- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
1 ก.พ. 53
นักดาราศาสตร์พบหลุมดำมวลดาวฤกษ์ที่มีมวลมากถึง
21 เม.ย. 51
ยานแคสซีนีพบว่า ทะเลสาบแต่ละแห่งไฮโดรคาร์บอนบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์มีมีเทนและอีเทนมากพอที่จะให้พลังงานเท่ากับแก๊สธรรมชาติทั้งหมดบนโลก
21 เม.ย. 51
วิศวกรของศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดของนาซาสามารถสร้างดาวเทียมฟาสต์แซต ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็กได้เสร็จภายในสิบเดือนครึ่ง นับเป็นสถิติโลกใหม่
21 เม.ย. 51
ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้เดินทางพ้นขอบเขตอิทธิพลของดวงอาทิตย์ไปเมื่อเดือนธันวาคม 2550 เป็นยานลำที่สองที่ทำได้เช่นนี้ ยานลำแรกที่ทำได้คือยานวอยเอเจอร์ 1 การที่ยานวอยเอเจอร์ทั้งสองลำเดินทางไปคนละทิศ จึงทราบรูปร่างคร่าว ๆ ของฟองสุริยะที่ห่อหุ้มระบบสุริยะอยู่ ซึ่งยืนยันว่า ฟองนี้มีรูปร่างบิดเบี้ยว
21 เม.ย. 51
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยสามดวงที่มีอายุมากที่สุด คาดว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับระบบสุริยะ
8 เม.ย. 51
นาซากำลังมีแผนจะส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงอาทิตย์ระยะใกล้เป็นครั้งแรก ภาคกิจนี้มีชื่อว่า โซลาร์โพรบ ยานจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์เป็นระยะ 6.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าที่ยานลำใดเคยทำได้ถึง 8 เท่า ยานนี้จะออกเดินทางในปี 2558
15 ธ.ค. 50
นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวเคราะห์บริวารของดาววี 391 (V391) ยังคงสภาพเป็นดาวเคราะห์อยู่ได้หลังผ่านช่วงที่ดาวฤกษ์กลายเป็นดาวยักษ์มาแล้ว การค้นพบนี้สนับสนุนว่าโลกของเราก็อาจรอดพ้นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวยักษ์แดงได้เช่นกัน
15 ธ.ค. 50
นักวิทยาศาสตร์จากนาซาประสบความสำเร็จในการสร้างชิปวงจรที่สร้างด้วยซิลิคอนคาร์ไบด์ ชิปนี้สามารถทำงานในอุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานกว่า 1,700 ชั่วโมงได้ คาดว่าเทคโนโลยีนี้จะนำไปใช้บนสภาพแวดล้อมสุดโหดอย่างดาวศุกร์ได้ในอนาคต
15 ธ.ค. 50
องค์การอีซา ได้ยืดอายุภารกิจของยานยูลีสซีสออกไปอีก 12 เดือน ทำให้ยานลำนี้จะสิ้นสุดภารกิจในเดือนมีนาคม 2552
15 ธ.ค. 50
คณะนักดาราศาสตร์นำโดย ลอเรนซ์ ริดนิก จากมหาวิทยาลัยมินเนสโซตาได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุวีแอลเอสำรวจพบโพรงแห่งหนึ่งบนบริเวณกลุ่มดาวแม่น้ำ โพรงนี้มีความกว้างประมาณหนึ่งพันล้านปีแสง พบว่าเป็นบริเวณที่ว่างเปล่า ปราศจากดาว แสง มวลสาร สสารมืด และรังสีใด ๆ ตำแหน่งของโพรงนี้ตรงกับบริเวณที่เย็นผิดปรกติในแผนที่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังที่สร้างขึ้นโดยดาวเทียมดับเบิลยูแมปในปี 2546
10 พ.ย. 50
องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีนมีแผนที่จะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนและวิจัยเทคโนโลยีด้านอวกาศ
10 พ.ย. 50
ยานฉางเอ๋อ 1 ของจีน ที่ออกเดินทางจากโลก ได้เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์แล้วเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
10 พ.ย. 50
นักดาราศาสตร์พบหลักฐานว่า ออกซิเจนเริ่มมีปริมาณมากขึ้นบนโลกอย่างมีนัยสำคัญเมื่อราว 2,500 ล้านปีมาแล้ว นานก่อนจะถึงยุคออกซิเดชันใหญ่ที่เคยคาดไว้ 50-100 ล้านปี
10 พ.ย. 50
กล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์พบจานพอกพูนมวลที่กำลังอยู่ในช่วงของการสร้างดาวเคราะห์หินแบบโลกรอบดาว HD 113766 ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 424 ปีแสง
10 พ.ย. 50
นักดาราศาสตร์ได้วัดระยะห่างของเนบิวลานายพราน (เอ็ม 42) ใหม่ ระยะห่างใหม่ที่ได้คือ 1,270 ปีแสง ใกล้กว่าตัวเลขเดิมที่เคยประเมินไว้ถึง 19 เปอร์เซ็นต์
10 พ.ย. 50
ดาวเทียมทีซี 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวเทียมคู่ในโครงการดับเบิลสตาร์ของจีน ได้ตกลงสู่โลกเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2550 หลังจากปฏิบัติหน้าที่สำรวจสนามแม่เหล็กโลกครบกำหนด
10 พ.ย. 50
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม จีนได้ออกทองคำแท่งจำนวน 2007 แต่ละชุดมีสองแท่ง ๆ ละ 25 กรัมเพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสการปล่อยยานฉางเอ๋อ 1 ขึ้นสู่อวกาศ
10 พ.ย. 50
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องสปิตเซอร์และฮับเบิลสำรวจพบดาราจักรดึกดำบรรพ์แห่งหนึ่ง ชื่อ เอ 1689-แซดดี 1 (A 1689-zD1) มีอายุเก่าแก่มากถึง 12,800 ล้านปี