สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แหล่งกำเนิดของก๊าซท่ามกลางดาราจักร

แหล่งกำเนิดของก๊าซท่ามกลางดาราจักร

13 ส.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัแคลิฟอร์เนีย ซานตา บาบารา ได้พบว่า ก๊าซท่ามกลางดาราจักร (intergalactic space gas) ที่ประกอบด้วยธาตุหนัก (ธาตุที่หนักกว่าฮีเลียม) ส่วนใหญ่น่าจะมาจากดาราจักรแคระมากกว่าดาราจักรขนาดใหญ่ 

คริสตัล มาร์ติน จากได้ศึกษาดาราจักรแคระ NGC 1569 ด้วยหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา และได้สังเกตพบฟองก๊าซที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหลายล้านองศาผุดออกมากจากดาราจักรนี้ ภายในฟองก๊าซนั้นประกอบด้วย ออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม และซิลิคอน มาร์ตินสันนิษฐานว่า เนื่องจากดาราจักรแคระมีมวลน้อย ความโน้มถ่วงต่ำ ก๊าซจึงสามารถหลุดพ้นออกจากสนามความโน้มถ่วงของดาราจักรได้ง่ายกว่าดาราจักรขนาดใหญ่กว่า ด้วยสมบัตินี้ประกอบกับการที่ดาราจักรแคระเป็นดาราจักรที่มีมากที่สุดในเอกภพ จึงสันนิษฐานได้ว่า ดังนั้นก๊าซที่พบท่ามกลางดาราจักรในปัจจุบัน จึงน่าจะมาจากดาราจักรแคระเป็นส่วนใหญ่ 





ภาพดาราจักร NGC 1569 ที่ถ่ายโดยหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา ดาราจักรนี้เป็นดาราจักรแคระที่อยู่ห่างจากโลก 7 ล้านปีแสง แสดงถึงฟองก๊าซขนาดใหญ่พองออกมาจากทางด้านบนและด้านล่างของจานฝุ่นที่อยู่ตามแนวระนาบของดาราจักร ก๊าซจานและฟองประกอบด้วยออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม และซิลิคอน เฉพาะออกซิเจนในฟองก๊าซนั้นมีปริมาณมากกว่าออกซิเจนภายในดวงอาทิตย์ 3 ล้านเท่า

ภาพดาราจักร NGC 1569 ที่ถ่ายโดยหอสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา ดาราจักรนี้เป็นดาราจักรแคระที่อยู่ห่างจากโลก 7 ล้านปีแสง แสดงถึงฟองก๊าซขนาดใหญ่พองออกมาจากทางด้านบนและด้านล่างของจานฝุ่นที่อยู่ตามแนวระนาบของดาราจักร ก๊าซจานและฟองประกอบด้วยออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม และซิลิคอน เฉพาะออกซิเจนในฟองก๊าซนั้นมีปริมาณมากกว่าออกซิเจนภายในดวงอาทิตย์ 3 ล้านเท่า

ภาพวาดแสดงทิศทางและโครงสร้างของดาราจักร NGC 1569 ที่ถ่ายโดยจันทรา รังสีเอกซ์ส่วนใหญ่ที่ดาราจักรนี้แผ่ออกมาจากส่วนของจานฝุ่น ซึ่งเอียงทำมุม 60 องศากับแนวเล็งของโลก (ภาพโดย CXC/M.Weiss)

ภาพวาดแสดงทิศทางและโครงสร้างของดาราจักร NGC 1569 ที่ถ่ายโดยจันทรา รังสีเอกซ์ส่วนใหญ่ที่ดาราจักรนี้แผ่ออกมาจากส่วนของจานฝุ่น ซึ่งเอียงทำมุม 60 องศากับแนวเล็งของโลก (ภาพโดย CXC/M.Weiss)

ที่มา: