สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะผ่านหน้าดาวแม่

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะผ่านหน้าดาวแม่

1 ธ.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เดวิด ชาบอนโน จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน ทีโมที เอ็ม บราวน์ จากศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติและทีมงานได้ตรวจพบการบัง (transit) ของดาวเคราะห์บริวารของดาว HD 209458 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้า การสังเกตการณ์ครั้งนี้ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง นิ้ว ในระหว่างที่ดาวมีการบังนี้ ความสว่างรวมของดาวฤกษ์จะลดลงไป 1.6 เปอร์เซ็นต์ (0.017 แมกนิจูด) เป็นเวลาประมาณ 2.5 ชั่วโมง 

ชาบอนโนและทีมสรุปว่า ดาวเคราะห์ดวงนี้มีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดี 27 เปอร์เซ็นต์แต่มีมวลน้อยกว่าดาวพฤหัสบดี 37 เปอร์เซ็นต์ โคจรอยู่ในแนวเกือบจะตรงกับแนวสายตาโดยเอียงประมาณ องศาเท่านั้น 

ดาว HD 209458 เป็นดาวฤกษ์มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ในกลุ่มดาวม้าบิน ห่างจากโลก 174 ปีแสง มีบริวารอยู่หนึ่งดวงที่จัดอยู่ในจำพวก "พฤหัสร้อน" โคจรอยู่ห่างจากตัวมันเพียง 0.05 หน่วยดาราศาสตร์ 

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถเห็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงแม่ของมันเอง ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณหาขนาด มวล และความหนาแน่นได้อย่างแม่นยำ 



การบังดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแบบนี้ ช่วยให้นักดาราศาสตร์ทราบถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดาวเคราะห์ดวงนั้นเป็นอย่างมากโดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสว่าง

การบังดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแบบนี้ ช่วยให้นักดาราศาสตร์ทราบถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของดาวเคราะห์ดวงนั้นเป็นอย่างมากโดยการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสว่าง

ที่มา: