- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
27 เม.ย. 48
นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์จันทราสำรวจการแสงเหนือใต้บนดาวพฤหัสบดี พบว่าอนุภาคที่เป็นตัวทำให้เกิดแสงเหนือใต้คือไอออนของออกซิเจนที่สูญเสียอิเล็กตรอนไปเกือบหมด จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากกล้องจันทราร่วมกับกล้องฮับเบิลพบว่า แสงเหนือใต้ของดาวพฤหัสบดีเกิดจากการเร่งความเร็วของไอออนออกซิเจนในสนามแม่เหล็กบริเวณขั้วของดาวพฤหัสบดีเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากกลไกการเกิดแสงเหนือใต้ของโลกและดาวเสาร์
27 มี.ค. 48
นาซาได้เผยแพร่ภาพของดาราจักรวังวน (M51) ที่ถ่ายด้วยกล้องฮับเบิลด้วยความละเอียดสุดยอด เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีอายุการใช้งานครบ 15 ปี วันนี้
22 มี.ค. 48
ดอนัลด์ เอฟ. ฟิเกอร์ จากสถาบันกล้องโทรทรรศน์อวกาศได้ศึกษากระจุกดาวหลายกระจุกด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล พบว่า ดาวฤกษ์ในปัจจุบันจะมีมวลเริ่มต้นได้ไม่เกิน 150 มวลสุริยะ
12 ก.พ. 48
นักดาราศาสตร์จากหอดูดาววิทยุแห่งชาติ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์ขนาด 100 เมตร สำรวจกระจุกดาวเทอร์ซาน 5 ซึ่งเป็นกระจุกดาวทรงกลมแห่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่ในระนาบทางช้างเผือก พบว่ากระจุกนี้มีพัลซาร์มากถึง 24 ดวง ซึ่งนับว่าเป็นกระจุกดาวที่มีพัลซาร์มากที่สุด
23 ม.ค. 48
ยานออปพอร์ทูนิตีได้พบก้อนโลหะก้อนหนึ่งบนดาวอังคารเมื่อวันที่ 10 มกราคม ใกล้กับบริเวณที่เกราะกันความร้อนของยานตก นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นอุกกาบาต
20 ม.ค. 48
เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามในสัญญาระหว่างรัสเซียและองค์การอวกาศยุโรปในการวิจัยร่วมกันและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ในสัญญาฉบับนี้ทำให้ต่อไปนี้รัสเซียใช้ฐานปล่อยจรวดที่เฟรนช์เกียนาได้
19 ม.ค. 48
ระหว่างที่โลกกำลังตกตะลึงกับข่าวคลื่นยักษ์ในทะเลอันดามัน ในวงการดาราศาสตร์ก็มีเรื่องให้เขย่าขวัญเหมือนกันเมื่อพบว่าดาวเคราะห์น้อย 2004 MN4 มีโอกาสสูงถึง 1 ใน 38 ที่จะชนโลกในวันที่ 13 เมษายน 2572 นับเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสชนโลกมากที่สุดเท่าที่เคยคนพบ แต่การคำนวณเส้นทางโคจรหลังจากนั้นพบว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่ชนโลกอย่างแน่นอน
6 ม.ค. 48
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ค้นพบดาวฤกษ์ดวงใหม่ที่อยู่ห่างจากโลกไปเพียง 12 ปีแสง ดาวดวงนี้เป็นดาวฤกษ์สีแดง อยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า ชื่อว่า เอสไอพี 1259-4336
21 ธ.ค. 47
จอห์น เดวิส จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์และคณะใช้อินเตอร์เฟอโรเมตรีและการวิเคราะห์สเปกตรัม วัดมวลของดาวบีตาคนครึ่งม้าได้ว่าดาวสมาชิกแต่ละดวงของระบบดาวนี้มีมวล 9.1 มวลสุริยะ นอกจากนี้ยังวัดระยะห่างได้ 330 ปีแสง ซึ่งใกล้กว่าตัวเลขที่วัดได้โดยดาวเทียมฮิปพาร์คอสถึง 200 ปีแสง
21 ธ.ค. 47
กล้องสปิตเซอร์ได้ประเมินขนาดของวัตถุไคเปอร์ดวงหนึ่งที่ชื่อว่า เอดับเบิลยู 197 โดยใช้โฟโตมิเตอร์หลายย่านบนกล้องเพื่อหาดัชนีสะท้อน อัตราสะท้อนที่ได้คือ 18 เปอร์เซ็นต์จึงแปลเป็นขนาดได้ประมาณ 750 กิโลเมตร ลดลงจากตัวเลขเดิมที่เคยประเมินไว้โดยสมมุติให้อัตราสะท้อนเท่ากับ 4 เปอร์เซ็นต์ถึงครึ่งหนึ่ง
3 พ.ย. 47
นักดาราศาสตร์จากออสเตรียสามารถวัดปรากฏการณ์กรอบเลื่อน (frame dragging) ได้เป็นครั้งแรก ปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่ปริภูมิเวลามีการบิดเบี้ยวจากการหมุนรอบตัวเองของมวลสาร
14 ก.ค. 47
นักดาราศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลีรายงานว่า ได้ค้นพบดาราจักรขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับดาราจักรในปัจจุบันหลายดาราจักรที่อยู่ไกลถึงขอบเอกภพ ซึ่งขัดแย้งกับแบบจำลองลำดับชั้นที่กล่าวว่าดาราจักรในอดีตจะมีขนาดเล็ก
14 ก.ค. 47
หอดูดาวแอลบีทีบนเขาเกรแฮมรอดพ้นหายนะจากไฟป่าได้อย่างหวุดหวิดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 6 ไฟป่าได้ลามมาจนเข้าใกล้หอดูดาวมากโดยอยู่ห่างจากหอเพียง 650 เมตรก่อนที่จะถูกสกัดกั้นเอาไว้
14 ก.ค. 47
เดือนกรกฎาคมนี้ เป็นครั้งแรกนับจากปี 2500 ที่เซอร์แพทริก มัวร์ ไม่ได้ปรากฏในรายการโทรทัศน์ "สกายแอตไนท์" ของเขาทางช่องบีบีซี เนื่องจากป่วยจากอาหารเป็นพิษ ปัจจุบันมัวร์มีอายุ 81 ปีแล้ว
14 ก.ค. 47
ฟินแลนด์ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององคการอวกาศยุโรปประเทศล่าสุด นับเป็นลำดับที่ 11
10 ก.ค. 47
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปคินส์ได้ใช้ดาวเทียมฟิวส์วัดระยะทางของเนบิวลาผ้าคลุม พบว่าเนบิวลานี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,460 ปีแสง ซึ่งใกล้กว่าที่เคยคิดไว้ว่าอยู่ห่างถึง 2,500 แสง
9 ก.ค. 47
ยานสตาร์ดัสต์ รายงานว่าได้ตรวจพบโมเลกุลของสารประกอบชีวภาพเช่นไซยาไนด์บนดาวหางวีลด์ 2 แล้ว แต่พบว่ามีจำนวนน้อยกว่าที่เคยคาดคิดไว้
9 ก.ค. 47
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ใช้กล้องโทรทรรศน์โมสต์ ติดตามการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวแคปปาซีตัส จนสามารถสร้างแผนที่ของจุดมืดบนดาวดวงนี้ได้
21 เม.ย. 47
จนถึงวันที่ 22 มีนาคม ยานสำรวจดวงอาทิตย์โซโฮของนาซา/อีซา ได้ค้นพบดาวหางมาแล้ว 750 ดวง
19 เม.ย. 47
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ยานออปพอร์ทูนิตีสามารถถ่ายภาพการดวงจันทร์ดีมอสของดาวอังคารผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้