สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3)

ดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส (C/2023 A3)

25 กันยายน 2567
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 5 ตุลาคม 2567
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวหางที่กำลังเป็นที่กล่าวถึงกันมากที่สุดในขณะนี้คงหนีไม่พ้นดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส หรืออาจเรียกย่อ ๆ ว่าเอ เนื่องจากกำลังมีความสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ช่วงแรกจะปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด สังเกตได้ถึงประมาณวันที่ 6-7 ตุลาคม 2567 หลังจากนั้นดาวหางจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ กลับมาให้เห็นอีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำตั้งแต่ประมาณวันที่ 11-12 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป

ดาวหางดวงนี้มีชื่อในบัญชีดาวหางว่า ซี/2023 เอ3 (จื่อจินซาน-แอตลัส) C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) บ่งบอกว่าเป็นดาวหางดวงที่ ที่ค้นพบในครึ่งแรกของเดือนมกราคม ค.ศ. 2023 ชื่อดาวหางตั้งตามผู้ค้นพบ ซึ่งเป็นการค้นพบจากภาพถ่ายของหอดูดาวจื่อจินซาน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ประเทศจีน และภาพถ่ายในโครงการแอตลัส (ATLAS ย่อมาจาก Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุที่อาจพุ่งชนโลก

ขณะค้นพบดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวงู ห่างดวงอาทิตย์ถึง 7.7 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ หลังจากนั้นดาวหางได้เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น จะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 27 กันยายน 2567 (ตามเวลาสากล) ที่ระยะห่าง 0.3914 หน่วยดาราศาสตร์ และใกล้โลกที่สุดในวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ระยะห่าง 0.4724 หน่วยดาราศาสตร์ (71 ล้านกิโลเมตร)

ผลการคำนวณในตอนแรกคาดว่าดาวหางอาจสว่างที่สุดในปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนตุลาคม ที่ราวโชติมาตร เทียบได้กับดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ช่วงกลางเดือนเมษายน 2567 อัตราการเพิ่มขึ้นของความสว่างได้ชะลอตัวลง ทำให้สว่างน้อยกว่าที่คาดไว้ เมื่อถึงต้นเดือนตุลาคมอาจสว่างที่สุดราวโชติมาตร เท่านั้น (เทียบได้กับดาวเหนือในกลุ่มดาวหมีเล็ก)

อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์พบว่าดาวหางดวงนี้ผลิตฝุ่นออกมามาก ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ในมุมมองจากโลกทำให้แสงอาทิตย์ที่ส่องมาจากด้านหลังเกิดการกระเจิงเมื่อกระทบกับแก๊สและฝุ่นของดาวหาง หนุนให้ดาวหางสว่างขึ้นได้หลายอันดับ อาจทำให้มีโชติมาตร -4 หรือสว่างกว่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ ตุลาคม 2567 ทว่าวันนั้นดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ไม่สามารถสังเกตได้ภายใต้ฟ้ามืด

ภาพจำลองแสดงตำแหน่งดาวหางและจันทร์เสี้่ยวในเช้ามืดวันที่ ตุลาคม 2567 (จาก Stellarium)

การสังเกตดาวหางในเวลาเช้ามืด (ปลายเดือนกันยายนถึงวันที่ 6-7 ตุลาคม)


ขณะนี้ประเทศไทยสามารถสังเกตดาวหางดวงนี้ได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก มีตำแหน่งอยู่ทางขวามือของกลุ่มดาวสิงโต ดาวหางยังไม่ค่อยสว่างนักและอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก ขึ้นก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงประมาณ ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น จึงมีแสงอรุณรุ่งรบกวน ข้อจำกัดนี้ทำให้ต้องหาสถานที่ซึ่งขอบฟ้าทิศตะวันออกเปิดโล่ง อาจต้องอยู่บนที่สูงหรือใกล้ชายฝั่งทะเลที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยปรกติเรามักแนะนำให้ดูดาวในที่ห่างไกลจากตัวเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางแสงและหมอกควันในอากาศที่บดบังท้องฟ้าใกล้ขอบฟ้า แต่ในกรณีนี้ตำแหน่งของดาวหางที่อยู่ไม่ไกลจากดวงอาทิตย์นัก ทำให้แสงของท้องฟ้ายามเช้าอาจเป็นอุปสรรคมากกว่า ตาเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แนะนำให้สังเกตด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

รายงานเมื่อวันที่ 25 กันยายน ดาวหางสว่างที่โชติมาตร แม้ว่าจากตัวเลขนี้ดูเหมือนสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่การสังเกตการณ์จริงทำได้ยากกว่าปรกติเนื่องจากท้องฟ้าฉากหลังไม่ได้มืดสนิท แนวโน้มโดยทั่วไป ดาวหางควรจะสว่างขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้ถึงวันที่ 6-7 ตุลาคม เท่านั้น (คาดว่าอาจสว่างที่โชติมาตร -1 เมื่อรวมผลจากการกระเจิงของแสง)

หลังจากนั้นดาวหางจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ขึ้นและตกเกือบพร้อมกับดวงอาทิตย์ จึงไม่สามารถสังเกตได้ และเป็นช่วงที่สว่างที่สุด ดาวหางจะปรากฏในภาพถ่ายของกล้องคอโรนากราฟบนยานโซโฮระหว่างวันที่ 7-11 ตุลาคม 2567 โดยมีระยะเชิงมุมจากดวงอาทิตย์ประมาณ 3°-9°

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสเทียบกับดาวฤกษ์ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 30-45 นาที ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และแสดงตำแหน่งดวงจันทร์ในวันต่าง ๆ ขอบฟ้าในภาพเป็นขอบฟ้าของวันที่ ตุลาคม วันก่อนหน้านั้น ขอบฟ้าจะอยู่สูงกว่านี้เมื่อเทียบกับกลุ่มดาว (เส้นประแสดงขอบฟ้าของวันที่ 26 กันยายน หลังจากนั้นขอบฟ้าจะเคลื่อนต่ำลงเรื่อย ๆ) ดาวหางจึงอยู่ใกล้ขอบฟ้าโดยมีมุมเงยไม่เกิน 10° ตลอดช่วงที่ปรากฏในเวลาเช้ามืด 

ดาวหางในเวลาเช้ามืด
วันที่โชติมาตรโชติมาตรเมื่อรวม
การกระเจิงของแสง
มุมเงยเมื่อเริ่มสนธยาเดินเรือ
(ดวงอาทิตย์อยู่ใต้ขอบฟ้า 12°)
พฤหัสบดี, 26 กันยายน2.9-
ศุกร์, 27 กันยายน2.8-
เสาร์, 28 กันยายน2.7-
อาทิตย์, 29 กันยายน2.62.3
จันทร์, 30 กันยายน2.5-
อังคาร, ตุลาคม2.5-
พุธ, ตุลาคม2.41.3
พฤหัสบดี, ตุลาคม2.3-
ศุกร์, ตุลาคม2.3-
เสาร์, ตุลาคม2.3-0.2
อาทิตย์, ตุลาคม2.2-1.0


การสังเกตดาวหางในเวลาหัวค่ำ (ตั้งแต่วันที่ 11-12 ตุลาคม เป็นต้นไป)


กลางเดือนตุลาคม ดาวหางทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เริ่มเห็นได้ตั้งแต่วันที่ 11 หรือ 12 ตุลาคม 2567 คาดว่าในวันที่ 12 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันใกล้โลกที่สุด อาจสว่างราวโชติมาตร -1.5 (เมื่อรวมการกระเจิงของแสง) อย่างไรก็ตาม ดาวหางมีตำแหน่งอยู่ใกล้ขอบฟ้า ความสว่างที่เห็นได้จริงอาจน้อยกว่านี้ (ทำนองเดียวกับที่เราเห็นดวงอาทิตย์สว่างน้อยลงมากเมื่อเพิ่งขึ้นหรือกำลังจะตกลับขอบฟ้า)

ดาวหางน่าจะมีความสว่างลดลงทุกวันตามระยะห่างจากโลกและดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นด้วย ในเบื้องต้นคาดว่าความสว่างจะลดลงจนเกินขอบเขตที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (โชติมาตร 6) ในราวต้นเดือนพฤศจิกายน

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสเทียบกับดาวฤกษ์ระหว่างวันที่ 12–31 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 45 นาที หลังดวงอาทิตย์ตก สามารถใช้ดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวต่าง ๆ และดาวศุกร์ที่อยู่ทางซ้ายมือช่วยในการระบุตำแหน่งของดาวหาง 

ดาวหางในเวลาหัวค่ำ
วันที่โชติมาตรโชติมาตรเมื่อรวม
การกระเจิงของแสง
มุมเงยเมื่อสิ้นสุดสนธยาเดินเรือ
(ดวงอาทิตย์อยู่ใต้ขอบฟ้า 12°)
เสาร์, 12 ตุลาคม2.4-1.5
อาทิตย์, 13 ตุลาคม2.6-0.4
จันทร์, 14 ตุลาคม2.70.412°
อังคาร, 15 ตุลาคม2.81.116°
พุธ, 16 ตุลาคม3.0-20°
พฤหัสบดี, 17 ตุลาคม3.2-23°
ศุกร์, 18 ตุลาคม3.42.727°
เสาร์, 19 ตุลาคม3.6-30°
อาทิตย์, 20 ตุลาคม3.7-32°
จันทร์, 21 ตุลาคม3.93.734°
อังคาร, 22 ตุลาคม4.1-36°
พุธ, 23 ตุลาคม4.3-38°


อุปสรรคที่น่ากังวลคือขณะนี้เป็นปลายฤดูฝน อาจมีเมฆมากและฝนตกหลายวัน จึงควรตรวจสอบพยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และแผนที่อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาประกอบด้วย

หมายเหตุ


 เวลาเริ่มและสิ้นสุดแสงสนธยาสำหรับกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ ตรวจสอบได้ที่เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
 โชติมาตรเมื่อรวมการกระเจิงของแสงเป็นผลจากการคำนวณทางทฤษฎี ความสว่างจริงอาจแตกต่างจากความคาดหมาย

แหล่งข้อมูล


 C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) Solar System Dynamics (JPL/NASA)
 C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) Seiichi Yoshida
 CBET 5445 Central Bureau for Astronomical Telegrams

ดูเพิ่ม


 รู้จักดาวหาง
 แผนที่ฟ้าออนไลน์ แสดงตำแหน่งดาวและวัตถุท้องฟ้าในเวลาจริง