สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ลงแตะพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยอีรอส

19 กุมภาพันธ์ 2544 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 18 กันยายน 2565
ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ ยานอวกาศมูลค่า 224 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติภารกิจในการสำรวจดาวเคราะห์น้อยอีรอส (433 Eros) มาเป็นเวลานาน ปีเต็ม กำลังจะลงแตะพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยในคืนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ หรือเช้าของวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้ เวลาประมาณ 3.00 น. นับเป็นการร่อนลงจอดบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยโดยยานอวกาศที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2539 และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยอีรอสตั้งแต่วันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ ของปีที่แล้ว ภารกิจที่ดำเนินมาเกือบ ปี กำลังจะสิ้นสุดลงเนื่องจากโครงการขาดทุนสนับสนุน แต่ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น คือ เชื้อเพลิงสำรองของยานกำลังจะหมด

"เราสนุกมากกับปีที่ผ่านมา และสามารถบรรลุเป้าหมายหลักทางวิทยาศาสตร์ได้ทั้งหมด แต่สิ่งดี ๆ เหล่านี้ต้องถึงวันสิ้นสุด และภารกิจของเรากำลังจะเสร็จสิ้นในวันนี้" ดร. โรเบิร์ต ฟาร์คูฮาร์ ผู้อำนวยการของภารกิจเนียร์ แห่งห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปคินส์กล่าว

ผู้ควบคุมเนียร์ตกลงใจที่จะพยายามนำยานร่อนลงสู่พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้านอวกาศของโลกเพื่อถ่ายภาพของก้อนหินบนดาวเคราะห์น้อย หากสำเร็จจะได้ภาพที่ละเอียดกว่าภาพที่ได้จากวงโคจรที่อยู่สูงขึ้นไป ความหวังที่จะควบคุมการลงจอดของยานบนดาวเคราะห์น้อย นับเป็นการท้าทายอย่างมากต่อศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน แม้ว่ายานเนียร์ไม่ได้ถูกออกแบบให้ลงจอดบนพื้นผิวเลยก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หวังว่าภาพระยะใกล้ของดาวเคราะห์น้อยจะละเอียดกว่าภาพที่ถ่ายจากวงโคจรราว 5-10 เท่า โดยยานจะถ่ายภาพ ภาพทุก ๆ นาทีขณะที่กำลังตกลงสู่ดาวเคราะห์น้อย โดยภาพเหล่านี้จะส่งกลับมายังโลกเกือบจะทันที

ตำแหน่งลงจอดของยานเนียร์ชูเมกเกอร์บนดาวเคราะห์น้อยอีรอส ภาพใหญ่คือบริเวณที่วงด้วยสีเหลือง ซึ่งเป็นขอบของแอ่งชื่อ ฮิเมอรอส (ภาพจาก JHU-APL) 

ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ ถูกปลดออกจากวงโคจรที่ความสูง 35 กิโลเมตร เพื่อลงสู่พื้นผิวดาว (ภาพจาก JHU-APL)
 


ความสูงจากผิวดาวเคราะห์น้อยของยานเนียร์ชูเมกเกอร์ขณะลงจอด (ภาพจาก JHU-APL) 

"เราบรรลุเป้าหมายแรกในการสำรวจดาวเคราะห์น้อยแล้ว เป้าหมายที่สองของเรา คือ พยายามที่จะนำยานลงสู่พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยอย่างนุ่มนวล ซึ่งยานเนียร์จะมีอัตราเร็วระหว่าง 1-3 เมตรต่อวินาที หรือประมาณ 2-7 ไมล์ต่อชั่วโมง (4-11 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) อัตราเร็วระดับนี้ดูเหมือนช้ามากแต่ผมมีประสบการณ์การตกลงด้วยอัตราเร็วราว ๆ นี้ตอนที่เป็นพลร่ม และจากการกระโดดร่มในสมัยสงครามโลกครั้งที่ คุณจะตกลงสู่พื้นดินด้วยอัตราเร็วประมาณ ไมล์ต่อชั่วโมง หลังจากที่ถูกเหวี่ยงไปมา ดังนั้นผมรู้ว่ามันเป็นการร่อนลงที่ไม่ง่ายเลย" ฟาร์คูฮาร์กล่าว

ภาพเคลื่อนไหว จำลองการลงจอด (JHU-APL)
 


หนึ่งในภาพแรก ๆ หลังจากการจุดจรวด (ภาพจาก JHU-APL) 


