ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส 2547
เดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีฝนดาวตกสำคัญกลุ่มหนึ่ง ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseid Meteor Shower) เป็นฝนดาวตกที่ติดกลุ่มในจำนวนฝนดาวตกที่น่าดูที่สุดในรอบปี เพราะมีอัตราการเกิดดาวตกค่อนข้างถี่ ดาวหางที่ให้กำเนิดฝนดาวตกกลุ่มนี้คือ ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล ดาวหางที่มีคาบยาวนานราว 130 ปี
ช่วงที่ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิลกลับมาเยือนโลกเมื่อปลายปีพ.ศ. 2535 ได้ทำให้เกิดฝนดาวตกเพอร์ซิอัสจำนวนมากในปี 2534 และ 2535 ด้วยอัตราสูงกว่า 400 ดวงต่อชั่วโมง ส่วนปี 2536 และ 2537 มีจำนวนลดลงเป็น 300 และ 220 ดวงต่อชั่วโมง ตามลำดับ หลังจากนั้นก็มีจำนวนดาวตกขณะที่มีอัตราสูงสุดอยู่ในราว 100-160 ดวงต่อชั่วโมง
สำหรับในประเทศไทยอาจไม่ค่อยได้มีโอกาสมองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมากนักเนื่องจากอยู่ในฤดูมรสุม ยกเว้นบางปีที่ท้องฟ้าเปิด และหากท้องฟ้าอำนวย ปี 2547 นี้อาจเป็นปีที่สามารถมองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสได้ดีเนื่องจากไม่มีแสงจันทร์รบกวนมากนัก การศึกษาของนักวิจัยเรื่องดาวตกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอสโค ลือทิเนน ที่สร้างแบบจำลองติดตามพฤติกรรมของสะเก็ดดาวที่หลุดออกมาจากดาวหางต้นกำเนิด คาดว่าฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอาจมีอัตราสูงสุดที่อย่างน้อย 100 ดวงต่อชั่วโมง ในเวลาประมาณ 4.00 น. ของคืนวันที่ 11 สิงหาคม ซึ่งตรงกับเช้ามืดของวันที่ 12 สิงหาคม (ประเทศไทยอาจเห็นในอัตราสูงสุดที่ประมาณ 1 ดวงต่อนาที)
ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางผ่านเส้นทางวงโคจรของฝูงสะเก็ดดาวสะเก็ดดาวเหล่านี้มีกำเนิดจากดาวหางที่เดินทางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ รังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้ผิวดาวหางระเหิดปลดปล่อยแก๊สและฝุ่นออกมาในอวกาศ สะเก็ดดาวที่หลุดออกมาจากดาวหางยังคงล่องลอยอยู่ตามเส้นทางวงโคจรของดาวหางดวงนั้น และความร้อนที่เกิดขึ้นเมื่อสะเก็ดดาวเข้าสู่บรรยากาศโลก จะทำให้โมเลกุลอากาศแตกตัว คายพลังงานในรูปของแสงสว่าง ทำให้เราเห็นเป็นดาวตกในระยะเวลาสั้นๆ การสังเกตการณ์ดาวตกโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดาราศาสตร์ใดๆ เพียงใช้เก้าอี้ผ้าใบหรือนอนดูแล้วมองขึ้นไปในท้องฟ้า
หากทำการบันทึกแนวเส้นทางของดาวตกแล้วลากเส้นย้อนกลับให้เลยออกไปจากแนวดาวตกที่มองเห็นจะพบว่าดาวตกส่วนใหญ่มีแนวการเคลื่อนที่มาจากจุดๆ หนึ่งในท้องฟ้า จุดนั้นเรียกว่า "จุดกระจายดาวตก (radiant)" ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีตำแหน่งของจุดกระจายดาวตกอยู่ในกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส ซึ่งจะขึ้นจากขอบฟ้าในเวลาประมาณ 23.00 น. (ซึ่งก็คือเวลาที่เริ่มมองเห็นดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัส) และเคลื่อนสูงขึ้นในท้องฟ้าในช่วงเวลาก่อนเช้ามืด กลุ่มดาวนี้อยู่ใกล้ ๆ กับกลุ่มดาวแคสซิโอเปียในซีกฟ้าเหนือ
และสามารถพบลูกไฟ (ดาวตกที่สว่างมาก) ได้เกือบครึ่งหนึ่งของดาวตกทั้งหมด
●ดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีอัตราเร็วประมาณ59 กิโลเมตรต่อวินาที ช้ากว่าฝนดาวตกสิงโตที่เกิดในเดือนพฤศจิกายน
●ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีปริมาณดาวตกที่เห็นได้น้อยกว่าฝนดาวตกสิงโตที่เกิดในปี2544 จึงไม่ควรคาดหวังว่าจะเห็นดาวตกจำนวนมากเช่นนั้น
ช่วงที่ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิลกลับมาเยือนโลกเมื่อปลายปี
สำหรับในประเทศไทย
ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางผ่านเส้นทางวงโคจรของฝูงสะเก็ดดาว
หากทำการบันทึกแนวเส้นทางของดาวตกแล้วลากเส้นย้อนกลับให้เลยออกไปจากแนวดาวตกที่มองเห็น
ข้อมูลเพิ่มเติม
●ดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสส่วนใหญ่มีสีขาว-เหลือง●ดาวตกจากฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีอัตราเร็วประมาณ
●ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีปริมาณดาวตกที่เห็นได้น้อยกว่าฝนดาวตกสิงโตที่เกิดในปี