สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวพิลึกกึกกือ

ดาวพิลึกกึกกือ

23 ส.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดูเหมือนคำว่า "ดาวประหลาด" คงจะยังไม่เพียงพอสำหรับดาว เคไอซี 8462852 (KIC 8462852) ตอนนี้นักดาราศาสตร์อาจต้องเรียกมันว่า "ดาวพิลึกกึกกือ" แล้ว

นักดาราศาสตร์ตั้งชื่อเล่นให้ดาวเคไอซี 8462852 ว่า "ดาวแทบบี" ตามชื่อของ ทาเบทา เอส. โบยาเจียน นักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาปรากฏการณ์ประหลาดบนดาวดวงนี้เป็นคนแรก ดาวแทบบีได้เป็นข่าวพาดหัวใหญ่เมื่อปีที่แล้วเมื่อนักดาราศาสตร์พบว่าแสงจากดาวดวงนี้มีการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ไม่ว่าแบบจำลองดาวฤกษ์แบบใดก็อธิบายไม่ได้ 

โบยาเจียนพบว่าดาวดวงนี้มีความสว่างไม่สม่ำเสมอ บางครั้งจู่ ๆ ความสว่างก็ตกวูบลงไปถึง 20 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา ถึง 80 วัน  

การที่ดาวฤกษ์ลดความสว่างลงเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องทั่วไปที่พบได้บ่อย บางครั้งอาจเกิดจากดาวเคราะห์บริวารของดาวนั้นผ่านหน้า ความจริงนี่คือเทคนิคในการค้นหาดาวเคราะห์ต่างระบบที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ใช้ แต่ในกรณีของดาวแทบบี ความสว่างของดาวที่ลดลงไปไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ดังนั้นย่อมไม่ได้เกิดจากดาวเคราะห์ผ่านหน้าอย่างแน่นอน 

ในช่วงแรกที่ค้นพบ นักวิทยาศาสตร์บางคนถึงกับสันนิษฐานว่าแสงที่ลดลงไปอย่างผิดปกตินั้นเกิดจากโครงสร้างประดิษฐ์ขนาดยักษ์ล้อมรอบดาวบดบังแสงไป ซึ่งแน่นอนว่านี่จะเป็นหลักฐานของสิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่น และไม่เพียงแค่มีชีวิต มีอารยธรรม หากแต่ยังมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเรามากถึงขนาดที่สร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ใหญ่โตระดับนั้นได้ 

แต่ทฤษฎีนี้ก็อยู่ได้ไม่นานนัก เนื่องจากขาดหลักฐานอื่นสนับสนุน โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลจากสถาบันเซตีซึ่งเป็นองค์กรที่ศึกษาและค้นหาสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญานอกโลกโดยเฉพาะได้ชี้ว่าสัญญาณวิทยุที่ตรวจวัดได้จากดาวดวงนี้ไม่มีลักษณะใดที่บ่งบอกว่าเกิดจากการกระทำของเทคโนโลยี

ต่อมาโบยาเจียนและคณะได้เสนอว่า อาจเกิดจากกลุ่มของเศษดาวหางที่มีวงโคจรรีมากมาบดบัง ซึ่งก็ดูน่าจะเป็นไปได้

การศึกษาดาวแทบบีล่าสุดโดย เบน มอนเทต จากคาลเทคและ โจชัว ไซมอน จากสถาบันคาร์เนกีได้พบว่าดาวดวงนี้ประหลาดกว่าที่คิดไว้  โดยพบว่าความสว่างโดยรวมลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาสี่ปีที่กล้องเคปเลอร์สำรวจดาวดวงนี้

ใน 1,000 วันแรก ความสว่างของดาวลดลงในอัตราค่อนข้างคงที่ประมาณ 0.341 0.041 เปอร์เซ็นต์ต่อปี  ถัดจากนั้นความสว่างก็ลดลงอย่างรวดเร็วจนหายไปถึงกว่า เปอร์เซ็นต์ภายในเวลา 200 วัน แล้วความสว่างก็กลับลดลงด้วยอัตราเท่ากับช่วง 1,000 วันแรกที่เริ่มศึกษา นั่นคือประมาณ 0.041 เปอร์เซ็นต์ต่อปี รวมตลอดเวลาสี่ปีที่ผ่านมาความสว่างลดลงไป เปอร์เซ็นต์ จำนวนนี้อาจฟังดูเหมือนน้อย แต่ความจริงเป็นปริมาณมหาศาลภายในเวลาอันสั้นมาก

ยิ่งกว่านั้น เมื่อมีการตรวจสอบภาพเก่าของดาวแทบบีซึ่งถ่ายไว้ตั้งแต่ศตวรรษก่อน พบว่าภายในระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมา ความสว่างลดลงไปแล้วราว 19 เปอร์เซ็นต์

จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีสมมุติฐานใดที่อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับดาวดวงนี้ได้ บางสมมุติฐานอาจอธิบายพฤติกรรมประหลาดของมันได้บ้าง แต่ก็ไม่ทั้งหมด เช่น ทฤษฎีซากดาวหางอาจอธิบายเรื่องแสงสว่างที่ลดลงเป็นระยะได้ แต่อธิบายความสว่างที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในระยะยาวไม่ได้ ดังนั้นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จึงต้องเก็บข้อมูลของดาวดวงนี้ต่อไป พร้อมกับมองหาทฤษฎีใหม่ สร้างแบบจำลองใหม่ คิดคำอธิบายใหม่ 

ที่ขณะนี้ก็ยังไม่มีใครคิดออก
ภาพวาดดาว เคไอซี 8462852 (KIC 8462852) ที่มีซากดาวเคราะห์สาดกระจายไปตามวงโคจรจนบดบังแสงดาว เป็นเหตุให้แสงดาวเมื่อมองจากโลกเปลี่ยนแปลงไป ตามจินตนาการของศิลปิน

ภาพวาดดาว เคไอซี 8462852 (KIC 8462852) ที่มีซากดาวเคราะห์สาดกระจายไปตามวงโคจรจนบดบังแสงดาว เป็นเหตุให้แสงดาวเมื่อมองจากโลกเปลี่ยนแปลงไป ตามจินตนาการของศิลปิน (จาก NASA, JPL-Caltech)

ภาพวาดตามจินตนาการของศิลปินของดาว เคไอซี 8462485 ,ที่มีกลุ่มของดาวหางที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาบดบังแสงดาว

ภาพวาดตามจินตนาการของศิลปินของดาว เคไอซี 8462485 ,ที่มีกลุ่มของดาวหางที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาบดบังแสงดาว (จาก NASA / JPL-Caltech)

กราฟบนคือกราฟความสว่างของดาว <wbr>เคไอซี <wbr>8462852 <wbr>ที่วัดได้ตลอดเวลา <wbr>4 <wbr>ปีที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์สำรวจ <wbr>พบว่าความสว่างตกฮวบลงอย่างฉับพลันในบางครั้ง <wbr>ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากบางสิ่งบางอย่างมาบดบัง <wbr> <wbr> <wbr>สามภาพล่างแสดงส่วนขยายของแถบที่ระบายสีเหลืองของกราฟบน<br />

กราฟบนคือกราฟความสว่างของดาว เคไอซี 8462852 ที่วัดได้ตลอดเวลา ปีที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์สำรวจ พบว่าความสว่างตกฮวบลงอย่างฉับพลันในบางครั้ง ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากบางสิ่งบางอย่างมาบดบัง   สามภาพล่างแสดงส่วนขยายของแถบที่ระบายสีเหลืองของกราฟบน
(จาก T. Boyajian & others / MNRAS)

กราฟความสว่างของดาวแทบบีตลอดเวลาสี่ปี <wbr>ในสามปีแรก <wbr>ความสว่างรวมลดลงอย่างช้า <wbr>ๆ <wbr>แต่ต่อมามีกลับลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงเจ็ดเดือน<br />

กราฟความสว่างของดาวแทบบีตลอดเวลาสี่ปี ในสามปีแรก ความสว่างรวมลดลงอย่างช้า ๆ แต่ต่อมามีกลับลดลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงเจ็ดเดือน
(จาก B. Montet & J. Simon, arXiv)

ที่มา: