สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวหางแอตลัส (C/2024 G3)

ดาวหางแอตลัส (C/2024 G3)

5 มกราคม 2568
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 มกราคม 2568
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
ดาวหางซี/2024 จี (แอตลัส) C/2024 G3 (ATLAS) เป็นดาวหางที่ค้นพบเมื่อวันที่ เมษายน 2567 ชื่อนำหน้าในบัญชีดาวหางบ่งบอกว่าเป็นดาวหางดวงที่ ซึ่งค้นพบในปักษ์แรกของเดือนเมษายน ค.ศ. 2024 ชื่อสามัญตั้งตามผู้ค้นพบ เป็นการค้นพบจากภาพถ่ายของหอดูดาวในประเทศชิลีภายใต้โครงการแอตลัส (ATLAS ย่อมาจาก Asteroid Terrestrial-impact Last Alert System) ซึ่งเป็นโครงการค้นหาวัตถุที่อาจพุ่งชนโลก

ขณะค้นพบดาวหางอยู่ห่างขั้วฟ้าใต้เพียง 15° ตรงบริเวณเส้นแบ่งเขตกลุ่มดาวนกยูง นกการเวก และออกแทนต์  มีความสว่างน้อยมากที่โชติมาตร 18-19 ผลการคำนวณวงโคจรแสดงว่าขณะนั้นอยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ 4.7 หน่วยดาราศาสตร์ เมื่อผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในกลางเดือนมกราคม 2568 จะอยู่ห่างดวงอาทิตย์เพียง 0.0935 หน่วยดาราศาสตร์ หรือประมาณ 14 ล้านกิโลเมตร คิดเป็นระยะทางราว 20 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ วงโคจรของดาวหางเอียงทำมุม 116.8° กับระนาบวงโคจรของโลก แสดงว่าโคจรในทิศตรงกันข้ามกับโลกเมื่อมองลงมาจากด้านทิศเหนือของระนาบดังกล่าวและเบนจากแนวตั้งฉากไม่มากนัก

หลังจากค้นพบ ดาวหางแอตลัสเคลื่อนขึ้นมาทางเหนือมากขึ้น ผ่านกลุ่มดาวกางเขนใต้ คนครึ่งม้า หมาป่า และแมงป่อง ปลายเดือนธันวาคม 2567 ดาวหางอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเช้ามืด รายงานเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ดาวหางสว่างที่ราวโชติมาตร ความสว่างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามระยะทางที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น จะผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 13 มกราคม 2568 ประมาณ 17 น. ตามเวลาประเทศไทย (และเป็นวันที่ใกล้โลกที่สุด) เบื้องต้นคาดว่าช่วงที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอาจมีโชติมาตรประมาณ -5 หรือใกล้เคียงดาวศุกร์ แต่ขณะนั้นดาวหางอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก ห่างดวงอาทิตย์เพียง 5° เท่านั้น ขึ้นและตกลับขอบฟ้าพร้อมกับดวงอาทิตย์ จึงไม่สามารถสังเกตได้ภายใต้ฟ้ามืด สิ่งที่ต้องตระหนักอยู่เสมอคือการพยากรณ์ความสว่างของดาวหางมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้สูง โดยเฉพาะกับดาวหางคาบยาวหรือดาวหางไม่มีคาบอย่างดาวหางแอตลัส หากนิวเคลียสของดาวหางมีขนาดเล็ก ก็มีโอกาสที่ดาวหางจะแตกและสว่างน้อยกว่าที่คาดไว้

ช่วงวันที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวหางมีเส้นทางปรากฏในภาพถ่ายคอโรนากราฟของหอสังเกตการณ์โซโฮ จากการคำนวณผู้เขียนคาดว่าดาวหางจะเริ่มปรากฏในภาพของกล้อง LASCO C3 ในวันที่ 11 มกราคม 2568 (เวลาประมาณ น. ตามเวลาสากล หรือ 13 น. ตามเวลาประเทศไทย) และเห็นได้ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 15 มกราคม

แนวการเคลื่อนที่ของดาวหางแอตลัสในขอบเขตภาพของกล้องคอโรนากราฟบนยานโซโฮ (ตามเวลาสากล) วงกลมเส้นประกลางภาพแทนดวงอาทิตย์ที่ถูกบังไว้  (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ดาวหางแอตลัสขณะสว่างที่โชติมาตร ในภาพถ่ายเมื่อเช้ามืดวันที่ มกราคม 2568 จากออสเตรเลีย  (จาก Rob Kaufman)

การสังเกตดาวหางในเวลาเช้ามืด

การสังเกตดาวหางแอตลัสบนท้องฟ้าประเทศไทยเป็นไปได้ยาก ทั้งก่อนและหลังจากที่ดาวหางผ่านใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด เนื่องจากดาวหางมีตำแหน่งอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก ต่างกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อเทียบกับดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัสที่มาปรากฏเมื่อปี 2567 ช่วงวันที่ 6-10 มกราคม ก่อนที่ดาวหางแอตลัสจะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด เป็นช่วงที่มีโอกาสสังเกตดาวหางดวงนี้ในละติจูดของประเทศไทย หลังจากนั้นดาวหางจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้

ตลอดช่วงดังกล่าว ดาวหางปรากฏอยู่ใกล้ขอบฟ้าที่มุมเงยต่ำกว่า 10° และอยู่ท่ามกลางแสงเงินแสงทองในเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก ค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู อาจใช้ดาวพุธและดาวปาริชาตในกลุ่มดาวแมงป่องช่วยชี้ตำแหน่งของดาวหาง

ดาวหางขึ้นเหนือขอบฟ้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงประมาณ ชั่วโมงเท่านั้น จึงมีแสงอรุณรุ่งรบกวน ข้อจำกัดนี้ทำให้ต้องหาสถานที่ซึ่งขอบฟ้าด้านที่ดาวหางปรากฏไม่มีสิ่งใดบดบัง อาจต้องอยู่บนที่สูงหรือใกล้ชายฝั่งทะเลที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แม้ตัวเลขโชติมาตรจะแสดงว่าสว่างพอจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่บรรยากาศโลกที่หนาแน่นในบริเวณใกล้ขอบฟ้าจะลดทอนความสว่างของดาวหางลงมาก รวมไปถึงท้องฟ้าฉากหลังที่ไม่มืด ทำให้สังเกตดาวหางด้วยตาเปล่าได้ยาก แนะนำให้สังเกตด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ดาวหางในเวลาเช้ามืด
วันที่โชติมาตรมุมเงยเมื่อเริ่มสนธยาเดินเรือ
(ดวงอาทิตย์อยู่ใต้ขอบฟ้า 12°)
มุมเงยเมื่อเริ่มสนธยาทางการ
(ดวงอาทิตย์อยู่ใต้ขอบฟ้า 6°)
จันทร์, มกราคม2.8
อังคาร, มกราคม2.3
พุธ, มกราคม1.7
พฤหัสบดี, มกราคม1.0
ศุกร์, 10 มกราคม0.1-


 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)

ดาวหางแอตลัสปรากฏในภาพถ่ายของหอสังเกตการณ์โซโฮในช่วงวันที่ 11-15 มกราคม ตามที่ได้คาดการณ์ไว้ แม้ว่าขณะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอาจไม่ได้สว่างเท่าที่พยากรณ์แต่ดูเหมือนว่ายังคงอยู่ในสภาพดี

ดาวหางแอตลัสในภาพถ่ายคอโรนากราฟของหอสังเกตการณ์โซโฮ (จาก SOHO/ESA/NASA)

การสังเกตดาวหางในเวลาหัวค่ำ


ช่วงวันที่ 16-25 มกราคม หากดาวหางมีความสว่างในระดับที่คาดหมาย คาดว่าอาจพอสังเกตได้ในเวลาพลบค่ำ ดาวหางอยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกค่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และอยู่ใกล้ขอบฟ้าที่มุมเงยไม่เกิน 10° ในทิศทางของกลุ่มดาวแพะทะเลและปลาใต้ โดยอยู่ท่ามกลางแสงสนธยา อาจใช้ดาวศุกร์ซึ่งอยู่สูงขึ้นไปใกล้ดาวเสาร์ช่วยบอกทิศทางของดาวหาง ต้องสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกเปิดโล่งและท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆหมอกหรือฝุ่นควันรบกวน ตาเปล่าอาจสังเกตได้ยากเนื่องจากดาวหางอยู่ใกล้ขอบฟ้ามาก ควรใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์

ดาวหางในเวลาหัวค่ำ
วันที่โชติมาตรมุมเงยเมื่อสิ้นสุดสนธยาทางการ
(ดวงอาทิตย์อยู่ใต้ขอบฟ้า 6°)
มุมเงยเมื่อสิ้นสุดสนธยาเดินเรือ
(ดวงอาทิตย์อยู่ใต้ขอบฟ้า 12°)
พฤหัสบดี, 16 มกราคม-0.9-
ศุกร์, 17 มกราคม-0.2
เสาร์, 18 มกราคม0.4
อาทิตย์, 19 มกราคม1.0
จันทร์, 20 มกราคม1.4
อังคาร, 21 มกราคม1.8
พุธ, 22 มกราคม2.2
พฤหัสบดี, 23 มกราคม2.5
ศุกร์, 24 มกราคม2.8
เสาร์, 25 มกราคม3.1


 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)
 (จาก Stellarium)

แหล่งข้อมูล

 C/2024 G3 (ATLAS) Solar System Dynamics (JPL/NASA)
 C/2024 G3 (ATLAS) Seiichi Yoshida
 CBET 5384 Central Bureau for Astronomical Telegrams
 CBET 5488 Central Bureau for Astronomical Telegrams

ดูเพิ่ม

 เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
 รู้จักดาวหาง
 แผนที่ฟ้าออนไลน์ แสดงตำแหน่งดาวและวัตถุท้องฟ้าในเวลาจริง