ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์ดวงเล็กที่สุดในระบบสุริยะ และอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด เมื่อดูเผิน ๆ ดาวพุธดูคล้ายดวงจันทร์ ไม่ได้สวยเด่น ดูจืดชืด และไม่น่าสนใจ
แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดเช่นนั้นเพราะลึกเข้าไปใต้พื้นผิว ดาวพุธเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยเรื่องแปลกประหลาด เช่นเมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่าดาวพุธอาจมีชั้นของเพชรที่มีความหนาถึง 16 กิโลเมตรคั่นอยู่ระหว่างชั้นของแก่นและเนื้อดาว
สิ่งหนึ่งที่ดาวพุธแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นมากก็คือดาวพุธมีแก่นเหล็กที่ใหญ่มาก มีส่วนที่เป็นเนื้อดาวที่ประกอบด้วยซิลิเกตบาง ส่วนแก่นเหล็กที่เป็นของแข็งรวมกับแก่นชั้นนอกที่เป็นเหล็กหลอมเหลวมีความหนาถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของรัศมีดาวพุธ นับเป็นดาวเคราะห์ที่มีสัดส่วนของขนาดแก่นเหล็กสูงที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด
ดาวพุธมีโครงสร้างแบบนี้ได้อย่างไรเป็นคำถามที่นักดาราศาสตร์พยายามหาคำตอบมานานนับสิบปี
ระบบสุริยะในยุคเริ่มต้นมีสภาพที่แสนสับสนอลหม่านมีวัตถุน้อยใหญ่ชนกันเองบ่อยครั้ง บางทีการชนนี้เองที่อาจเป็นสาเหตุ นักวิทยาศาสตร์เคยสันนิษฐานว่า ดาวพุธในวัยเยาว์อาจถูกวัตถุขนาดใหญ่กว่ามากพุ่งชน การชนนั้นทำให้เนื้อดาวชั้นนอกที่เป็นซิลิเกตหลุดกระจายออกไปเป็นจำนวนมาก ดาวพุธจึงเหลือเนื้อดาวที่เป็นซิลิเกตอยู่ไม่มากนัก
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองการกำเนิดระบบสุริยะกลับพบว่าโอกาสที่จะเกิดการชนกันระหว่างวัตถุต่างขนาดมาก ๆ มีไม่มากนัก ในขณะที่การชนแบบถากระหว่างวัตถุที่มีขนาดไล่เลี่ยกันกลับมีมากกว่า ประมาณว่าในจำนวนการชนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบสุริยะเป็นการชนแบบนี้ถึงหนึ่งในสาม และอาจเป็นการชนแบบนี้ที่ทำให้เกิดดาวพุธ
นักวิทยาศาสตร์จากบราซิลเยอรมนี และฝรั่งเศส นำโดยแพทริก ฟรันโก จากหอดูดาวแห่งชาติบราซิล ได้วิจัยเกี่ยวกับการกำเนิดดาวพุธ โดยการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ แบบจำลองที่เขาสร้างขึ้นได้ให้วัตถุตั้งต้นของดาวพุธมีมวลราว 10 เปอร์เซ็นต์ของโลก และมีเหล็กเป็นส่วนประกอบประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แล้วให้ชนเข้ากับวัตถุดวงอื่นที่มีขนาดและมีสัดส่วนของเหล็กหลากหลายค่า นอกจากนี้ยังกำหนดความเร็วสัมพัทธ์ในการชนให้มีค่าอยู่ในช่วง 2.8 ถึง 3.8 เท่าของความเร็วหลุดพ้นร่วมของสองวัตถุ
การจำลองสถานการณ์ให้ผลลัพธ์ออกมาว่าเงื่อนไขที่ทำให้ดาวพุธมีสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงดาวพุธจริงในปัจจุบันคือ ดาวพุธเคยถูกวัตถุที่มีขนาดใกล้เคียงกันเฉี่ยวไป การเฉี่ยวทำให้ดาวพุธเสียวัสดุที่เป็นเนื้อดาวไปจำนวนมาก จนสัดส่วนของเหล็กในดาวพุธมีอยู่มากถึง 65-75 เปอร์เซ็นต์ (ค่าปัจจุบันของดาวพุธคือ 70 เปอร์เซ็นต์)
บางทีอาจเป็นการชนแบบนี้นี่เองที่ทำให้ดาวพุธมีสมบัติแปลกประหลาดดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่คิดเช่นนั้น
สิ่งหนึ่งที่ดาวพุธแตกต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นมากก็คือ
ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงการชนกันเองของวัตถุในระบบสุริยะซึ่งเป็นเรื่องเกิดขึ้นบ่อยในยุคต้นของระบบสุริยะ การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า การชนกันเองระหว่างวัตถุที่มีขนาดไล่เลี่ยกันอาจทำให้ดาวพุธมีลักษณะดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (จาก NASA/ JPL-Caltech/ Wikimedia Commons)
ดาวพุธมีโครงสร้างแบบนี้ได้อย่างไร
โครงสร้างภายในของดาวพุธ ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีแก่นเหล็กใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของทั้งดวง มีรัศมีเกือบ 85 เปอร์เซ็นต์ของรัศมีดาวพุธ (จาก NASA/ Goddard Space Flight Center)
ระบบสุริยะในยุคเริ่มต้นมีสภาพที่แสนสับสนอลหม่าน
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองการกำเนิดระบบสุริยะ
นักวิทยาศาสตร์จากบราซิล
การจำลองสถานการณ์ให้ผลลัพธ์ออกมาว่า
บางทีอาจเป็นการชนแบบนี้นี่เองที่ทำให้ดาวพุธมีสมบัติแปลกประหลาดดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน