สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ไขปัญหาคาบโคจรลึกลับของดาวพุธ

ไขปัญหาคาบโคจรลึกลับของดาวพุธ

28 ก.ค. 2547
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ทราบมานานแล้วว่า ดาวพุธมีอัตราการหมุนรอบตัวเองพ้องกับอัตราการโคจรรอบโลกด้วยอัตรา 3/2 หมายความว่าหมุนรอบตัวเอง รอบเท่ากับเวลาที่ใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ รอบ การมีคาบการหมุนพ้องกับคาบการโคจรเกิดขึ้นได้ง่ายในดาวเคราะห์ดวงใหญ่ แต่สำหรับดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กอย่างดาวพุธ การตรึงคาบให้พ้องกันเกิดขึ้นได้ยาก ความจริงแล้วพบว่าตามแบบจำลองของการโคจรที่ยอมรับกันในปัจจุบัน มีโอกาสเพียง เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่คาบการหมุนและการโคจรจะถูกตรึงใหัพ้องกันดังที่เป็นอยู่นี้ได้ ดังนั้นการที่ดาวพุธมีการหมุนและการโคจรเป็นอย่างนี้น่าจะมีสาเหตุอื่น 
   
อะลีชางดรา คอร์เรีย จากมหาวิทยาลัยเอวีโร และชาก ลากา จากมหาวิทยาลัยปารีส พบคำอธิบายใหม่ที่ทำให้การตรึงคาบการหมุนเป็นไปได้มากขึ้น งานวิจัยของเขามุ่งเป้าไปที่การเปลี่ยนรูปร่างของวงโคจรในระยะยาว แบบจำลองใหม่แสดงว่าตลอดเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา วงโคจรของดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงความรีอย่างมากตั้งแต่ หรือวงกลมสมบูรณ์จนถึง 0.45 ซึ่งรีมากราวกับไข่ไก่ ขณะที่ดาวพุธอยู่ในช่วงที่วงโคจรรีมาก จะมีโอกาสที่คาบการโคจรจะถูกตรึงให้เป็น 3/2 มากขึ้น หากความรีของวงโคจรดาวพุธมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เป็นเวลาประมาณ พันล้านปี โอกาสที่คาบการหมุนของดาวจะถูกตรึงให้พ้องกับคาบโคจรด้วยอัตรา 3/2 อย่างที่เป็นอยู่ก็จะสูงถึง 55 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว 

ที่มา: