หรือว่านาซามันกุข่าว?
บทเรียนจากกรณีดาวเคราะห์น้อย(ไม่)ชนโลก
ปี 2568 เริ่มต้นมาด้วยข่าวน่าตื่นเต้นในวงการดาราศาสตร์ เมื่อนักดาราศาสตร์ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอันตรายดวงหนึ่งที่มีชื่อว่า 2024 วายอาร์ 4 (2024 YR4) ความน่าสนใจของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้คือ มีวิถีใกล้กับวงโคจรโลกมาก จากการคำนวณเบื้องต้นพบว่ามีโอกาสประมาณ 1.2 เปอร์เซ็นต์ที่จะชนโลกในวันที่ 22 ธันวาคม 2575 นักดาราศาสตร์ประเมินขนาดของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ว่าน่าจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 40-100 เมตร ซึ่งจัดว่าใหญ่ในระดับน่ากลัว
เหตุการณ์ระเบิดที่เมืองเชเลียบินสค์ที่ประเทศรัสเซียเมื่อปี2556 ทำให้มีความเสียหายต่อทรัพย์สินและบ้านเรือนทั่วทั้งเมือง มีผู้บาดเจ็บนับพันคน นักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์น้อยที่มาพุ่งชนมีขนาดประมาณ 17-20 เมตร ส่วนดาวเคราะห์น้อย 2024 วายอาร์ 4 มีขนาดใหญ่กว่าดาวเคราะห์น้อยที่ชนเชเลียบินสค์ 2-5 เท่า ย่อมมีฤทธิ์เดชร้ายกาจกว่ามาก หากดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ชนโลกจริง ความรุนแรงในการชนก็จะอยู่ในระดับเดียวกับเหตุการณ์ตุงกุสคาเมื่อปี 2451 ในครั้งนั้นแรงระเบิดทำให้ป่ากว่าล้านไร่ ณ จุดพุ่งชนราบเป็นหน้ากลอง หากลูกนั้นมาชนกรุงเทพก็หายทั้งกรุงเทพฯ
ด้วยวิถีการโคจรที่มีโอกาสชนโลกและขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้ 2024 วายอาร์ 4 ขึ้นทำเนียบของดาวเคราะห์น้อยอันตรายหมายเลขหนึ่งทันทีด้วยความเสี่ยงระดับ 3 ตามมาตราโตริโน
หลังจากการประกาศการค้นพบเพียงไม่กี่วันก็มีการปรับตัวเลขความเสี่ยงใหม่ จาก 1.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2.3 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ทันที่ผู้คนจะจำตัวเลขใหม่ได้ ตัวเลขนี้ก็ขยับขึ้นอีกครั้งเป็น 3.1 เปอร์เซ็นต์ แม้จะยังเป็นเลขหลักเดียว แต่การที่อัตราความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึงเกือบสามเท่าภายในเวลาแค่ครึ่งเดือนก็เป็นแนวโน้มน่าวิตก ถึงจุดนี้ก็น่าจะทำให้หลายคนเกิดอาการประสาทกินกันแล้ว
อีกเพียงสัปดาห์ต่อมาตัวเลขความเสี่ยงใหม่ก็ตามมา แต่คราวนี้ตัวเลขลดลง โดยความเสี่ยงลดลงไปถึงครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์ และในวันรุ่งขึ้น ตัวเลขก็ลดลงไปอีกเป็น 0.28 เปอร์เซ็นต์
ถึงจุดนี้น่าจะทำให้หลายคนถอนหายใจด้วยความโล่งอกที่เห็นตัวเลขลดลงจนเกือบเป็นศูนย์คนที่คะนองปากหน่อยก็อาจจะร้องว้าเสียดายอยากได้อยากโดน อย่างไรก็ตาม ไม่ทุกคนที่จะรู้สึกเช่นนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่เดือดดาลกับสิ่งที่เกิดขึ้น การที่ตัวเลขขึ้นลงแทบจะรายวันทำให้อดคิดไม่ได้ว่านี่อาจเป็นแค่การสร้างกระแสของสำนักข่าวหรือแม้แต่เป็นการสร้างข่าวจากหน่วยงานด้านดาราศาสตร์เอง ดังจะเห็นได้จากความเห็นที่ระบายออกทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่อไปในทางกล่าวโทษด้วยข้อหาอุกฉกรรจ์
"ปั่นข่าวนี่หว่า"
"การตลาดสินะ"
"สงสัยนาซาอยากจะของบเพิ่ม"
"นาซาแm่งกุข่าว"
ขณะที่เขียนบทความนี้ตัวเลขความเสี่ยงล่าสุดลงไปอยู่ที่ 0.001 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์ได้เลย ภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อย 2024 วายอาร์ 4 เหลือน้อยลงจนแทบจะไม่มีอะไรให้กังวลอีกแล้ว ข่าวคราวเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้คงจะไม่สร้างกระแสความสนใจใด ๆ ได้อีก
ไหนๆ โลกก็ไม่ถูกชนแล้ว เราน่าจะถือโอกาสนี้มาเรียนรู้อะไรจากกระแสข่าวนี้กันสักหน่อย
ภัยจากดาวเคราะห์น้อยชนโลก
หากสังเกตดูภาพยนตร์แนวมหันตภัยทำลายโลกหนึ่งในเค้าเรื่องยอดนิยมน่าจะเป็นเหตุการณ์ที่มีวัตถุขนาดใหญ่จากอวกาศมาชนโลก มีภาพยนตร์ชื่อดังหลายเรื่องที่ใช้เค้าเรื่องแบบนี้ เช่นเรื่อง Deep Impact, Armageddon, Asteroid vs Earth, Don't Look Up
ภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนโลกไม่ได้มีแค่ในภาพยนตร์ไม่ใช่เรื่องในจินตนาการ มีหลักฐานชัดเจนที่บ่งชี้ว่าโลกเราถูกวัตถุจากอวกาศชนอยู่เสมอ การชนของดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางเมื่อ 66 ล้านปีก่อนเป็นต้นเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมด ทุกวันนี้บนโลกเราก็มีหลุมขนาดใหญ่ที่เป็นแผลจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยปรากฏอยู่ทั่วโลก การระเบิดครั้งใหญ่ที่ตุงกุสคาเมื่อปี 2451 ก็มีหลักฐานน่าเชื่อว่าเกิดจากดาวเคราะห์น้อยชนโลก เหตุการณ์ชนโลกที่ชัดเจนที่สุดที่มีหลักฐานทั้งภาพทั้งเสียงเพราะเกิดขึ้นไม่นานมานี้คือเหตุการณ์เชเลียบินสค์ในปี 2556
หากมีการพบว่ามีดาวเคราะห์น้อยกำลังจะมาชนโลกเราจริงมนุษย์เราก็ยังมีทางเลือกมากกว่าเพียงแค่รอวาระสุดท้ายของโลกมาถึง นักวิทยาศาสตร์ได้คิดแผนไว้หลายแผนในการแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเบี่ยงเบนดาวเคราะห์น้อยให้เหไปทางอื่นหรืออาจถึงขั้นทำลายดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นไปเลย วิธีเช่น ส่งระเบิดนิวเคลียร์ไประเบิดขวางหน้าดาวเคราะห์น้อย ส่งยานไปโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยในระยะประชิดเพื่อให้ความโน้มถ่วงจากยานช่วยเบี่ยงเบนทิศทาง ส่งยานไปพุ่งชนเพื่อให้โมเมนตัมจากการชนเบี่ยงทิศทางดาวเคราะห์ น้อย ส่งยานอวกาศไปลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยแล้วเดินเครื่องออกแรงดันดาวเคราะห์น้อยเพื่อเบี่ยงทิศทางไป ส่วนภาพยนต์ไซไฟที่นิยมใช้วิธียิงระเบิดนิวเคลียร์ใส่เพื่อทำลายให้เป็นผุยผง
แต่ละวิธีที่ยกตัวอย่างมามีข้อดีข้อเสียต่างกันไปแต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกวิธีต้องการเหมือนกัน คือการรู้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน นั่นเป็นเหตุผลที่นักดาราศาสตร์พยายามค้นหาวัตถุแปลกปลอมอย่างขมักเขม้น มีโครงการระดับนานาชาติหลายโครงการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อค้นหาวัตถุแปลกปลอมโดยเฉพาะ เช่นโครงการลีเนียร์ โครงการแพนสตารรส์ การได้รู้ว่ามีวัตถุดวงใดมีวิถีการโคจรอย่างไร ทำให้ประเมินความเสี่ยงได้ ว่าดวงไหนมีโอกาสชนโลกมากน้อยแค่ไหน เพื่อได้หาวิธีรับมือได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องโชคดีที่จนถึงปัจจุบันยังไม่พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงใดมีวิถีที่จะชนโลกในเร็ววันนี้
การตั้งข้อสงสัยเรื่องในอินเทอร์เน็ตว่าอาจเป็นข่าวเต้าเป็นเรื่องดีโดยเฉพาะในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลเท็จเกลื่อนอินเทอร์เน็ต ความขี้สงสัยเป็นเกราะป้องกันอวิชชาที่ประเสริฐสุด
หากยังจำกันได้เมื่อครั้งมีกระแสตื่นโลกแตกปี 2555 (ค.ศ.2012) หนึ่งในเรื่องสยองขวัญที่ลือกันก็คือเรื่องที่ว่ามีดาวเคราะห์มรณะชื่อ นิบิรุ จะมาชนโลกในปีนั้น เรื่องที่เผยแพร่กันนั้นมีกระทั่งภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นดาวนิบิรุ (ซึ่งเป็นภาพของโนวาชื่อ วี 838 ยูนิคอร์น ไม่ใช่ดาวเคราะห์ที่ไหน) ทำให้ขณะนั้นมีคนเชื่อกันมากว่าวาระสุดท้ายของโลกจะมาถึงจริง ๆ เมื่อวันกำหนดชนผ่านพ้นไป คนที่เชื่อจึงรู้ว่าโดนหลอกเข้าอีกแล้ว
วิธีหนึ่งในการแยกแยะข่าวประเภทนี้ว่าเป็นข่าวจริงข่าวไหนข่าวโกหกก็คือถ้าเป็นข่าวจริง การค้นพบจะมีข้อมูลด้านวงโคจรให้ด้วย เช่น ความรีของวงโคจร ระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด มุมเอียงของระนาบวงโคจร นักดาราศาสตร์มีฐานข้อมูลด้านวงโคจรของวัตถุทุกดวงในระบบสุริยะให้เข้าถึงและตรวจสอบได้ทางออนไลน์ ตัวอย่างเช่น CNEOS ของเจพีแอล หรือ NEOCC ของอีซา นอกจากนี้ยังต้องบอกได้ว่า ขณะนี้วัตถุดวงนี้อยู่ที่ไหนบนท้องฟ้า เพราะเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องแบ่งปันเพื่อให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกช่วยกันติดตามและวัดตำแหน่งให้แม่นยำยิ่งขึ้น
คนที่ปั้นข่าวนิบิรุบอกแต่เพียงว่าจะชนแต่ไม่มีใครให้รายละเอียดได้ว่าดาวนิบิรุนั้นอยู่ตรงไหน มีรายละเอียดของวงโคจรเป็นอย่างไร ข่าวลักษณะนี้ย่อมเป็นข่าวโกหกแน่นอน จะว่าไปแล้วเรื่องนิบิรุเป็นเรื่องโกหกที่แต่งได้แย่ยิ่งกว่าเรื่องไหน ๆ เรื่องพิษจากดาวหางฮัลเลย์ในปี 2453 ยังพอมีเค้ามูลบ้าง เรื่องซานแอนเดรียสจะแยกออกในกระแสโลกแตกปี 2525 ก็ยังมีมูลเหตุบ้าง แต่เรื่องนิบิรุเป็นเรื่องที่เพ้อเจ้อได้สมบูรณ์แบบ เหลือเชื่อว่ามีคนคิดว่าเป็นจริงเป็นจังอยู่ไม่น้อย
ดาวเคราะห์น้อย2024 วายอาร์ 4 เป็นเรื่องจริง รายละเอียดด้านวงโคจรและตำแหน่งมีให้พร้อมและตรวจสอบได้ เมื่อมีการประกาศการค้นพบ นักดาราศาสตร์ทั่วโลกก็จะหันกล้องไปยังวัตถุดวงนี้ หากวัตถุนี้ไม่มีอยู่จริง หรือมีเส้นทางโคจรเป็นอย่างอื่นที่ไม่ได้มีวิถีมาชนโลก ก็ย่อมต้องมีการแย้งเตือนมาในกลุ่มนักดาราศาสตร์แล้ว การที่มีนักสำรวจจากหลายแห่งทั่วโลกช่วยกันติดตามดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ความชัดเจนเกี่ยวกับวิถีการโคจรจนได้ข้อสรุปว่าจะไม่ชนอย่างแน่นอนภายในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
เรื่องควรทราบอีกเรื่องหนึ่งก็คือหน่วยงานอวกาศไม่ได้มีแค่องค์การนาซาเท่านั้น ทั่วโลกมีองค์กรต่าง ๆ หลายองค์กรที่ดำเนินกิจการด้านดาราศาสตร์ แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวก็ยังมีหลายหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวกับนาซา การเหมารวมทุกเรื่องบนท้องฟ้าให้เป็นของนาซาแล้วกล่าวโทษว่านาซากุข่าวบ้าง นาซาให้ข่าวบ้าง นาซาปิดข่าวบ้าง ดูจะเป็นการยกย่องนาซามากเกินไปสักหน่อย
นี่อาจเป็นเรื่องคาใจหลายคนที่ตัวเลขความเสี่ยงมีขึ้นแล้วลงดูจะเป็นเรื่องขัดสามัญสำนึกอยู่ไม่น้อย การที่ช่วงแรกของการค้นพบยังมีข้อมูลด้านตำแหน่งน้อยจึงมีความไม่แน่นอนสูง เรื่องนี้พอเข้าใจได้ แต่เวลาผ่านไป ข้อมูลที่มากขึ้นก็น่าจะทำให้ความเสี่ยงชัดเจนขึ้นว่าจะขึ้นหรือจะลง เหตุใดจึงขึ้นแล้วกลับลง
ลองพิจารณารูปข้างล่างนี้
จะเห็นว่าแม้ความแม่นยำของวงโคจรจะมีทิศทางเดียวคือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็ทำให้โอกาสเสี่ยงถูกชนมีการเปลี่ยนทิศทางโดยไต่ขึ้นแล้วก็วกกลับลงเป็นศูนย์
ตั้งแต่แรกเริ่มการคำนวณเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อย 2024 วายอาร์ 4 แสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะเฉียดโลกไปด้วยระยะ 240,000 กิโลเมตร หรือประมาณสองในสามของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ถือเป็นระยะที่ปลอดภัย แต่เมื่อพิจารณาช่วงความคลาดเคลื่อนที่ยังกว้างมากในช่วงต้นร่วมด้วยพบว่าโลกยังอยู่ในรัศมีที่มีโอกาสถูกชนอยู่ เวลาต่อมาเมื่อมีการสำรวจเพิ่มเติมจากกองทัพจากนักดาราศาสตร์ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก ทำให้มีข้อมูลด้านตำแหน่งที่แม่นยำขึ้นเรื่อย ๆ ก็ส่งผลให้ตัวเลขความเสี่ยงขยับขึ้นแล้วก็วกกลับลงดังกล่าว
เมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณวงโคจรของวัตถุอันตรายตัวเลขความเสี่ยงจะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปได้สามทางคือ 1. ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็ชน 2. ขึ้นสักพักหนึ่งแล้วก็ลงไปเป็นศูนย์ เช่นที่เกิดขึ้นในกรณีของ 2024 วายอาร์ 4 และอีกหลาย ๆ ดวง หรือ 3. ลงอย่างเดียวจนเป็นศูนย์ ซึ่งเกิดขึ้นในกรณีที่ขณะค้นพบ โลกก็อยู่ปริ่มขอบความคลาดเคลื่อนแล้ว
เหตุการณ์ระเบิดที่เมืองเชเลียบินสค์ที่ประเทศรัสเซียเมื่อปี
ด้วยวิถีการโคจรที่มีโอกาสชนโลกและขนาดที่ค่อนข้างใหญ่
หลังจากการประกาศการค้นพบเพียงไม่กี่วัน
อีกเพียงสัปดาห์ต่อมา
ถึงจุดนี้น่าจะทำให้หลายคนถอนหายใจด้วยความโล่งอกที่เห็นตัวเลขลดลงจนเกือบเป็นศูนย์
"ปั่นข่าวนี่หว่า"
"การตลาดสินะ"
"สงสัยนาซาอยากจะของบเพิ่ม"
"นาซาแm่งกุข่าว"
ขณะที่เขียนบทความนี้
ไหน
ภัยจากดาวเคราะห์น้อยชนโลก ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
หากสังเกตดูภาพยนตร์แนวมหันตภัยทำลายโลก
นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อยขนาด 10 กิโลเมตรดวงหนึ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน เป็นเหตุให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์
ภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหางชนโลกไม่ได้มีแค่ในภาพยนตร์
ภาพเหตุการณ์จริงของดาวเคราะห์น้อยที่พุ่งชนโลกและระเบิดเหนือน่านฟ้าของเมืองเชเลียบินสค์ ปี 2556 ถ่ายจากกล้องหน้ารถ (จาก AP)
หลุมอุกกาบาตแบริงเจอร์ในรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา เกิดจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนเมื่อประมาณ 50,000 ปีก่อน (จาก EduPic Graphic Resources)
หากมีการพบว่ามีดาวเคราะห์น้อยกำลังจะมาชนโลกเราจริง
แต่ละวิธีที่ยกตัวอย่างมามีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
กุข่าวเล่นหรือเปล่า
การตั้งข้อสงสัยเรื่องในอินเทอร์เน็ตว่าอาจเป็นข่าวเต้าเป็นเรื่องดี
หากยังจำกันได้
วิธีหนึ่งในการแยกแยะข่าวประเภทนี้ว่าเป็นข่าวจริงข่าวไหนข่าวโกหกก็คือ
คนที่ปั้นข่าวนิบิรุบอกแต่เพียงว่าจะชน
ดาวเคราะห์น้อย
เรื่องควรทราบอีกเรื่องหนึ่งก็คือ
เหตุใดตัวเลขโอกาสพุ่งชนโลกจึงขึ้นแล้วลง
นี่อาจเป็นเรื่องคาใจหลายคนที่ตัวเลขความเสี่ยงมีขึ้นแล้วลง
ลองพิจารณารูปข้างล่างนี้
ลำดับภาพทางซ้าย คือเป้าปืนที่เกิดจากคนยิงปืนที่มีความแม่นต่างกัน ภาพบนความแม่นยำต่ำสุด ภาพที่ถัดลงมามีความแม่นยำมากขึ้นเป็นลำดับจนถึงภาพที่ 5 ที่ความแม่นยำสูงสุด ภาพที่ 1 ซ้าย รูกระสุนกระจายไปทั่วเป้า แม้คนยิงจะเล็งที่สิบแต้มกลางเป้า แต่ด้วยขอบเขตความคลาดเคลื่อน (เส้นประสีชมพู) ที่กว้างมาก จึงมีโอกาสจะไปเข้าพื้นที่ของแต้มที่รองลงมา เช่น โอกาสที่กระสุนจะเข้าห้าแต้มก็มีอยู่เล็กน้อย
ภาพที่สองมือปืนแม่นกว่าคนแรก ขอบเขตความคลาดเคลื่อนแคบลง แต่ยังคลุมพื้นที่ของห้าแต้มอยู่ การที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนลดลง ทำให้มีโอกาสที่กระสุนจะเข้าห้าแต้มย่อมมากขึ้นด้วย
เช่นเดียวกับมือปืนที่ยิงเป้าที่สามที่แม่นกว่าคนที่สองขอบเขตความคลาดเคลื่อนเล็กลงอีก แต่ยังคลุมพื้นที่ของห้าแต้มอยู่ โอกาสที่กระสุนจะเข้าห้าแต้มก็ยิ่งมีมากขึ้น
มือปืนที่ยิงเป้าที่สี่ฝีมือดีกว่าคนที่สามรูกระสุนเกาะกลุ่มกันอยู่ที่กลางเป้า ขอบเขตความคลาดเคลื่อนหดเล็กจนพื้นที่ห้าแต้มอยู่นอกกรอบ โอกาสที่มือปืนคนนี้จะยิงเข้าห้าแต้มจึงลดลงเป็นศูนย์ ยิ่งมือปืนคนที่ห้าซึ่งมือดีที่สุด ทั้งแม่นยำและเที่ยงตรงสูง โอกาสที่กระสุนจะเข้าเป้าห้าแต้มย่อมยังคงเป็นศูนย์
ภาพด้านขวาใช้คำอธิบายแบบเดียวกันกับการยิงปืน เอาเป้ากระดาษออกไป เอาโลกมาวางไว้ที่ตำแหน่งห้าแต้ม จุดเป้าหมายคือจุดที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งไปตามที่คำนวณไว้ จะเห็นว่าขณะที่ความคลาดเคลื่อนลดลง โอกาสที่โลกจะถูกชนจะเพิ่มขึ้น เมื่อขอบความคลาดเคลื่อนหดเล็กลงถึงจุดหนึ่งที่ตำแหน่งของโลกอยู่นอกกรอบไป เมื่อนั้นโอกาสที่โลกจะถูกชนก็จะลดลงอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นศูนย์
ภาพที่สอง
เช่นเดียวกับมือปืนที่ยิงเป้าที่สามที่แม่นกว่าคนที่สอง
มือปืนที่ยิงเป้าที่สี่ฝีมือดีกว่าคนที่สาม
ภาพด้านขวา
จะเห็นว่า
ตั้งแต่แรกเริ่ม
เมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณวงโคจรของวัตถุอันตราย