เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม มีรายงานว่า ดาวเทียมอินเทลแซต 33 อี (Intelsat 33e) พลังงานตกอย่างไม่ทราบสาเหตุ หลังจากนั้นอีกไม่กี่ชั่วโมงก็มีการตรวจพบว่าดาวเทียมดวงนี้เริ่มแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 ชิ้น
อินเทลแซต33 อี เป็นดาวเทียมสื่อสาร มีวงโคจรอยู่สูงจากพื้นดิน 35,000 กิโลเมตรเหนือเส้นศูนย์สูตรบริเวณมหาสมุทรอินเดีย อุบัติเหตุครั้งนี้จึงส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ในยุโรป แอฟริกากลาง ตะวันออกกลาง เอเชีย และออสเตรเลีย
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงสาเหตุการแตกของดาวเทียมดวงนี้และทางอินเทลแซตเจ้าของดาวเทียมก็เริ่มดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุแล้ว
ดาวเทียมอินเทลแซต33 อี สร้างโดยบริษัทโบอิ้ง ขึ้นสู่ท้องฟ้าในเดือนสิงหาคม 2559 ดาวเทียมดวงนี้ส่ออาการไม่ค่อยดีตั้งแต่เริ่มเข้าประจำการเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับจรวดทรัสเตอร์หลักของดาวเทียม ทำให้ดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรช้ากว่ากำหนดถึงสามเดือน แม้หลังเข้าสู่วงโคจรแล้วก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับทรัสเตอร์อยู่ ทำให้ใช้พลังงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้อายุงานของดาวเทียมสั้นลง 3.5 ปี
แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือปัญหาที่เกิดขึ้นได้เพิ่มปริมาณของขยะอวกาศในวงโคจรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งนับวันจะเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นทุกที เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีใช้อวกาศมากขึ้น สภาพแวดล้อมเหนือบรรยากาศของโลกจึงแออัดขึ้นทุกวัน
องค์การอวกาศยุโรปหรืออีซาได้ประเมินว่าปัจจุบันมีขยะอวกาศประมาณ 40,000 ชิ้นที่ใหญ่กว่า 10 เซนติเมตร ส่วนขยะชิ้นที่เล็กกว่า 1 เซนติเมตรอาจมีมากกว่า 130 ล้านชิ้น
ปัจจุบันมีสิ่งประดิษฐ์มนุษย์โคจรรอบโลกคิดเป็นน้ำหนักรวมกันราว13,000 ตัน หนึ่งในสามของจำนวนนี้คือ ขยะอวกาศ ซึ่งส่วนใหญ่คือส่วนประกอบของจรวดที่ทิ้งไว้
การติดตามและจำแนกขยะอวกาศเป็นเรื่องยากมากโดยเฉพาะขยะที่เกิดกับดาวเทียมค้างฟ้าอย่างอินเทลแซตซึ่งมีระดับความสูงกว่า 30,000 กิโลเมตร ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีปัจจุบันติดตามได้เพียงชิ้นใหญ่เท่านั้น
ปัญหาครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดาวเทียมรีเซอร์ส-พี 1 ก็แตกออกในวงโคจรที่ระดับความสูง 470 กิโลเมตร สร้างขยะอวกาศที่ติดตามได้ไม่น้อยกว่า 100 ชิ้น และคาดว่ายังมีชิ้นเล็กที่ติดตามไม่ได้อีกเป็นจำนวนมาก ในเดือนกรกฎาคม ดาวเทียม 5 ดี-2 เอฟ 8 ที่ปลดระวางไปแล้วก็แตกออก ต่อมาในเดือนสิงหาคม จรวดตอนบนของจรวดลองมาร์ช 6 เอ ของจีน ก็แตกออกในอวกาศ สร้างขยะอวกาศที่ติดตามได้ไม่น้อยกว่า 283 ชิ้น และคาดว่ายังมีชิ้นเล็กที่ติดตามไม่ได้อีกนับแสนชิ้น
อินเทลแซต
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานถึงสาเหตุการแตกของดาวเทียมดวงนี้
ดาวเทียมอินเทลแซต
แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ
องค์การอวกาศยุโรปหรืออีซาได้ประเมินว่า
ปัจจุบันมีสิ่งประดิษฐ์มนุษย์โคจรรอบโลกคิดเป็นน้ำหนักรวมกันราว
การติดตามและจำแนกขยะอวกาศเป็นเรื่องยากมาก
ปัญหาครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก