สมาคมดาราศาสตร์ไทย

วัดอายุเอกภพด้วยดาวแคระขาว

วัดอายุเอกภพด้วยดาวแคระขาว

4 พ.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียนำโดย ฮาร์เวย์ ริเชอร์ ได้ศึกษาหาอายุเอกภพด้วยวิธีการที่ต่างไปจากที่คณะอื่นเคยทำมา แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาสอดคล้องกันที่ประมาณ 14,000 ล้านปี 

วิธีการของริเชอร์คือ วัดความสว่างของดาวแคระขาวในกระจุกดาว M4 ซึ่งเป็นกระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแมงป่องด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาวแคระขาวเป้าหมายจะเป็นดวงที่จางที่สุด อุณหภูมิต่ำที่สุด ซึ่งจะหมายถึงเป็นดาวแคระขาวที่อายุมากที่สุดด้วย วัตถุจำพวกนี้นับเป็นดาวรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้นมาในเอกภพเลยทีเดียว 

ดาวแคระขาวเป็นแกนกลางที่หลงเหลือของดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัยไปแล้ว ในช่วงแรกหลังจากที่ดาวฤกษ์เปลี่ยนไปเป็นดาวแคระขาวแล้วมีอุณหภูมิสูงมาก และจะค่อย ๆ เย็นตัวลงอย่างช้า ๆ และแน่นอน นักดาราศาสตร์จึงสามารถคำนวณอายุของดาวแคระขาวเหล่านั้นได้จากอุณหภูมิของมันเอง 

จากจำนวนดาวแคระขาว 600 ดวงที่ริเชอร์ศึกษา พบว่าดวงที่มีอายุมากที่สุดมีอายุราว 12,700 ล้านปี ผิดพลาดไม่เกิน 700 ล้านปี ตามทฤษฎีกำเนิดดาวฤกษ์และดาราจักรที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันกล่าวว่า ดาวฤกษ์ดวงแรกจะเกิดขึ้นหลังจากการระเบิดใหญ่ราว พันล้านปี ซึ่งดาวฤกษ์เหล่านั้นต่อมาได้กลายมาเป็นดาวแคระขาวที่เราเห็นกันในปัจจุบัน ดังนั้นจึงได้อายุของเอกภพว่ามีอายุประมาณ 14,000 ล้านปี 


กระจุกดาวทรงกลม M4 มีดาวแคระขาวอยู่มากมาย ซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัววัดอายุของเอกภพ

กระจุกดาวทรงกลม M4 มีดาวแคระขาวอยู่มากมาย ซึ่งนักดาราศาสตร์ใช้เป็นตัววัดอายุของเอกภพ

ภาพถ่ายระยะใกล้ของ <wbr>M4 <wbr>โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล <wbr>แสดงให้เห็นดาวแคระขาวจำนวนมาก <wbr>(ในวงกลม) <wbr>ดวงที่อายุมากที่สุดมีอายุ <wbr>12,000-13,000 <wbr>ล้านปี<br />
<br />

ภาพถ่ายระยะใกล้ของ M4 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แสดงให้เห็นดาวแคระขาวจำนวนมาก (ในวงกลม) ดวงที่อายุมากที่สุดมีอายุ 12,000-13,000 ล้านปี

ที่มา: