มันมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน 20 เท่า และโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบทุก 10,000-20,000 ปี
เปล่าเลยนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ แต่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์บ่งชี้ว่ามันน่ามีอยู่จริง
งานวิจัยนี้เป็นของคอนสแตนติน บาทีจิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และ ไมค์ บราวน์
แม้จะยังไม่ถูกค้นพบโดยตรงแต่นักดาราศาสตร์ก็เรียกวัตถุต้องสงสัยนี้ว่า "ดาวเคราะห์หมายเลขเก้า" แล้ว
บราวน์ชี้ว่าดาวเคราะห์หมายเลขเก้านี้มีมวลมากกว่าดาวพลูโตถึง 5,000 เท่า จึงไม่ต้องสงสัยว่าจะเรียกว่าดาวเคราะห์ได้หรือไม่ บริเวณแวดล้อมที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางแรงโน้มถ่วงจากวัตถุดวงนี้กว้างใหญ่มากกว่าของดาวเคราะห์ดวงใดในระบบสุริยะ
เส้นทางของการค้นพบครั้งนี้ไม่ธรรมดาย้อนหลังไปเมื่อปี 2557 ได้มีรายงานวิจัยฉบับหนึ่งที่เขียนโดย ชาด ทรูจิลโล และ สก็อตต์ เชปเพิร์ด รายงานฉบับนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่า วัตถุในแถบไคเปอร์ 13 ดวงมีการโคจรที่ดูเหมือนกับถูกรบกวนจากวัตถุที่ยังไม่เห็นซึ่งอาจจะเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก แต่บราวน์คิดว่าไม่น่าจะเป็นดาวเคราะห์ อย่างไรก็ตามความเห็นของบราวน์ในครั้งนั้นกลับถูกเมินเฉย
ต่อมาบราวน์ได้นำเรื่องค้างคาใจนี้ไปหารือกับบาทีจินแล้วทั้งสองก็เริ่มวิจัยเรื่องนี้ร่วมกัน การทำงานของสองคนนี้ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น บราวน์เป็นนักสำรวจท้องฟ้า แต่บาทีจินเป็นนักทฤษฎี มุมมองและทัศนะของทั้งสองจึงต่างกันโดยสิ้นเชิง ในขณะที่บราวน์เฝ้ามองและติดตามจุดแสงทุกจุดที่พบ ส่วนบาทีจินมองไปที่พลวัตของวัตถุ ความแตกต่างอย่างสุดขั้วนี้ทำให้บรรยากาศในการร่วมงานของทั้งสองเต็มไปด้วยการโต้แย้งและทุ่มเถียงอย่างเผ็ดร้อน
"ผมเชื่อว่าหากไม่มีการโต้แย้งกันเช่นนี้การค้นพบครั้งสำคัญนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น" บราวน์กล่าว "มันน่าจะเป็นประสบการณ์การทำงานในด้านระบบสุริยะที่สนุกที่สุดที่ผมเคยประสบ"
บาทีจินและบราวน์สังเกตว่าวัตถุหกดวงในจำนวนที่กล่าวถึงในรายงานของทรูจิลโลและเชปเพิร์ดมีวงโคจรที่ผิดสังเกตในแบบที่สอดคล้องกันอย่างเหลือเชื่อ กล่าวคือทั้งหกดวงมีจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดชี้ไปในทางเดียวกันจนแทบจะเป็นจุดเดียวกัน บราวน์อธิบายว่า โอกาสที่วัตถุหกดวงที่มีอัตราโคจรต่างกันบังเอิญมามีจุดไกลสุดชี้ไปในทางเดียวกันอย่างนี้มีเพียงหนึ่งในร้อยเท่านั้น ยิ่งกว่านั้นระนาบวงโคจรของวัตถุทั้งหกดวงนี้ยังเอียงไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือเอียงลงจากระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้งแปดลงไปทางใต้ประมาณ 30 องศา ซึ่งโอกาสที่จะเกิดความบังเอิญเช่นนี้มีเพียง 0.007 เปอร์เซ็นต์
"นั่นทำให้เราเชื่อว่าต้องมีบางสิ่งบางอย่างมาแต่งวงโคจรของวัตถุทั้งหกให้เป็นแบบนี้"บราวน์อธิบาย
สมมุติฐานแรกที่บราวน์และบาทีจินตั้งขึ้นคืออาจมีวัตถุไคเปอร์จำนวนมากส่งแรงดึงดูดรบกวน แต่สมมุติฐานนี้ตกไปอย่างรวดเร็วหลังจากที่การคำนวณพบว่าจะต้องมีวัตถุไคเปอร์ที่มีมวลรวมมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันถึง 100 เท่าจึงจะทำให้เกิดผลเช่นนั้นได้
ทั้งสองจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากตั้งสมมุติฐานว่ามีดาวเคราะห์ที่ยังมองไม่เห็นส่งแรงดึงดูดรบกวนแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาในช่วงแรกให้ผลใกล้เคียงกับที่สำรวจพบ แต่ก็ยังให้ความรีของวงโคจรไม่เท่ากับค่าที่ได้จากการสำรวจ
นักดาราศาสตร์ทั้งสองนี้จึงได้สร้างแบบจำลองอีกครั้งโดยให้วัตถุต้องสงสัยคือดาวเคราะห์ที่มีมวลมากและโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่นทั้งหมดผลที่ได้คือ วงโคจรของวัตถุไคเปอร์ที่เลือกมาเป็นโจทย์ในการวิจัยที่ได้จากแบบจำลองตรงกับที่ได้จากการสำรวจพอดิบพอดี
"ดาวเคราะห์หมายเลขเก้านี้แม้จะมีวงโคจรที่แปลกประหลาดแต่ก็เป็นไปได้และยังคงเสถียรภาพเป็นเวลานานได้เนื่องจากมีคาบโคจรที่พ้องเป็นสัดส่วนกับดาวเคราะห์ดวงอื่น"บาทีจินอธิบาย
นอกจากวงโคจรที่แปลกประหลาดของดาวเคราะห์หมายเลขเก้าจะอธิบายการโคจรของวัตถุไคเปอร์บางดวงได้แล้วยังอธิบายวงโคจรที่พิสดารของวัตถุอีกสองดวงได้อีกด้วย
ในปี2546 บราวน์ได้ค้นพบ ดาวเซดนา ดาวเซดนามีวงโคจรไม่เหมือนวัตถุไคเปอร์ทั่วไป ในขณะที่วัตถุไคเปอร์ทั่วไปมีวงโคจรที่แสดงว่าเคยถูกดาวเนปจูนเหวี่ยงให้หลุดออกไปนอกเขตดาวเคราะห์แล้ววกกลับเข้ามาใกล้ดาวเนปจูนอีกครั้ง แต่ดาวเซดนาไม่เข้าใกล้ดาวเนปจูนเลย วัตถุอีกดวงหนึ่งคือ 2012 วีพี 113 (2012 VP113) ค้นพบโดยทรูจิลโลและเชปเพิร์ดในปี 2557 ก็มีวงโคจรแบบเดียวกับเซดนา
บาทีจินและบราวน์พบว่าแบบจำลองการโคจรที่เขาสร้างขึ้นนี้อธิบายที่มาของวงโคจรของวัตถุสองดวงนี้ได้แรงดึงดูดของดาวเคราะห์หมายเลขเก้าจะค่อย ๆ ดึงวัตถุไคเปอร์จำนวนหนึ่งให้หลุดออกจากพันธนาการของดาวเนปจูนออกมาจนมีวงโคจรแบบเซดนาและ 2012 วีพี 113 ได้
ไม่เพียงเท่านั้นแบบจำลองใหม่นี้ยังให้ความเป็นไปได้ที่จะมีวัตถุไคเปอร์บางดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีระนาบตั้งฉากกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ซึ่งวัตถุที่โคจรในลักษณะดังกล่าวก็มีการค้นพบแล้วถึงสี่ดวง ซ้ำยังมีตำแหน่งตรงตามที่แบบจำลองให้ไว้ด้วย
“การพบว่าแบบจำลองอธิบายการโคจรของเซดนาได้ด้วยก็ว่าเป็นการค้นพบที่สุดยอดแล้ว เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว แต่พอพบว่ามันยังพยากรณ์ได้ว่ามีวัตถุโคจรในระนาบตั้งฉากได้อย่างถูกต้องด้วยแล้ว มันเหมือนกับยิงปืนนัดเดียวได้นกสามตัวเลยทีเดียว” บาทีจินเปรียบเปรย
"แม้ในตอนแรกเราสงสัยมากว่ามันจะมีอยู่จริงหรือไม่แต่ก็พบว่ายิ่งสืบหลักฐานก็ยิ่งเด่นชัดว่ามันมีอยู่จริง"
บาทีจินและบราวน์ยังคงวิจัยในเรื่องนี้ต่อไปโดยปรับปรุงแบบจำลองให้ดียิ่งขึ้นและศึกษาว่าวงโคจรของดาวเคราะห์หมายเลขเก้านี้มีอิทธิพลต่อวัตถุในระบบสุริยะรอบนอกอย่างไร ในขณะเดียวกัน ไมค์ บราวน์ ก็ร่วมมือกับคณะนักสำรวจคนอื่นเริ่มค้นหาดาวเคราะห์หมายเลขเก้าบนท้องฟ้าแล้ว โดยกวาดหาตามแนววงโคจรที่ได้จากแบบจำลอง บราวน์อธิบายว่า หากดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวงโคจร ก็น่าจะเคยถูกถ่ายภาพได้แล้วจากการสำรวจก่อนหน้านี้ แต่ถ้าหากมันอยู่บริเวณจุดไกลสุดในวงโคจร ก็จำเป็นต้องใช้กล้องระดับยักษ์จึงจะมองเห็นได้ เช่นกล้อง 10 เมตรของหอดูดาวดับเบิลยูเอ็มเค็ก และกล้องซุบะรุ
เปล่าเลย
งานวิจัยนี้เป็นของ
แม้จะยังไม่ถูกค้นพบโดยตรง
บราวน์ชี้ว่า
เส้นทางของการค้นพบครั้งนี้ไม่ธรรมดา
ต่อมาบราวน์ได้นำเรื่องค้างคาใจนี้ไปหารือกับบาทีจิน
"ผมเชื่อว่าหากไม่มีการโต้แย้งกันเช่นนี้
บาทีจินและบราวน์สังเกตว่า
"นั่นทำให้เราเชื่อว่าต้องมีบางสิ่งบางอย่างมาแต่งวงโคจรของวัตถุทั้งหกให้เป็นแบบนี้"
สมมุติฐานแรกที่บราวน์และบาทีจินตั้งขึ้นคือ
ทั้งสองจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากตั้งสมมุติฐานว่ามีดาวเคราะห์ที่ยังมองไม่เห็นส่งแรงดึงดูดรบกวน
นักดาราศาสตร์ทั้งสองนี้จึงได้สร้างแบบจำลองอีกครั้งโดยให้วัตถุต้องสงสัยคือดาวเคราะห์ที่มีมวลมากและโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ตรงข้ามกับดาวเคราะห์ดวงอื่นทั้งหมด
"ดาวเคราะห์หมายเลขเก้านี้แม้จะมีวงโคจรที่แปลกประหลาดแต่ก็เป็นไปได้และยังคงเสถียรภาพเป็นเวลานานได้เนื่องจากมีคาบโคจรที่พ้องเป็นสัดส่วนกับดาวเคราะห์ดวงอื่น"
นอกจากวงโคจรที่แปลกประหลาดของดาวเคราะห์หมายเลขเก้าจะอธิบายการโคจรของวัตถุไคเปอร์บางดวงได้แล้ว
ในปี
บาทีจินและบราวน์พบว่าแบบจำลองการโคจรที่เขาสร้างขึ้นนี้อธิบายที่มาของวงโคจรของวัตถุสองดวงนี้ได้
ไม่เพียงเท่านั้น
“การพบว่าแบบจำลองอธิบายการโคจรของเซดนาได้ด้วย
"แม้ในตอนแรกเราสงสัยมากว่ามันจะมีอยู่จริงหรือไม่
บาทีจินและบราวน์ยังคงวิจัยในเรื่องนี้ต่อไปโดยปรับปรุงแบบจำลองให้ดียิ่งขึ้น