สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทรุปราคาบางส่วน : 7/8 กันยายน 2549

จันทรุปราคาบางส่วน : 7/8 กันยายน 2549

1 กันยายน 2549
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 17 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
คืนวันพฤหัสบดีที่ กันยายน 2549 ถ้าไม่มีฝนตกและท้องฟ้าเปิด คนไทยจะมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรือจันทรคราสซึ่งเกิดเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ครั้งนี้ดวงจันทร์แหว่งแค่บางส่วน เกิดในช่วงเวลา 1.05 2.38 น. (เข้าสู่เช้ามืดวันที่ กันยายน) สามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศ

ดาราศาสตร์แบ่งจันทรุปราคาออกเป็น ประเภท ได้แก่ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว จันทรุปราคาเต็มดวงหมายถึงจันทรุปราคาที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์มืดสลัวลงมาก และมีสีส้มหรือน้ำตาล จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบดบังเพียงบางส่วนของดวง ส่วนจันทรุปราคาเงามัวเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้น จันทรุปราคาชนิดสุดท้ายนี้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยากจึงไม่ค่อยน่าสนใจ

การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง) 

การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลก ขณะเกิดจันทรุปราคา 

ภาพจำลองคาดหมายลักษณะดวงจันทร์ในวันที่ กันยายน 2549 เวลา 1.51 น. 

สำหรับจันทรุปราคาในคืนวันพฤหัสบดีนี้ คาดว่าน่าจะเริ่มสังเกตเห็นดวงจันทร์มืดสลัวลงตั้งแต่เวลาประมาณ 0.50 น. โดยขอบด้านขวาบนของดวงจันทร์จะเริ่มคล้ำลงก่อน เมื่อเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 1.05 น. ขอบดวงจันทร์ด้านนี้จะแหว่งเพราะถูกเงาโลกกินลึกเข้าไป

เวลา 1.51 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด เราจะเห็นด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ (ขวามือ) แหว่งไปเป็นสัดส่วนราว ใน ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จากนั้นดวงจันทร์จะค่อย ๆ กลับมาเต็มดวงโดยคาดว่าน่าจะเห็นดวงจันทร์เป็นดวงกลมสมบูรณ์อีกครั้งในเวลา 2.38 น. รวมเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน ½ ชั่วโมง

นอกจากประเทศไทยแล้ว ส่วนอื่นของโลกที่เห็นปรากฏการณ์นี้พร้อมกัน ได้แก่ บางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกา ประเทศในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา และยุโรปตะวันออก