ดร.โรเบิร์ต กล่าวถึงการร่อนลงของยานเนียร์ในวันนี้ว่า "เราจะปลดยานออกจากวงโคจรด้วยการจุดจรวดเป็นเวลา ชั่วโมงครึ่งก่อนที่ยานจะแตะพื้นผิว หลังจากนั้นยานจะค่อยๆ เข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย นับจากนี้ไปอีกราว ชั่วโมง ยานจะอยู่เหนือพื้นผิวดาวที่ระดับความสูง กิโลเมตร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เราจะทำการควบคุมการเคลื่อนที่ของยานในขั้นตอนสุดท้าย การจุดจรวดครั้งแรกที่เราเรียกว่าเบรคครั้งที่ จะยาวนานประมาณ นาที หลังจากนั้นไม่นานจะมีการเบรคครั้งที่ ซึ่งนานประมาณ นาที เบรคครั้งที่ จะยาวนานประมาณ นาที และเบรคครั้งสุดท้ายนานประมาณ นาที คุณจะเห็นว่าเรามีการจุดจรวดหลายครั้งซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน แต่ผมเชื่อมั่นว่า ด้วยทีมงานของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์และเจพีแอลที่มีประสบการณ์สูง เราจะวางแผนและพยายามทำให้สำเร็จ"


เวลา (ประเทศไทย)เหตุการณ์ความสูงของยาน
22.31 น.ปลดยานออกจากวงโคจร นาน 20 วินาที25 กิโลเมตร
02.16 น.เบรคครั้งที่ นาน นาทีกิโลเมตร
02.31 น.เบรคครั้งที่ นาน นาที 12 วินาทีกิโลเมตร
02.47 น.เบรคครั้งที่ นาน นาทีกิโลเมตร
02.59 น.เบรคครั้งที่ นาน นาที 14 วินาที400 เมตร
03.04 น.แตะพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย-


ก่อนลงจอดจะมีการปรับแผงเซลล์สุริยะให้มีแนวที่เหมาะสมกับทิศทางของดวงอาทิตย์ และสายอากาศของยานก็จะชี้ตรงมายังโลก ซึ่งทั้งสองทำมุมกันเพียง 20 องศาเท่านั้น เมื่อยานลงแตะพื้นผิวของอีรอส มีความเป็นไปได้ที่ยานจะหมุนและไม่ง่ายที่จะคาดเดาว่าอะไรจะเกิดขึ้น

การลงสู่พื้นผิวของอีรอสเริ่มขึ้นในเวลา 10.31 ตามเขตเวลาตะวันออกของสหรัฐฯ หรือตรงกับเวลา 22.31 น. ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งจะปลดยานออกจากวงโคจรที่ระดับความสูง 35 กิโลเมตร ยานจะแตะพื้นผิวดาวในเวลา 3.04 น ของวันที่ 13 ตามเวลาในไทย ซึ่งขณะนี้ดาวเคราะห์น้อยอีรอสอยู่ห่างจากโลก 316 ล้านกิโลเมตร จุดลงจอดของยานเป็นบริเวณขอบนอกของแอ่งรูปอานม้าที่เรียกว่าฮิเมอรอส (Himeros) ซึ่งภาพสุดท้ายที่ได้จากกล้องถ่ายภาพบนยานจะแสดงพื้นผิวของดาวที่ระดับความสูงราว 500 เมตร ซึ่งจะมีความละเอียดที่สามารถมองเห็นก้อนหินที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตรได้

รายงานล่าสุด


12 กุมภาพันธ์ 2544 23.05 น.

การปลดยานออกจากวงโคจรซึ่งมีขึ้นเมื่อเวลา 22.31 น. ได้นำยานออกจากวงโคจรรูปวงกลมที่ระยะห่าง 35 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์น้อย ศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินสามารถยืนยันการจุดจรวดครั้งนี้ และใช้ภาพถ่ายจากยานในการคำนวณตำแหน่งและความสูงของยานจากพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยล่าสุด เพื่อใช้ในการคำนวณในขั้นตอนสุดท้าย

 13 กุมภาพันธ์ 2544 00.15 น.

ผู้ควบคุมภารกิจเนียร์ที่ศูนย์ปฏิบัติการเนียร์ชูเมกเกอร์ ในแมริแลนด์ รายงานว่าการบันทึกข้อมูลการจุดจรวดของยานถูกส่งมายังโลก วิศวกรกล่าวว่าทุกระบบพร้อมสำหรับการลงแตะพื้นผิวดาว และภาพจากยานที่ส่งมากำลังอยู่ในระหว่างการคำนวณตำแหน่งและความสูงจาก พื้นดินของยาน หลังจากการจุดจรวดเพื่อปลดยานออกจากวงโคจรรอบดาวเคราะห์น้อย

 13 กุมภาพันธ์ 2544 00.23 น.

ทีมนำร่องรายงานว่าการจุดจรวดตรงตามแผนทุกประการ ภาพที่ได้จากยานหลังการจุดจรวดแสดงให้เห็นว่ายานอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับตำแหน่งที่คาดการณ์ล่วงหน้า


ภาพหลังจากการจุดจรวด (ภาพจาก JHU-APL)
 


ภาพจากระดับความสูง 1.25 กิโลเมตร (ภาพจาก JHU-APL) 

ภาพสุดท้ายก่อนการลงแตะพื้นผิว (ภาพจาก JHU-APL) 


 13 กุมภาพันธ์ 2544 00.50 น.

ข้อมูลภาพถ่ายจากยานแสดงว่ายังไม่จำเป็นต้องมีการปรับเวลาของการจุดจรวดที่จะมีขึ้นต่อไป เนื่องจากยานอยู่ในตำแหน่งที่คลาดเคลื่อนจากการคำนวณเพียง วินาที เท่านั้น

 13 กุมภาพันธ์ 2544 00.57 น.

นักวิทยาศาสตร์รายงานว่าภาพถ่ายล่าสุดจากยานหลังจากการจุดจรวดอยู่ในตำแหน่งที่เป็นปกติ โดยผิดพลาดจากการคำนวณเพียง พิกเซล ซึ่งแสดงว่ายานมีเส้นทางผิดไปจากการคำนวณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 13 กุมภาพันธ์ 2544 01.30 น.

จานรับ-ส่งสัญญาณของสถานีเครือข่ายดีปสเปซที่กรุงมาดริดในสเปน และโกลด์สโตนในแคลิฟอร์เนียร์กำลังสื่อสารกับยาน ซึ่งอยู่ห่างออกไป 316 ล้านกิโลเมตร สัญญาณใช้เวลา 17-18 นาที ในการเดินทางมาถึงโลก

 13 กุมภาพันธ์ 2544 02.21 น.

ทีมควบคุมรายงานว่าการเบรคครั้งที่ สำเร็จลุล่วงโดยน้อยกว่าเวลาที่ต้องการเพียงเสี้ยวของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี

 13 กุมภาพันธ์ 2544 02.27 น.

เครื่องวัดความสูงจากพื้นดินบนยานรายงานว่า ยานอยู่สูง 5.4 กิโลเมตร จากพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยอีรอส

 13 กุมภาพันธ์ 2544 02.29 น.

ภาพแรกหลังจากการเบรคครั้งที่ ส่งมาถึงโลก

 13 กุมภาพันธ์ 2544 02.32 น.

ภาพแสดงก้อนหินกลมขนาดใหญ่หลายลูก แต่พื้นผิวของอีรอสปราศจากหลุมเกิดใหม่

 13 กุมภาพันธ์ 2544 02.50 น.

ภาพที่ถ่ายจากยาน ภาพทุก ๆ หนึ่งนาที กำลังส่งกลับมายังโลก ระดับความสูงของยานอยู่ที่ 1.25 กิโลเมตร

 13 กุมภาพันธ์ 2544 02.58 น.

ภาพที่ชัดเจนภาพสุดท้ายส่งมาจากยานซึ่งคาดว่าสามารถมองเห็นก้อนหินขนาด 10 เซนติเมตรได้ หลังจากนี้ ภาพที่ได้จะไม่ชัดเจน เนื่องจากอุปกรณ์เลเซอร์ในการวัดระยะทางบนยานเริ่มทำงาน

 13 กุมภาพันธ์ 2544 03.04 น.

ผู้ควบคุมยังสามารถรับสัญญาณจากเนียร์ได้ แสดงว่ายานเนียร์ชูเมกเกอร์ประสบความสำเร็จในการลงแตะพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย โดยที่ยังคงสามารถทำงานอยู่ได้ ทีมรายงานว่าพวกเขาหวังว่าจะสามารถติดต่อกับเนียร์ได้อีกเป็นเวลา วัน

 13 กุมภาพันธ์ 2544 03.17 น.

กว่า 10 นาที หลังจากสัมผัสพื้นดิน ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ ยานอวกาศขนาดเท่ารถคันหนึ่ง กลายเป็นยานอวกาศลำแรกในประวัติศาสตร์ที่ลงแตะพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ท่ามกลางความวิตกก่อนหน้านี้ที่นาซาเคยกล่าวว่า มีโอกาสน้อยกว่า เปอร์เซ็นต์ที่ยานจะยังคงทำงานอยู่บนพื้นผิว การลงจอดครั้งนี้ประสบความสำเร็จเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด

 13 กุมภาพันธ์ 2544 03.30 น.

การฉลองความสำเร็จมีขึ้นที่ศูนย์ควบคุมภารกิจเนียร์ชูเมกเกอร์ หลังจากที่ยานอวกาศประสบความสำเร็จในการลงแตะพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยอย่างพลิกความคาดหมาย จากการคำนวณแสดงว่ายานลงสู่พื้นผิวที่อัตราเร็ว 1.5-1.8 เมตรต่อวินาที

 13 กุมภาพันธ์ 2544 04.25 น.

โฆษกของห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปคินส์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมภารกิจนี้ให้กับนาซา กล่าวว่า ยังคงสามารถรับสัญญานจากยานเนียร์ชูเมกเกอร์ได้ และมีหลักฐานว่าอุปกรณ์ส่งสัญญาณยังคงทำงานอยู่ แต่อุปกรณ์บนยานไม่สามารถล็อกสัญญานกับโลกได้

 13 กุมภาพันธ์ 2544

ข้อมูลเบื้องต้นจากยานเนียร์ชูเมกเกอร์แสดงให้เห็นว่ายานลงแตะพื้นดินเมื่อเวลา 3.02.10 น. ที่อัตราเร็ว 1.9 เมตรต่อวินาที ภาพสุดท้ายที่ได้จากยาน ถ่ายขณะที่ยานอยู่ที่ความสูง 120 เมตรจากพื้นดิน และครอบคลุมพื้นที่ เมตร เครือข่ายดีปสเปซของนาซา ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกสามารถล็อกสัญญาณกับเนียร์ได้ แต่ไม่มีการส่งสัญญาณจากระบบภายในยาน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายดีปสเปซวางแผนที่จะติดตามยานเนียร์ต่อไปจนถึงวันพุธ เมื่อภารกิจเนียร์ชูเมกเกอร์สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ

ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปคินส์ แถลงรายงานสถานภาพของภารกิจในวันนี้โดยสรุปว่า

หนึ่งวันหลังจากที่การลงแตะพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ยังคงสื่อสารกับทีมภารกิจเนียร์ที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ (APL) มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปคินส์ ในเมืองลอเรล รัฐแมริแลนด์ ผู้ดำเนินการภารกิจสามารถรับสัญญานวิทยุจากจานสายอากาศสัญญานอ่อนของยานได้ ซึ่งเป็นเวลา ชั่วโมงหลังการลงแตะพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยอีรอส ดาวเคราะห์น้อยขนาด 21 ไมล์ ที่ยานเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา

ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ทีมควบคุมสามารถประเมินสถานภาพและการทำงานของยานในการพิจารณาที่จะส่งสัญญานวิทยุควบคุมยานต่อไป ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ลงแตะพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยเมื่อเวลา 15.02.10 น. ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544 ตามเขตเวลาตะวันออกของสหรัฐ (หรือ 3.02.10 น. ของวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ตามเวลาในไทย) ท่ามกลางการเอาใจช่วยและการฉลองความสำเร็จที่ศูนย์ควบคุมภารกิจ ณ APL ซึ่งสร้างและจัดการยานเนียร์ให้กับนาซา ภาพสุดท้ายที่ยานถ่ายได้ก่อนการลงจอด ถ่ายขณะที่ยานอยู่สูง 120 เมตรจากพื้นผิว ยานยังคงส่งสัญญาณวิทยุมายังโลก หลังจากนั้นหนึ่งชั่วโมง เครือข่ายดีปสเปซของนาซาก็สามารถล็อกสัญญานเพื่อติดตามยานที่อยู่ห่างออกไป 196 ล้านไมล์ต่อไปได้

 14 กุมภาพันธ์ 2544 00.02 น.

นาซาประกาศอย่างเป็นทางการ ในการตัดสินใจว่าจะยืดเวลาภารกิจเนียร์ออกไปอีก 10 วัน เพื่อรับข้อมูลจากอุปกรณ์ตรวจวัดสเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมา ข้อมูลที่ได้จะช่วยพัฒนาความรู้ด้านธาตุต่าง ๆ ในพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งก่อนหน้านี้มีกำหนดการว่าภารกิจจะสิ้นสุดในวันนี้

 14 กุมภาพันธ์ 2544 00.40 น.

แถลงการณ์โดยสรุปของโครงการภารกิจเนียร์ชูเมกเกอร์


การลงแตะพื้นผิวครั้งประวัติศาสตร์บนดาวเคราะห์น้อยอีรอส (433 Eros) อย่างนุ่มนวลของยานเนียร์ชูเมกเกอร์ ทำให้ทีมควบคุมภารกิจได้รับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มากมายอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน จากการออกแบบและวางแผนอย่างระมัดระวังในการจุดจรวดเพื่อลงสู่พื้นผิว

"เราให้ความสำคัญในการถ่ายภาพพื้นผิวด้วยความละเอียดสูงเป็นอันดับแรก และการลงแตะพื้นผิวอย่างปลอดภัยเป็นอันดับที่สอง ซึ่งปรากฏว่าเราประสบความสำเร็จทั้งสองเป้าหมาย" ผู้อำนวยการภารกิจเนียร์ ดร.โรเบิร์ต ฟาร์คูฮาร์กล่าว เมื่อวานนี้ทีมภารกิจมีมติที่จะไม่จุดเครื่องยนต์ของยานในการปรับการวางตัวของยาน เนื่องจากยานวางตัวในทิศทางที่เหมาะสมแล้วในการสื่อสารกับโลกหลังลงแตะพื้นผิว ผู้ดำเนินการภารกิจกล่าวว่าการลงแตะพื้นผิวมีอัตราเร็วที่อาจจะเป็นหนึ่งในอัตราเร็วของการลงแตะที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ภาพที่ได้ก่อนการลงแตะยังดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า ซึ่งยังคงมีการจุดจรวดอยู่ขณะที่มีการลงแตะ และภาพสุดท้ายถ่ายได้ขณะที่ยานอยู่ในระดับความสูงจากพื้นผิวต่ำกว่าที่คาดไว้ราว 200 เมตร "สิ่งนี้ยืนยันแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่เราวางแผนสำหรับการลงแตะพื้นผิว คุณไม่สามารถรู้ได้ว่าแผนที่วางไว้จะใช้ได้หรือไม่ จนกว่าคุณจะทำการทดสอบ และนี่ก็เป็นไปตามการคาดหมาย ทุกคนมีความสุขจริง ๆ" ดร.บอบบี วิลเลียมส์ หัวหน้าทีมนำร่องของเนียร์ ที่ JPL ของนาซากล่าว

เนียร์ชูเมกเกอร์ ถ่ายภาพความละเอียดสูง 69 ภาพ ระหว่างที่ยานอยู่ต่ำกว่า กิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นภาพดาวเคราะห์น้อยที่มีความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ภาพถ่ายที่ระยะต่ำสุดคือ 120 เมตร ซึ่งสามารถมองเห็นก้อนหินขนาด เซนติเมตรได้ นอกจากนี้หลายภาพแสดงสิ่งที่น่าพิศวง เช่น ก้อนหินกลมที่แตกร้าว หลุมขนาดเท่าลูกฟุตบอลที่เต็มไปด้วยฝุ่น และพื้นที่ซึ่งพื้นผิวดูเหมือนแตกแยกออก

"ภาพเหล่านี้เริ่มที่จะตอบคำถามหลายคำถามที่เรามีเกี่ยวกับอีรอส แต่ขณะเดียวกันมีความลึกลับใหม่ที่เราจะต้องไขปัญหาต่อไปในอนาคต" ดร.โจเซฟ วีเวอร์คา หัวหน้าทีมถ่ายภาพของเนียร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์กล่าว

ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ เป็นหนึ่งในโครงการดิสคัฟเวอรีของนาซา ซึ่งเป็นโครงการยานอวกาศทุนต่ำในการสำรวจด้านดาวเคราะห์ และเป็นยานลำแรกในประวัติศาสตร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์น้อยตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 ส่งข้อมูลมากกว่าที่มีการวางแผนไว้ถึง 10 เท่า

 14 กุมภาพันธ์ 2544 04.00 น.

การแถลงข่าวที่มีขึ้นในวันนี้โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโครงการเนียร์ชูเมกเกอร์ กล่าวว่าจะไม่มีการพยายามบังคับยานให้ทะยานขึ้นจากพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อยานลงแตะพื้นผิว มีการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะทดสอบการจุดจรวดให้ยานเนียร์ขึ้นจากพื้นผิวของอีรอส

 14 กุมภาพันธ์ 2544 06.00 น.

หลังจากที่นาซาอนุมัติในนาทีสุดท้ายที่จะให้ภารกิจเนียร์ดำเนินต่อไปอีกเป็นเวลา 10 วัน ศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินส่งคำสั่งไปยังยานเนียร์ชูเมกเกอร์ ให้ยานเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดสเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมา ซึ่งจะช่วยวัดองค์ประกอบทางเคมีบนพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยอีรอส

เว็บไซต์อื่น


 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
 NEAR Shoemaker NSSDC Master Catalog
 NEAR Shoemaker Status Center SpaceflightNow.com