สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮับเบิลและสปิตเซอร์พบรูปแบบบรรยากาศของดาวแคระน้ำตาล

ฮับเบิลและสปิตเซอร์พบรูปแบบบรรยากาศของดาวแคระน้ำตาล

17 มี.ค. 2556
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จในการสำรวจสภาพบรรยากาศของดาวแคระน้ำตาล เป็นครั้งแรกที่สามารถทำแผนที่ภูมิอากาศบนดาวแคระน้ำตาลได้ 
ดาวแคระน้ำตาลเกิดขึ้นจากก้อนแก๊สที่มารวมตัวกันเช่นเดียวกับการเกิดดาวฤกษ์ แต่ดาวแคระน้ำตาลมีมวลไม่มากพอที่จะจุดปฏิกิริยาหลอมนิวเคลียสไฮโดรเจนได้ จึงมีลักษณะใกล้เคียงดาวเคราะห์แก๊สยักษ์มากกว่า มีระบบบรรยากาศที่ซับซ้อนและผันแปรอย่างมาก

นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องฮับเบิลและกล้องสปิตเซอร์สำรวจดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่ง ชื่อ 2MASS J22282889-431026 ในเวลาเดียวกัน พบว่าแสงจากดาวเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา มีการสว่างขึ้นและหรี่ลงทุก 90 นาทีซึ่งเกิดจากการหมุนรอบตัวเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเวลาที่ผันแปรยังขึ้นอยู่กับช่วงความยาวคลื่นในย่านรังสีอินฟราเรดที่ใช้สำรวจด้วย
ความผันแปรนี้เกิดการที่สสารชั้นต่าง ๆ ของดาวแคระน้ำตาลมีการไหลเวียนซึ่งเกิดจากแรงขับดันของพายุที่มีขนาดเท่ากับโลกทั้งใบ
"เมฆบนดาวแคระน้ำตาลต่างจากเมฆบนโลกที่เป็นไอน้ำและเมฆบนดาวพฤหัสบดีที่เป็นแอมโมเนีย เมฆบนดาวแคระน้ำตาลประกอบด้วยเม็ดทราย และหยดเหล็กหลอมเหลว รวมถึงสารประกอบแปลกประหลาดชนิดอื่นอีกหลายชนิด มาร์ก มาร์เลย์ จากศูนย์วิจัยเอมส์ของนาซาอธิบาย 
นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดความแตกต่างระหว่างระดับความสูงของดาวแคระน้ำตาลได้หลายระดับในเวลาเดียวกัน การค้นพบครั้งนี้เป็นก้าวใหม่ของการศึกษาดาวแคระน้ำตาล และรวมถึงบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นด้วย
นักดาราศาสตร์มีแผนที่จะใช้กล้องสปิตเซอร์และฮับเบิลสำรวจบรรยากาศของดาวแคระน้ำตาลดวงอื่นในละแวกใกล้เคียงอีกหลายดวง
ภาพวาดของดาวแคระน้ำตาล <wbr>2MASSJ22282889-431026 <wbr>ตามจินตนาการของศิลปิน<br />
กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์และฮับเบิลของนาซาได้สำรวจดาวดวงนี้ในเวลาเดียวกัน และพบว่าบรรยากาศของดาวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเกิดจากการขับเคลื่อนโดยพายุขนาดใหญ่

ภาพวาดของดาวแคระน้ำตาล 2MASSJ22282889-431026 ตามจินตนาการของศิลปิน
กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์และฮับเบิลของนาซาได้สำรวจดาวดวงนี้ในเวลาเดียวกัน และพบว่าบรรยากาศของดาวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเกิดจากการขับเคลื่อนโดยพายุขนาดใหญ่ (จาก NASA/JPL-Caltech)

ที่มา: