สมาคมดาราศาสตร์ไทย

นาซาเผยภาพความละเอียดสูงของจุดขาวบนซีรีส

นาซาเผยภาพความละเอียดสูงของจุดขาวบนซีรีส

24 มี.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในที่ประชุมวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ประจำปีครั้งที่ 47 ในวูดแลนด์ เท็กซัส นักวิทยาศาสตร์จากภารกิจดอว์นของนาซาได้เปิดเผยภาพล่าสุดของดาวซีรีสที่ได้จากภารกิจนี้ในช่วงที่ยานเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ที่สุด รวมถึงภาพของหลุมออกเคเตอร์ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่เคยถ่ายได้

ภาพชุดนี้ถ่ายในขณะที่ยานดอว์นอยู่สูงจากพื้นผิวของดาวซีรีสเพียง 385 กิโลเมตร แสดงภาพของหลุมออกเคเตอร์ที่มีผนังหลุมเรียบ กลางหลุมมีเนินรูปโดมที่มีรอยแตกเป็นเส้นตรงหลายเส้นพาดทั้งด้านบนและด้านข้างเนิน บางเส้นพาดเลยออกมาถึงพื้นราบข้างโดมที่เป็นก้นหลุมด้วย

นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตเห็นจุดขาวนี้มาตั้งแต่ก่อนที่ยานดอว์นจะไปถึงซีรีสแล้ว แต่ในขณะนั้นพบว่าเป็นเพียงจุดขาวเล็ก ๆ จุดเดียว จนกระทั่งปีที่แล้วที่ยานดอว์นถ่ายภาพความละเอียดสูงขึ้นพบว่าจุดขาวนี้ประกอบด้วยจุดสองจุดอยู่ใกล้กัน จุดหนึ่งใหญ่ จุดหนึ่งเล็ก 

"แต่ในภาพล่าสุดนี้ เราพบว่าหลุมนี้มีสภาพภูมิประเทศสลับซับซ้อนมาก มีปริศนาใหม่ ๆ ที่เราต้องหาคำอธิบาย" ราล์ฟ เยามันน์ นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และผู้ช่วยผู้สอบสวนของภารกิจดอว์นจากศูนย์การบินอวกาศเยอรมันในเบอร์ลินกล่าว "ทรงเรขาคณิตภายในหลุมที่ละเอียดซับซ้อนบ่งบอกถึงกิจกรรมทางธรณีวิทยาที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน แต่ก่อนที่เราจะพิสูน์สมมุติฐานใด ๆ ถึงการกำเนิดสิ่งเหล่านี้เราต้องสร้างแผนที่ทางธรณีวิทยาอย่างละเอียดของหลุมนี้ให้ได้เสียก่อน"

ข้อมูลด้านสเปกตรัมจากยานดอว์นแสดงว่าแต้มสีขาวโพลนที่กลางหลุมนั้นเป็นแมกนีเซียมซัลเฟตที่อยู่ในรูปของเฮกซาไฮไดรต์ คล้ายแร่ยิปซัมบนโลก นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า เมื่อดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนซีรีสที่ทำให้เกิดหลุมออกเคเตอร์นี้ คงเจาะผิวดาวจนทำให้น้ำเกลือแข็งจากใต้พื้นผิวผุดขึ้นมาที่หลุมนี้ ต่อมาน้ำแข็งได้ระเหิดออกไปหมด เหลือเพียงคราบตะกอนเกลือขาวโพลนดังที่ดอวน์ได้พบเห็น

นอกจากภาพรายละเอียดของหลุมออกเคเตอร์แล้ว คณะของดอว์นยังเปิดเผยภาพเร่งสีของพื้นผิวของดาวซีรีสอีกภาพหนึ่ง ภาพนี้แสดงถึงความหลากหลายของวัสดุบนพื้นผิว และแสดงว่าซีรีสมีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นหลุมขนาดเล็ก 
ภาพเร่งสีของแต้มขาวสว่างกลางหลุมออกเคเตอร์ ถ่ายโดยยานดอว์นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เป็นภาพที่มีความละเอียดสูงสุดเท่าที่เคยถ่ายได้ แต่ละพิกเซลในภาพนี้มีขนาด 35 เมตร

ภาพเร่งสีของแต้มขาวสว่างกลางหลุมออกเคเตอร์ ถ่ายโดยยานดอว์นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เป็นภาพที่มีความละเอียดสูงสุดเท่าที่เคยถ่ายได้ แต่ละพิกเซลในภาพนี้มีขนาด 35 เมตร (จาก NASA/JPL-Caltech/UCLA/MPS/DLR/IDA/PSI)

หลุมออกเคเตอร์บนดาวซีรีส <wbr>มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง <wbr>92 <wbr>กิโลเมตร <wbr>ลึก <wbr>4 <wbr>กิโลเมตร <wbr>กลางหลุมมีจุดสว่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่สว่างที่สุดบนดาวเคราะห์แคระดวงนี้<br />

หลุมออกเคเตอร์บนดาวซีรีส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 92 กิโลเมตร ลึก กิโลเมตร กลางหลุมมีจุดสว่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่สว่างที่สุดบนดาวเคราะห์แคระดวงนี้
(จาก NASA/JPL-Caltech/UCLA/MPS/DLR/IDA/PSI)

บริเวณใจกลางหลุมออกเคเตอร์ แสดงรายละเอียดของแต้มสีขาว

บริเวณใจกลางหลุมออกเคเตอร์ แสดงรายละเอียดของแต้มสีขาว (จาก NASA/JPL-Caltech/UCLA/MPS/DLR/IDA/PSI)

ภาพแผนที่พื้นผิวทั่วดวงของดาวซีรีสที่ผ่านการเร่งสี <wbr>สร้างจากการผนวกภาพถ่ายที่ถ่ายในย่านรังสีอินฟราเรด <wbr>สีเขียว <wbr>และสีน้ำเงินเข้าด้วยกัน<br />
<br />

ภาพแผนที่พื้นผิวทั่วดวงของดาวซีรีสที่ผ่านการเร่งสี สร้างจากการผนวกภาพถ่ายที่ถ่ายในย่านรังสีอินฟราเรด สีเขียว และสีน้ำเงินเข้าด้วยกัน

(จาก NASA/JPL-Caltech/UCLA/MPS/DLR/IDA/PSI)

ที่มา: