราศาสตร์ ส่วนดาวอังคารมีรัศมีวงโคจรประมาณ 1.5 หน่วยดาราศาสตร์ 

เมื่อคราวที่มาร์ซีและบัตเลอร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงแรกของดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดาเมื่อปี 2539 เขาได้สังเกตถึงความผิดปกติของสเปกตรัมของดาวดวงนี้ แต่ยังไม่กล้าสรุปอะไรออกมาเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ จนกระทั่งได้ข้อมูลจากการสำรวจเพิ่มเติมเมื่อต้นปีนี้ จึงสามารถยืนยันได้ว่ามีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งโคจรรอบดาวดวงนี้ 

แต่ถึงกระนั้น ข้อมูลจากการสำรวจกับแบบจำลองที่มีดาวเคราะห์สองดวงก็ยังไม่สอดคล้องกันพอดีเสียทีเดียว สัญญาณที่ได้จากดาวยังมีสัญญาณแทรกซ้อนอยู่มาก "สิ่งนี้สามารถอธิบายได้โดยวิธีเดียวเท่านั้น คือ จะต้องเพิ่มดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งให้โคจรรอบดาวดวงนี้" หนึ่งในทีมนักดาราศาสตร์จาก Debra Fischer of San Francisco State University (SFSU) กล่าว ดังนั้น ดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดา นี้จึงมีดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบแล้วสามดวง 

แม้ว่าการค้นพบนี้จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นยินดีสำหรับนักดาราศาสตร์ก็ตาม แต่ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการกำเนิดดาวเคราะห์ที่ใช้กันอยู่ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ทั้งสามดวงจึงสามารถโคจรอยู่ใกล้ ๆ ดาวฤกษ์ดวงแม่มากเช่นนี้ได้ สิ่งนี้ย่อมสั่นสะเทือนทฤษฎีการกำเนิดดาวเคราะห์ไม่มากก็น้อย 

มีการเสนอทฤษฎีมากมายเพื่ออธิบายถึงปัญหาดังกล่าว หนึ่งในทฤษฎีนี้ก็คือ ดาวเคราะห์ยักษ์เหล่านี้อาจกำเนิดขึ้นที่ระยะห่างจากดาวฤกษ์มาก ๆ แต่ได้มีการเคลื่อนที่เข้าใกล้ดาวฤกษ์ในภายต่อมา 

แผนภาพแสดงวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้งสามของดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดา เทียบกับวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา (เส้นประ) ภาพจาก SFSU

แผนภาพแสดงวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้งสามของดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดา เทียบกับวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา (เส้นประ) ภาพจาก SFSU

ภาพถ่ายมุมกว้างบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอเมดา คลุมพื้นที่ท้องฟ้า 15 x 20 องศา ตำแหน่งของดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดาอยู่ตรงศรชี้ ซึ่งอยู่ห่างจากดาราจักรแอนดรอเมดาไปทางตะวันออกประมาณ 10 องศา ภาพโดย ทิล เครดเนอร์ สถาบันแมกซ์ แพลงก์

ภาพถ่ายมุมกว้างบริเวณกลุ่มดาวแอนดรอเมดา คลุมพื้นที่ท้องฟ้า 15 x 20 องศา ตำแหน่งของดาวอิปไซลอน แอนดรอเมดาอยู่ตรงศรชี้ ซึ่งอยู่ห่างจากดาราจักรแอนดรอเมดาไปทางตะวันออกประมาณ 10 องศา ภาพโดย ทิล เครดเนอร์ สถาบันแมกซ์ แพลงก์

ที่มา: