สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ชุดกันรังสีสำหรับนักบินอวกาศในอนาคต

ชุดกันรังสีสำหรับนักบินอวกาศในอนาคต

24 พ.ค. 2561
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ในปลายปีหน้า จรวดเอสแอลเอส ซึ่งเป็นจรวดขับดันระวางบรรทุกสูงรุ่นใหม่ที่พัฒนาโดยองค์การนาซาจะปล่อยขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรกในชื่อภารกิจ อีเอ็ม-1 สัมภาระติดอยู่บนยอดของจรวดในครั้งนี้คือยานโอไรอัน 

ในภารกิจอีเอ็ม-1 ยานโอไรอันจะยังไม่มีมนุษย์อวกาศเดินทางไปด้วย แต่จะมีหุ่นทดสอบสองตัวที่พัฒนาโดยศูนย์การบินอวกาศเยอรมนี ตัวหนึ่งสวมชุดกันรังสี อีกตัวหนึ่งไม่ใส่ ภายในหุ่นทั้งสองมีอุปกรณ์ตรวจวัดรังสีนับพันตัว ค่ารังสีที่วัดได้จะนำมาเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดต่อไป

ชุดกันรังสีที่ว่านี้มีชื่อว่า แอสโทรแรด พัฒนาโดยบริษัทสเต็มแรด ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน-อิสราเอล 

ในอวกาศเต็มไปด้วยรังสีอันตราย เมื่อมนุษย์อวกาศได้รับรังสีนี้เป็นเวลานาน จะส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกาย ซึ่งภารกิจที่จะส่งมนุษย์ไปยังที่ห่างไกลเช่นดวงจันทร์หรือดาวอังคารจะต้องมีการป้องกันรังสีให้ดี

ช่วงเวลาของภารกิจอีเอ็ม-1 อยู่ในช่วงต่ำสุดของวัฏจักรสุริยะ จึงอาจไม่มีโอกาสได้เจอกับพายุสุริยะรุนแรงในภารกิจนานสามสัปดาห์ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะสิ่งที่จะถูกใช้เป็นด่านทดสอบคือแถบรังสีแวนอัลเลน ซึ่งเป็นวงแหวนขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบโลก เป็นบริเวณที่มีอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จำนวนมากถูกกักเอาไว้ การเดินทางผ่านแถบรังสีนี้จะต้องได้รับรังสีเข้มข้นที่เป็นอันตราย 

หากการทดสอบประสบความสำเร็จ ชุดนี้ก็จะถูกนำไปใช้งานจริง มนุษย์อวกาศในอนาคตจะสวมชุดแอสโทรแรดในภารกิจเดินทางไกลในอวกาศ และอาจรวมถึงในสถานีอวกาศนานาชาติด้วย

ชุดต้นแบบของชุดกันรังสีแอสโทรแรด <wbr>ยานด้านหลังคือยานโอไรอัน <wbr>โครงเส้นบนตัวชุดแสดงถึงการเสริมชั้นป้องกันในตำแหน่งที่เป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อรังสี <wbr>ได้แก่ <wbr>ไขกระดูก <wbr>ลำไส้ใหญ่ <wbr>กระเพาะ <wbr>รังไข่ <wbr>และทรวงอก<br />

ชุดต้นแบบของชุดกันรังสีแอสโทรแรด ยานด้านหลังคือยานโอไรอัน โครงเส้นบนตัวชุดแสดงถึงการเสริมชั้นป้องกันในตำแหน่งที่เป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อรังสี ได้แก่ ไขกระดูก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะ รังไข่ และทรวงอก
(จาก StemRad)

จรวดเอสแอลเอส จรวดขับดันรุ่นใหม่ของนาซา พัฒนาโดยโบอิ้ง

จรวดเอสแอลเอส จรวดขับดันรุ่นใหม่ของนาซา พัฒนาโดยโบอิ้ง (จาก Wikimedia Commons)

ที่มา: