สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แคสซีนีเผยภาพดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ระยะใกล้

แคสซีนีเผยภาพดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ระยะใกล้

11 มี.ค. 2560
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
มันคืออะไร ฮะเก๋า ขนมผิง ขนมไข่ ซาละเปา หรือว่าจานบิน?

ไม่ใช่ทั้งนั้น นี่คือดวงจันทร์แพน ดวงจันทร์ดวงหนึ่งของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ มีนาคมที่ผ่านมาขณะที่อยู่ห่าง 24,572 กิโลเมตร 

ดวงจันทร์แพน ถูกค้นพบในปี 2533 โดย มาร์ก อาร์. โชวอลเทอร์ จากคลังภาพถ่ายที่ถ่ายโดยยานวอยเอเจอร์ โคจรอยู่ในช่องแบ่งเองเคอ (Encke Gap)

นี่เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ได้เห็นรูปร่างของดวงจันทร์ดวงนี้ชัด ๆ ดวงจันทร์ดวงนี้มีขนาด 35 กิโลเมตร ตัวดวงมีรูปร่างคล้ายก้อนกรวดเบี้ยว ๆ มีรอยขูดขีด แต่ที่ชวนพิศวงที่สุดคือ มีสิ่งที่คล้ายกับครีบล้อมรอบ นักดาราศาสตร์คาดว่า "ครีบ" นี้ประกอบด้วยฝุ่นทั้งหมด

แพนไม่ใช่ดวงจันทร์เพียงดวงเดียวของดาวเสาร์ที่มีรูปร่างประหลาดชวนพิศวง ดวงจันทร์ไอยาพิตัส ก็เป็นอีกดวงหนึ่งที่มีรูปร่าง มีสันเขาปูดโปนออกมาเด่นชัดจนเหมือนลูกวอลนัต พื้นผิวยังมีสีขาวด้านหนึ่งและดำอีกด้านหนึ่งตัดกันราวกับสัญลักษณ์หยินหยาง  ดวงจันทร์ไมมัส ดวงจันทร์ขนาด 395 กิโลเมตร มีหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ถึงหนึ่งในสามของดวงจันทร์เอง จึงดูคล้ายกับ เดทสตาร์ จากภาพยนต์เรื่องสตาร์วอร์อย่างเหลือเชื่อ ดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ มีบรรยากาศหนาแน่น ซ้ำยังมีทะเลบนพื้นผิว เพียงแต่ของเหลวในทะเลนั้นคือไฮโดรคาร์บอน ไม่ใช่น้ำ ดวงจันทร์เอนเซลาดัสมีทั้งมหาสมุทรใต้พิภพ มีทั้งน้ำพุร้อนที่พ่นไอน้ำที่มีส่วนผสมของโมเลกุลอินทรีย์

ดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560

ดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 (จาก NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute )

ดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560

ดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 (จาก NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute)

ดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560

ดวงจันทร์แพนของดาวเสาร์ ถ่ายโดยยานแคสซีนีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 (จาก NASA/JPL-Caltech/Space Science Institute)

ที่มา: