สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบบริวารดวงใหม่ของโลก นาซาทำเอง

พบบริวารดวงใหม่ของโลก นาซาทำเอง

4 ต.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ กันยายน บิลล์ ยัง นักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวแคนาดาได้ค้นพบวัตถุแปลกปลอมดวงหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จากการคำนวณเส้นทางโคจรเบื้องต้นของวัตถุดวงนี้โดยศูนย์ดาวเคราะห์น้อยพบว่าวัตถุดวงนี้อยู่ห่างจากโลกเป็นสองเท่าของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ และที่น่าตื่นเต้นก็คือ วัตถุนี้โคจรรอบโลก การที่วัตถุนี้โคจรรอบโลกประกอบกับการที่มีความสว่างพื้นผิวค่อนข้างต่ำ ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าน่าจะเป็นชิ้นส่วนของจรวดมากกว่าที่จะเป็นดาวเคราะห์น้อย 

วัตถุนี้ได้ชื่อว่า J002E3 ในขณะที่ค้นพบ J002E3 มีความสว่างราว 16.5 ซึ่งถือว่าค่อนข้างสว่าง สามารถมองเห็นได้ไม่ยากสำหรับนักหาดาวเคราะห์น้อยหรือแม้แต่ระดับนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เรื่องน่าสงสัยก็คือ เหตุใดวัตถุที่สว่างขนาดนี้จึงเพิ่งมาค้นพบเมื่อเดือนกันยายนนี้ จากการคำนวณเส้นทางโคจรย้อนหลังพบว่า โลกเพิ่งได้วัตถุดวงนี้มาเป็นบริวารเมื่อเดือนเมษายนปีนี้เอง J002E3 ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาที่จุดลากรานจ์ (L1) ซึ่งเป็นจุดสมดุลของความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ J002E3 นับเป็นวัตถุดวงแรกที่พบว่าโลกคว้าจับไว้ได้ 

ก่อนหน้าที่ J002E3 จะเข้าสู่วงโคจรรอบโลก ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ภายในวงโคจรของโลก และเคยผ่านจุดลากรานจ์แอล ก่อนหน้านี้เมื่อราวปลายทศวรรษ 1960 หรือต้นทศวรรษ 1970 และเคยโคจรรอบโลกมาก่อนในช่วงเวลานั้น เมื่อพิจารณาประกอบการการเคลื่อนที่ของโลกแล้วจึงน่าเชื่อว่าวัตถุดวงนี้น่าจะเป็นจรวดท่อนที่ ของจรวดแซตเทิร์น S-IVB ที่ส่งยานอะพอลโล 12 ไปดวงจันทร์เมื่อปี 2512 ยานอะพอลโลสลัดจรวดท่อนนี้หลังจากที่ผ่านดวงจันทร์ไปแล้ว หลังจากนั้นจรวดท่อนนี้ได้โคจรรอบโลกด้วยคาบ 43 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับวงโคจรปัจจุบัน 

แนวโน้มข้างหน้าของ J002E3 มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง นักดาราศาสตร์พบว่าวัตถุนี้มีโอกาสที่จะชนดวงจันทร์ในปีหน้ามากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และมีโอกาสที่จะชนโลกภายใน 10 ปีข้างหน้าถึง เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม หากวัตถุนี้จะชนโลกจริงก็ไม่ใช่เรื่องน่าหวาดวิตกแต่อย่างใด เพราะแต่ละปีมีชิ้นส่วนของจรวดหรือดาวเทียมตกลงโลกเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว 

ชมภาพวิดีโอการคว้าจับบริวารของโลกได้ที่ http://neo.jpl.nasa.gov/ 

จรวดแซตเทิร์น 5 แสดงจรวดท่อนที่สามที่กลายมาเป็นบริวารดวงใหม่ของโลก

จรวดแซตเทิร์น 5 แสดงจรวดท่อนที่สามที่กลายมาเป็นบริวารดวงใหม่ของโลก

ที่มา: