สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 6 ดวง

พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 6 ดวง

1 ธ.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ทีมนักดาราดาราศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาดาวเคราะห์ชั้นนำของโลก ใช้ได้กล้องโทรทรรศน์เค็กสำรวจดาวฤกษ์ต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับโลกและได้พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเพิ่มขึ้นอีกถึง ดวง 

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะใหม่ทั้ง ดวงนี้ถูกค้นพบโดยวิธีการศึกษาการเลื่อนไปมาของสเปกตรัมของดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการส่ายของดาวฤกษ์เพราะแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็น 

ดาวเคราะห์ทุกดวงที่พบในครั้งนี้ล้วนแต่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ มีขนาดและอายุใกล้เคียงกัน อยู่ห่างจากโลกประมาณ 65 ถึง 192 ปีแสง มีมวลตั้งแต่ 0.8 ถึง 6.6 เท่าของดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าน่าจะมีองค์ประกอบใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี นั่นคือประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่าวงโคจรของดาวเคราะห์เหล่านี้ค่อนข้างจะรีมาก แทนที่จะเป็นวงรีที่เกือบกลมอย่างเช่นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา หนึ่งในจำนวนนั้นคือดาวเคราะห์ของดาว HD 222582 มีคาบวงโคจร 576 วัน โคจรห่างจากดาวแม่ตั้งแต่ 0.39 ถึง 2.31 หน่วยดาราศาสตร์ นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีวงโคจรรีมากที่สุด 

นอกจากการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ทั้ง ดวงนี้แล้ว นักดาราศาสตร์กลุ่มดังกล่าวยังได้ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีผู้ค้นพบมาก่อนหน้านี้แล้วอีก ดวง และพบว่า สองดวงในจำนวนนี้มีวงโคจรที่คล้ายกับจะมีดาวเคราะห์ข้างเคียงอยู่อีกดวงหนึ่ง หากสมมติฐานนี้เป็นจริง ก็จะเป็นระบบสุริยะแห่งที่ และ ที่มีดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีเพียงดาวอิปไซลอน-แอนดรอเมดาเดียวดวงเดียวเท่านั้นที่พบว่ามีดาวเคราะห์มากกว่า ดวง 

จนถึงขณะนี้มีดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ถูกค้นพบแล้วถึง 28 ดวง