สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวศุกร์พบดาวพฤหัสบดี (สิงหาคม-กันยายน 2548)

ดาวศุกร์พบดาวพฤหัสบดี (สิงหาคม-กันยายน 2548)

10 สิงหาคม 2548
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 18 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
หากผู้อ่านแหงนมองท้องฟ้าในเวลาหัวค่ำของปลายเดือนสิงหาคมนี้ถึงต้นเดือนกันยายน ถ้าไม่พบกับเมฆฝนก็จะพบกับวัตถุสว่าง ดวงอยู่เคียงคู่กัน นั่นไม่ใช่ยูเอฟโอหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ แต่เป็นดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุด ดวงบนท้องฟ้า

ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีจะจับคู่กันสุกสว่างโดดเด่นในเวลาพลบค่ำตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม เข้าใกล้กันมากที่สุดในค่ำวันที่ 1-2 กันยายน โดยอยู่ห่างกันเป็นระยะเชิงมุมไม่เกิน องศา กว้างกว่าขนาดของนิ้วมือที่มองเห็นเมื่อยืดแขนออกไปข้างหน้า การปรากฏใกล้กันของดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีเป็นเพียงมุมมองจากโลกเท่านั้น ในความเป็นจริงดาวเคราะห์ ดวงนี้อยู่ห่างกันในอวกาศถึง 760 ล้านกิโลเมตร

ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีส่องสว่างเป็นประกายอยู่ในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ (ในวงกลมเป็นขอบเขตภาพที่มองจากกล้องสองตาขนาด 7×50)  


ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีปรากฏใกล้กันเกือบทุกปีโดยเฉลี่ยปีละครั้ง เมื่อมองจากประเทศไทยปีนี้ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีจะใกล้กันมากที่สุดในหัวค่ำวันที่ กันยายน ห่างกัน 1.3 องศา ดาวศุกร์สว่างกว่าด้วยโชติมาตร -4.0 ขณะที่ดาวพฤหัสบดีมีโชติมาตร -1.7 นอกจากดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีแล้ว ดวงจันทร์เสี้ยวจะผ่านมาใกล้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงในค่ำวันที่ 6-7 กันยายน สาเหตุที่ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีส่องสว่างสุกใสเนื่องจากเมฆที่ปกคลุมดาวเคราะห์ทั้ง ดวงสะท้อนแสงได้ดี เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวศุกร์มีสีขาว ไม่เห็นร่องรอยบนตัวดวง ส่วนดาวพฤหัสบดีมีแถบคล้ำคาดในแนวศูนย์สูตร รวมทั้งสามารถมองเห็นดาวบริวารขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวพฤหัสบดี

มุมมองจากอวกาศ จะเห็นโลก ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เรียงกันเกือบเป็นเส้นตรง