สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฝนดาวตกในปี 2555

ฝนดาวตกในปี 2555

26 ธันวาคม 2555
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เรามีโอกาสเห็นดาวตกได้ทุกคืน แสงของดาวตกเกิดจากการที่สะเก็ดดาว (meteoroid) ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว ดวงต่อชั่วโมง ดาวตกที่สว่างมาก ๆ เรียกว่าลูกไฟ (fireball)

เส้นทางที่สะเก็ดดาวจำนวนมากเคลื่อนที่เป็นสายไปในแนวเดียวกันในอวกาศเรียกว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) แรงโน้มถ่วงของวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดาวเคราะห์ ส่งผลรบกวนต่อธารสะเก็ดดาว เมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาว ซึ่งเกิดขึ้นหลายช่วงของปี จะทำให้เห็นดาวตกหลายดวงดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า (เป็นมุมมองในเชิงทัศนมิติ ลักษณะเดียวกับที่เราเห็นรางรถไฟบรรจบกันที่ขอบฟ้า) เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าฝนดาวตก (meteor shower) ในรอบปีมีฝนดาวตกหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะและจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมง แต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตก

ดาวตก (ภาพ Navicore/Wikimedia Commons) 

ดาวตกจากฝนดาวตกสามารถปรากฏในบริเวณใดก็ได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นย้อนไปตามแนวของดาวตก จะไปบรรจบกันที่จุดหนึ่ง เรียกจุดนั้นว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ชี่อฝนดาวตกมักตั้งตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่บริเวณจุดกระจายนี้ แสงจันทร์และแสงจากตัวเมืองเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตดาวตก จึงควรหาสถานที่ที่ฟ้ามืด ยิ่งฟ้ามืดก็จะยิ่งมีโอกาสเห็นดาวตกมากขึ้น

การสังเกตดาวตกด้วยตาเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ต้องมีอุปกรณ์ใด ๆ เพียงแต่ต้องเตรียมตัวรับกับสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมตามสถานการณ์ ก่อนสังเกตดาวตกต้องรอให้ดวงตาของเราชินกับความมืดเสียก่อนซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที นอกจากการสังเกตด้วยตาเปล่า นักดาราศาสตร์ยังใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา การถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ และการสังเกตด้วยคลื่นวิทยุ แม้ว่าขอบเขตภาพของกล้องโทรทรรศน์และกล้องสองตาจะแคบกว่าการดูด้วยตาเปล่า แต่ก็ช่วยให้มองเห็นดาวตกที่จาง ๆ ได้ และมักใช้หาตำแหน่งที่แม่นยำของจุดกระจาย

ภาพถ่ายดาวตกช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณตำแหน่งที่แม่นยำของมันได้ เลนส์ปกติมีศักยภาพในการจับภาพดาวตกที่สว่างกว่าโชติมาตร ภาพดาวตกดวงเดียวกันจากจุดสังเกตการณ์หลายจุด สามารถใช้คำนวณหาเส้นทางการโคจรของสะเก็ดดาวในอวกาศ การบันทึกภาพดาวตกด้วยกล้องถ่ายวิดีโอก็ใช้ในการศึกษาดาวตกด้วยเช่นกัน แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความเข้มของแสง

ควันค้าง (persistent train) คือ ปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนควันลอยค้างบนท้องฟ้าตรงจุดที่ดาวตกหายวับไป ศัพท์คำนี้ยังไม่มีการใช้แพร่หลายในภาษาไทย จึงขอเรียกว่าควันค้างตามลักษณะที่ปรากฏไปพลางก่อน ควันค้างเกิดจากการเรืองแสงในบรรยากาศชั้นบน โดยมีดาวตกเป็นตัวการทำให้โมเลกุลในบรรยากาศแตกตัวเป็นไอออน ความเข้มและอายุของควันค้างขึ้นอยู่กับขนาด องค์ประกอบ และความเร็วของดาวตก ลูกไฟซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่มักก่อให้เกิดควันค้างอยู่อย่างนั้นนานหลายนาที ก่อนจะเปลี่ยนรูปร่าง จางลง และสลายตัวไปในที่สุด

ฝนดาวตกในปี 2555
ฝนดาวตกช่วงที่ตกคืนที่มีมากที่สุดเวลาที่เริ่มเห็น (ประมาณ)อัตราสูงสุดในภาวะอุดมคติ (ดวง/ชั่วโมง)อัตราสูงสุดในประเทศไทย (ดวง/ชั่วโมง)หมายเหตุ
ควอดแดรนต์28 ธ.ค. 12 ม.ค.3/4 ม.ค.02:00 น.120 (60-200)20-
พิณ16-25 เม.ย.21/22 เม.ย.22:00 น.1810-15-
อีตาคนแบกหม้อน้ำ19 เม.ย. 28 พ.ค.4/5 พ.ค.02:00 น.70 (40-85)20-30แสงจันทร์รบกวน
เดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้12 ก.ค. 23 ส.ค.28/29/30 ก.ค.21:00 น.1610แสงจันทร์รบกวนก่อนตี 2
เพอร์ซิอัส17 ก.ค. 24 ส.ค.12/13 ส.ค.22:30 น.10040-50แสงจันทร์รบกวนหลังตี 2
นายพรานต.ค. พ.ย.20/21/22 ต.ค.22:30 น.2520แสงจันทร์รบกวนก่อนเที่ยงคืน
สิงโต6-30 พ.ย.16/17/18 พ.ย.00:30 น.10-2010-15-
คนคู่7-17 ธ.ค.13/14 ธ.ค.20:00 น.12090-100-


หมายเหตุ
ภาวะอุดมคติหมายถึงจุดกระจายฝนดาวตกอยู่ที่จุดเหนือศีรษะและท้องฟ้ามืดจนเห็นดาวได้ถึงโชติมาตร +6.5
คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมายทับ (/) ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ ถึงเช้ามืดวันที่ 4
ตัวเลขอัตราตกสูงสุดในประเทศไทยคิดผลจากแสงจันทร์รบกวนแล้ว แต่ยังไม่คิดผลจากมลพิษทางแสง การสังเกตดาวตกในเมืองใหญ่จะมีจำนวนดาวตกลดลงจากตัวเลขในตารางนี้หลายเท่า
ดัดแปลงจากข้อมูลฝนดาวตกโดยองค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization IMO) และ Meteor Shower Flux Estimator โดย Peter Jenniskens

ฝนดาวตกควอดแดรนต์ (Quadrantids อักษรย่อ QUA)

ฝนดาวตกควอดแดรนต์เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม-12 มกราคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันพุธที่ มกราคม 2555 เป็นช่วงครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างค่อนดวงตกลับขอบฟ้าไปตั้งแต่เวลาประมาณตี ซึ่งเป็นเวลาที่จุดกระจายฝนดาวตกเริ่มขึ้นมาที่ขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนต์ (Quadrans Muralis) ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเก่า ปัจจุบันไม่มีแล้ว จุดกระจายดาวตกอยู่บริเวณตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส คนเลี้ยงสัตว์ และมังกร ฝนดาวตกควอดแดรนต์มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 3-4 มกราคม ของทุกปี ประเทศที่เห็นฝนดาวตกกลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือประเทศในละติจูดสูง ๆ ของซีกโลกเหนือ

นักดาราศาสตร์ค้นพบฝนดาวตกควอดแดรนต์เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ไม่พบว่าวัตถุใดคือต้นกำเนิด จนกระทั่ง ค.ศ. 2003 เมื่อมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช (2003 EH1) ซึ่งวงโคจรใกล้เคียงกับดาวตกที่มาจากฝนดาวตกกลุ่มนี้ และยังพบว่ามันอาจเป็นชิ้นส่วนหรือเป็นวัตถุเดียวกับดาวหางซี/1490 วาย (C/1490 Y1) ที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปลาย ค.ศ. 1490

อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติของฝนดาวตกควอดแดรนต์สูงถึง 120 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 60-200) แต่มีช่วงเวลาสั้น แสดงว่าธารสะเก็ดดาวค่อนข้างแคบมาก ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ มกราคม เวลา 14:20 น. จากเวลานี้ คาดว่าพื้นที่ที่สังเกตฝนดาวตกควอดแดรนต์ได้ดีที่สุดคือแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเหนือ กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ และด้านตะวันตกสุดของยุโรป ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ตี โดยอัตราตกจะต่ำมากในช่วงแรก หลังจากนั้นค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เวลาที่น่าจะเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:30 05:30 น. ภายใต้ฟ้ามืดและไร้เมฆ ใน ชั่วโมงนี้อาจนับได้ราว 20 ดวง

ฝนดาวตกพิณ (Lyrids อักษรย่อ LYR)

ฝนดาวตกพิณเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16-25 เมษายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 21 เมษายน ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555 ซึ่งตรงกับช่วงจันทร์ดับ

ฝนดาวตกพิณตั้งชื่อตามกลุ่มดาวพิณ (Lyra) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 21-22 เมษายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 18 ดวงต่อชั่วโมง (เคยสูงถึง 90 ในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อ พ.ศ. 2525) ค้นพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดของฝนดาวตกพิณคือดาวหางแทตเชอร์ (C/1861 G1 Thatcher) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 415 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2404 นักดาราศาสตร์ค้นพบใน ปีต่อมาว่าตำแหน่งที่โลกอยู่ ณ วันที่ 20 เมษายน ของทุกปี เป็นตำแหน่งที่วงโคจรของดาวหางอยู่ห่างจากโลกเพียง 0.002 หน่วยดาราศาสตร์ หลังจากนั้นได้พบหลักฐานในบันทึกของจีน กล่าวถึงฝนดาวตกพิณเมื่อ 687 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 22 เมษายน เวลา 12:30 น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในอดีตแสดงว่าเวลาอาจเร็วหรือช้ากว่านั้นได้ โดยอยู่ในช่วง 04:30 15:30 น. ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ ทุ่ม โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืดวันที่ 22 เมษายน น่าจะเห็นดาวตกได้ด้วยอัตรา 10-15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำ (Eta Aquariids อักษรย่อ ETA)

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 เมษายน 28 พฤษภาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในช่วงเช้ามืดวันเสาร์ที่ พฤษภาคม 2555 ซึ่งตรงกับปลายข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง จึงมีแสงจันทร์รบกวน

ฝนดาวตกอีตาคนแบกหม้อน้ำตั้งชื่อตามดาวอีตา (η) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 4-5 พฤษภาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 70 ดวงต่อชั่วโมง (แปรผันได้ระหว่าง 40-85) ต้นกำเนิดคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529 ดาวหางแฮลลีย์ทำให้เกิดฝนดาวตกอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนตุลาคมด้วย

ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ พฤษภาคม เวลาประมาณ น. จากเวลานี้ พื้นที่ที่สังเกตได้ดีที่สุดคือกลางมหาสมุทรแปซิฟิก (แต่มีแสงจันทร์รบกวน) สำหรับประเทศไทย จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาตี เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 04:00 05:00 น. หากท้องฟ้าโปร่งอาจนับได้ราว 20-30 ดวง โดยพยายามหันหลังให้ดวงจันทร์ หรือเลือกตำแหน่งที่มีอาคารบ้านเรือนหรือต้นไม้บังทิศที่ดวงจันทร์อยู่ เพื่อไม่ให้แสงจันทร์เข้าตา

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ (Southern Delta-Aquariids อักษรย่อ SDA)

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 12 กรกฎาคม 23 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดใน คืน ได้แก่คืนวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งตรงกับครึ่งหลังของข้างขึ้น ดวงจันทร์มีส่วนสว่างมากกว่าครึ่งดวง

ฝนดาวตกเดลตาคนแบกหม้อน้ำใต้ตั้งชื่อตามดาวเดลตา (δ) ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) มีจำนวนสูงสุดราววันที่ 29-30 กรกฎาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 16 ดวงต่อชั่วโมง ค้นพบเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต้นกำเนิดคือดาวหางมัคโฮลซ์ (96P/Machholz) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ ปี ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2529 เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2550 ปีนี้ดาวหางมัคโฮลซ์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในกลางเดือนกรกฎาคม ดาวตกจากฝนดาวตกกลุ่มนี้มีความสว่างน้อย เมื่อเทียบกับฝนดาวตกกลุ่มหลักกลุ่มอื่น 

ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกกลุ่มนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณ ทุ่ม อัตราตกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น คาดว่าเวลาตี ถึงก่อนฟ้าสาง (ของทั้ง คืน) น่าจะเห็นดาวตกได้ราว 10 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส (Perseids อักษรย่อ PER)

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม 24 สิงหาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2555 ซึ่งเป็นครึ่งหลังของข้างแรม แสงจันทร์เริ่มรบกวนตั้งแต่ประมาณตี แต่ไม่มากนักเนื่องจากดวงจันทร์เป็นเสี้ยว

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสหรือฝนดาวตกวันแม่ เป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในละติจูดสูง ๆ ทางเหนือ ซึ่งจุดกระจายดาวตกจะขึ้นไปอยู่สูงเกือบกลางฟ้าในเวลาเช้ามืด อัตราการเกิดดาวตกสูงถึงกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง และเกิดในฤดูร้อนซึ่งท้องฟ้าโปร่ง แต่การสังเกตฝนดาวตกกลุ่มนี้ในประเทศไทยมักพบอุปสรรคจากเมฆเพราะเป็นฤดูฝน

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ดาวหางดวงนี้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี จุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างกลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกับแคสซิโอเปีย เริ่มเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ ทุ่มครึ่ง แต่ยังมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายดาวตกอยู่สูงซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด

ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในช่วงเวลาตั้งแต่ 14 น. ของวันที่ 12 สิงหาคม ถึง น. ของวันที่ 13 สิงหาคม ประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ ทุ่มครึ่ง โดยอัตราตกค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เมื่อสังเกตตั้งแต่เวลาตี เป็นต้นไปของเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม คาดว่าอัตราตกอยู่ที่ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง, เช้ามืดวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม อัตราตกสูงสุดที่ 40-50 ดวงต่อชั่วโมง, และเช้ามืดวันอังคารที่ 14 สิงหาคม ลดลงไปที่ 30 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกนายพราน (Orionids อักษรย่อ ORI)

ฝนดาวตกนายพรานเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ตุลาคม พฤศจิกายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม ถึงเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม 2555 และคืนวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม ถึงเช้ามืดวันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม 2555 ซึ่งตรงกับข้างขึ้น ดวงจันทร์สว่างครึ่งดวง รบกวนการดูดาวตกก่อนเที่ยงคืน

ฝนดาวตกนายพรานตั้งชื่อตามกลุ่มดาวนายพราน (Orion) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 25 ดวงต่อชั่วโมง (ช่วง พ.ศ. 2549 2552 อัตราตกได้เพิ่มสูงผิดปกติไปอยู่ที่ 40-70 ดวงต่อชั่วโมงติดต่อกัน หรือ วัน) ต้นกำเนิดฝนดาวตกนายพรานคือดาวหางแฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 76 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2529

ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในวันที่ 21 ตุลาคม จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่มครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 03:00 05:00 น. โดยคาดว่าอัตราตกทั้ง วันในช่วงเวลาดังกล่าวอาจอยู่ที่ 20 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกสิงโต (Leonids อักษรย่อ LEO)

ฝนดาวตกสิงโตเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 6-30 พฤศจิกายน เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในเช้ามืดวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน และเช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งตรงกับข้างขึ้นอ่อน ๆ ดวงจันทร์เป็นเสี้ยวอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ จึงไม่รบกวนการดูดาวตก

ฝนดาวตกสิงโตตั้งชื่อตามกลุ่มดาวสิงโต (Leo) มีอัตราตกสูงสุดราววันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปี อัตราตกสูงสุดในภาวะอุดมคติอยู่ที่ 10-20 ดวงต่อชั่วโมง ต้นกำเนิดฝนดาวตกสิงโตคือดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) เป็นดาวหางที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบประมาณ 120 ปี เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2541 ธารสะเก็ดดาวของฝนดาวตกสิงโตมีหลายสาย ทำให้บางปีมีอัตราตกสูงมาก สำหรับปีนี้โลกไม่ได้ผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวที่สำคัญ คาดว่าไม่น่าจะมีอัตราตกสูงเกินกว่าระดับปกติ

ปีนี้โลกจะผ่านระนาบวงโคจรของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลในวันที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 16:30 น. จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลาเที่ยงคืนครึ่ง เวลาที่มีโอกาสเห็นดาวตกได้มากที่สุดคือช่วง 03:00 05:00 น. ภายใต้ท้องฟ้ามืดและปราศจากเมฆหมอกรบกวน คาดว่าอัตราตกทั้ง วันในช่วงเวลาดังกล่าวจะอยู่ที่ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids อักษรย่อ GEM)

ฝนดาวตกคนคู่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-17 ธันวาคม เมื่อสังเกตจากประเทศไทยคาดว่าจะมีมากที่สุดในคืนวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม ถึงเช้ามืดวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2555 ซึ่งเป็นคืนเดือนมืดตรงกับจันทร์ดับ ฝนดาวตกคนคู่เกิดในฤดูหนาวที่ท้องฟ้าเปิดเป็นส่วนใหญ่และมีจำนวนมากหลายสิบดวงต่อชั่วโมง หากไม่มีฝนหลงฤดู ปีนี้เป็นปีที่ดีมากปีหนึ่งในการสังเกตฝนดาวตกคนคู่

ฝนดาวตกคนคู่ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวคนคู่ (Gemini) จุดกระจายดาวตกอยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ ตกสูงสุดราววันที่ 13-15 ธันวาคม ของทุกปี ด้วยอัตราตกในภาวะอุดมคติที่ 120 ดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกคนคู่เกิดจากดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) ซึ่งคาดว่าเคยเป็นดาวหางมาก่อน

ปีนี้คาดว่าโลกจะผ่านใกล้ธารสะเก็ดดาวในขณะใดขณะหนึ่ง ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม เวลา 14 น. ถึงวันที่ 14 ธันวาคม เวลา 11 น. กราฟอัตราการเกิดดาวตกอยู่ใกล้จุดสูงสุดเป็นเวลานานเกือบ วัน ทำให้สามารถสังเกตฝนดาวตกคนคู่ในอัตราสูงได้เกือบทั่วทุกลองจิจูดบนโลก จุดกระจายขึ้นมาเหนือขอบฟ้าในเวลา ทุ่ม หลังจากนั้นอัตราตกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จากการคำนวณคาดว่าน่าจะสูงเกิน 60 ดวงต่อชั่วโมงตั้งแต่เวลา ทุ่ม และสูงที่สุดในช่วง 02:00 04:00 น. โดยอัตราตกสูงสุดอยู่ที่ 90-100 ดวงต่อชั่วโมง ภายใต้ท้องฟ้ามืดและปราศจากเมฆหมอกรบกวน หากสังเกตหลังจากนั้น วัน คือในคืนวันศุกร์ถึงเช้ามืดวันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม อัตราตกในช่วงเวลาเดียวกัน (ตี ตี 4) จะลดลงเหลือราว 30 ดวงต่อชั่วโมง