สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกในปี 2551

ฝนดาวตกในปี 2551

30 ธันวาคม 2550
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 พฤษภาคม 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
โดยทั่วไปในสภาพท้องฟ้าที่ดีไม่มีเมฆหมอกหรือแสงไฟฝุ่นควันรบกวน เราสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว ดวงต่อชั่วโมง ในบางช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า เรียกว่าฝนดาวตก (meteor shower)

ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในอาณาบริเวณของธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงแต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตกเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ว่าดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณหนึ่งบนท้องฟ้า จุดนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) มักเรียกชี่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่ในบริเวณจุดกระจายฝนดาวตก ตารางด้านล่างแสดงฝนดาวตกกลุ่มสำคัญในรอบปีซึ่งส่วนใหญ่มีแสงจันทร์รบกวน

ฝนดาวตกที่น่าดูในปีนี้คือฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ ("อีตา" มาจากอักษรกรีก) จุดกระจายฝนดาวตกอยู่ใกล้ดาวอีตาคนแบกหม้อน้ำในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ต้นกำเนิดของฝนดาวตกชุดนี้มาจากดาวหางฮัลเลย์ ส่วนฝนดาวตกเพอร์ซิอัสจะมีแสงจันทร์รบกวนในช่วงก่อน 2.30 น.

ฝนดาวตกในปี 2551
ชื่อคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น (โดยประมาณ)อัตราสูงสุดในภาวะอุดมคติ (ดวง/ชั่วโมง)อัตราสูงสุดในประเทศไทย (ดวง/ชั่วโมง)หมายเหตุ
ควอดแดรนต์3/4 ม.ค.2.00 น.120 (อาจอยู่ระหว่าง 60-200)30-90-
พิณ21/22 เม.ย.22.00 น.18 (อาจมากถึง 90)10แสงจันทร์รบกวน
อีตาคนแบกหม้อน้ำ5/6 พ.ค.2.00 น.70 (อาจอยู่ระหว่าง 40-85)20-40-
เดลตาคนแบกหม้อน้ำ27/28 ก.ค.21.00 น.2015แสงจันทร์รบกวนหลัง 1.30 น.
เพอร์ซิอัส12/13 ส.ค.22.00 น.10060แสงจันทร์รบกวนก่อน 2.30 น.
นายพราน20/21 ต.ค..23.00 น.2510-15แสงจันทร์รบกวน
สิงโต17/18 พ.ย.00.30 น.1510-15แสงจันทร์รบกวน
คนคู่12/13 ธ.ค.20.00 น.120100แสงจันทร์รบกวน


หมายเหตุ
 ตัวเลขสำหรับสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท หากมีแสงจันทร์และมลพิษทางแสงรบกวนจะมีจำนวนดาวตกที่เห็นลดลงจากค่าในตารางนี้
 คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมาย ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ ต่อเช้ามืดวันที่ 4
 ดัดแปลงจากตารางฝนดาวตกประจำปีเผยแพร่โดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization IMO)