สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561

จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561

30 มกราคม 2561 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด
คืนวันพุธที่ 31 มกราคม 2561 จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทั่วประเทศ โดยสามารถสังเกตดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบังตั้งแต่เวลาหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงเวลาประมาณ ทุ่มเศษ 
จันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ ครั้ง บางปีอาจมีได้มากถึง ครั้ง แต่เราไม่เห็นจันทรุปราคาทุกครั้งที่เกิด ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ตรงกับเวลากลางคืนของสถานที่ที่เราอยู่หรือไม่ จันทรุปราคาเกิดได้เฉพาะในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลก หรือตรงกับวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง
เรามีโอกาสเห็นจันทรุปราคาได้บ่อยกว่าสุริยุปราคา เพราะเมื่อเกิดจันทรุปราคา ซีกโลกด้านกลางคืนที่หันเข้าหาดวงจันทร์สามารถเห็นปรากฏการณ์ได้พร้อมกันทั้งหมด ส่วนสุริยุปราคาเกิดเมื่อเงาของดวงจันทร์พาดมาบนผิวโลก เงาดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลก พื้นที่ซึ่งเห็นสุริยุปราคาได้จึงต้องอยู่ใต้เงาของดวงจันทร์เท่านั้น

จันทรุปราคาเต็มดวง 16 กันยายน 2540 (จาก กฤษดา โชคสินอนันต์/พรชัย อมรศรีจิรทร)

ชนิดของจันทรุปราคา

เงาโลกมีสองส่วน ได้แก่ เงามืดและเงามัว เงามืดซึ่งทึบแสงกว่าอยู่ด้านใน ล้อมรอบด้วยเงามัว  จันทรุปราคาแบ่งได้เป็น ชนิด ได้แก่ จันทรุปราคาเงามัว จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาเงามัวเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านส่วนที่เป็นเงามัวของโลกเท่านั้น จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านเงามืด แต่มีเพียงบางส่วนของผิวดวงจันทร์ที่อยู่ในเงามืด ส่วนจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงผ่านเข้าไปในเงามืด

การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง) (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

สถิติในช่วง 5,000 ปี นับตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงคริสต์ศักราช 3000 มีจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นทั้งหมด 3,479 ครั้ง คิดเป็น 28.8% ของจันทรุปราคาทั้งหมด จันทรุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นทั้งหมด 4,207 ครั้ง คิดเป็น 34.9% และจันทรุปราคาเงามัวเกิดขึ้นทั้งหมด 4,378 ครั้ง คิดเป็น 36.3%
จันทรุปราคาในแต่ละปีปฏิทินมีจำนวนไม่เท่ากัน จำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง มีมากที่สุดถึง 70.8% จำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง คิดเป็น 17.7% จำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง คิดเป็น 10.8% และจำนวนปีที่มีจันทรุปราคา ครั้ง คิดเป็น 0.7%

ลำดับเหตุการณ์

จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 31 มกราคม 2561 เป็นจันทรุปราคาครั้งแรกของปีจากทั้งหมดสองครั้ง ปรากฏการณ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะเงามัวของโลกเมื่อเวลา 17:51 น. ขณะนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น จังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกสุดอย่างอุบลราชธานีและอำนาจเจริญ ดวงจันทร์เริ่มโผล่เหนือขอบฟ้าแล้ว แต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ตก จึงเห็นดวงจันทร์ได้ไม่ชัดเจนหรืออาจไม่เห็น เนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ที่ขอบฟ้า อาจมีเมฆหมอกบัง และท้องฟ้ายังสว่างอยู่ ถึงแม้ว่าท้องฟ้ามืดเราก็ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนดวงจันทร์ ณ เวลานี้่ เพราะเงามัวมีความทึบแสงต่ำ
เวลา 18:20 น. อาจเริ่มสังเกตเห็นว่าพื้นที่ใกล้ขอบด้านล่างของดวงจันทร์เริ่มหมองคล้ำกว่าด้านบน เนื่องจากเงามัวกินลึกเข้าไปราวครึ่งหนึ่งของพื้นผิวด้านสว่างของดวงจันทร์
เวลา 18:48 น. ดวงจันทร์เริ่มแตะเงามืดของโลก ถือเป็นการเริ่มต้นจันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์จะเริ่มแหว่งเว้าเนื่องจากเงามืดเริ่มบัง (เราอาจรู้สึกว่าดวงจันทร์ดูเหมือนแหว่งไปบ้างแล้วก่อนหน้าเวลานี้ไม่นาน เนื่องจากขอบเงามืดไม่คมชัดอย่างที่แสดงในแผนภาพการเกิดจันทรุปราคา)
เมื่อเวลาผ่านไป เงามืดจะกินลึกเข้าไปในดวงจันทร์มากขึ้นเรื่อย ๆ บังครึ่งดวงในเวลาประมาณ 19:20 น. และเริ่มบังหมดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 19:52 น. ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าไปในเงามืดลึกที่สุดในเวลา 20:30 น. จากนั้นจันทรุปราคาเต็มดวงสิ้นสุดเมื่อขอบด้านล่างของดวงจันทร์เริ่มโผล่พ้นเงามืดในเวลา 21:08 น. รวมเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงนาน ชั่วโมง 16 นาที

แนวการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลก (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

ระหว่างที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่มืดสนิทแต่มีสีแดงคล้ำ อาจผสมกับสีน้ำตาล ส้ม เหลือง และบางครั้งมีสีฟ้าเจืออยู่เล็กน้อยที่ขอบดวง โดยเฉพาะในช่วงเริ่มหรือสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง สาเหตุที่ดวงจันทร์เป็นสีแดงเนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านบรรยากาศโลก เกิดการกระเจิงและการหักเหของแสง แสงสีแดงกระเจิงน้อยที่สุด จึงผ่านบรรยากาศโลกไปตกกระทบผิวดวงจันทร์
สีและความสว่างที่ต่างกันในจันทรุปราคาแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงาโลกและสภาพของบรรยากาศโลกตรงบริเวณแนวที่คั่นระหว่างด้านกลางวันกับด้านกลางคืนของโลก นักดาราศาสตร์บอกความสว่างและสีของดวงจันทร์ด้วยค่าแอล (L) ตามมาตราดังชง คิดค้นโดย อองเดร ลุย ดังชง นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส กำหนดให้

L=0ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น โดยเฉพาะในช่วงที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด
L=1ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก
L=2ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่างกว่า
L=3ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง
L=4ดวงจันทร์สว่างเป็นสีทองแดงหรือสีส้ม ขอบเงามืดมีสีฟ้าและสว่างมาก


ช่วงที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวปู มีกระจุกดาวรังผึ้งซึ่งอยู่บริเวณกลางกลุ่มดาวอยู่สูงเหนือดวงจันทร์ประมาณ 5° สังเกตได้ดีในกล้องสองตา นอกจากนี้ยังเห็นดาวสว่างหลายดวงในกลุ่มดาวหลายกลุ่มใกล้ ๆ กัน ทั้งกลุ่มดาวนายพราน หมาใหญ่ หมาเล็ก คนคู่ สารถี และกลุ่มดาววัว หากมองไปเหนือศีรษะจะเห็นกระจุกดาวลูกไก่
หลังจากสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง เงามืดจะค่อย ๆ เคลื่อนออกจากดวงจันทร์ พื้นที่ด้านสว่างบนผิวดวงจันทร์เพิ่มขึ้นจนถึงครึ่งดวงในเวลาประมาณ 21:40 น. ดวงจันทร์กลับมาสว่างเต็มดวงในเวลา 22:11 น. แต่ดวงจันทร์ยังไม่สว่างเต็มที่ เพราะยังอยู่ในเงามัว ดวงจันทร์ทั้งดวงจะออกจากเงามัวในเวลา 23:09 น. ถือเป็นจุดสิ้นสุดปรากฏการณ์อย่างสมบูรณ์

จันทร์สีเลือด บลูมูน และซูเปอร์มูน

จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ถูกเรียกว่า super blue blood moon เป็นการผนวกเข้าด้วยกันระหว่างคำว่า supermoon, blue moon และ blood moon โดย
supermoon เป็นคำที่เราพบได้บ่อยขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ใช้เรียกจันทร์เพ็ญ (หรือจันทร์ดับ) ที่ดวงจันทร์มีตำแหน่งอยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุดในวงโคจรซึ่งเป็นวงรีรอบโลก ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยราว 7% และใหญ่กว่าเมื่ออยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุดราว 14% อย่างไรก็ตาม เรารู้สึกว่าดวงจันทร์มีขนาดใหญ่ผิดปรกติเมื่อดวงจันทร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าโดยไม่จำเป็นต้องเป็นวันที่เกิดซูเปอร์มูน ภาพลวงตานี้เกิดจากมีสิ่งต่าง ๆ ที่ขอบฟ้ามาเทียบเคียงกับดวงจันทร์
blue moon โดยทั่วไปไม่ได้หมายถึงดวงจันทร์สีน้ำเงิน แต่ใช้เรียกจันทร์เพ็ญครั้งที่ ของเดือนในปฏิทิน ความหมายเดิมของคำนี้ใช้กับจันทร์เพ็ญครั้งที่ ของฤดูที่มีจันทร์เพ็ญ ครั้ง เช่น ฤดูใบไม้ผลิใน พ.ศ. 2559 มีจันทร์เพ็ญ ครั้ง ได้แก่ 23 มีนาคม, 22 เมษายน, 22 พฤษภาคม และ 20 มิถุนายน ซึ่งก็คือจันทร์เพ็ญครั้งแรกอยู่ต้นฤดู และครั้งสุดท้ายอยู่ปลายฤดู จันทร์เพ็ญครั้งที่ (22 พฤษภาคม) เรียกว่าบลูมูนตามนิยามดั้งเดิม
ส่วนที่มาของคำว่า blue มีคำอธิบายว่านำมาใช้แทนคำว่า belewe ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษเก่า มีสองความหมาย คือ สีน้ำเงินและการทรยศ บลูมูนจึงเป็นจันทร์เพ็ญครั้งที่ 13 ในปีหนึ่งซึ่งควรมีจันทร์เพ็ญแค่ 12 ครั้ง 
blood moon บางคนใช้เรียกจันทรุปราคาเต็มดวง ซึ่งดวงจันทร์เป็นสีแดงคล้ายสีเลือดขณะถูกเงามืดของโลกบังหมดทั้งดวง
ข้อมูลบางแหล่งกล่าวว่าจันทรุปราคาเต็มดวงที่ตรงกับบลูมูนก่อนหน้าครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อกว่า 150 ปีที่แล้ว ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1866 นั่นเป็นกรณีสำหรับซีกโลกด้านอเมริกา สำหรับประเทศไทย เคยเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงและบลูมูนพร้อมกันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เห็นได้ในเวลาหัวค่ำ และเป็นซูเปอร์มูนด้วย เพราะใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด
สำหรับครั้งถัดไปที่จะเกิดเหตุการณ์ อย่างพร้อมกันเช่นนี้ คือ จันทรุปราคาเต็มดวง บลูมูน และซูเปอร์มูน จะมีขึ้นในวันที่ 31 มกราคม 2580 เห็นได้ในประเทศไทย
ครั้งถัดไปที่จะเกิดจันทรุปราคาพร้อมกับซูเปอร์มูน คือวันที่ 21 มกราคม 2562 (ไม่เห็นในประเทศไทย) ถัดไปอีกครั้งหนึ่ง คือ 26 พฤษภาคม 2564 ประเทศไทยเห็นได้ในช่วงท้ายของปรากฏการณ์
        ส่วนกรณีที่เป็นจันทรุปราคาพร้อมกับบลูมูน ครั้งถัดไปคือ 31 ธันวาคม 2571 ซึ่งครั้งนี้น่าสนใจมากสำหรับประเทศไทย เพราะว่าเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงที่นับถอยหลังเข้าสู่ปี 2572 (บังหมดดวงระหว่างเวลา 23:16 00:28 น.)

จันทรุปราคาครั้งถัดไป

จันทรุปราคาครั้งถัดไปหลังจากครั้งนี้จะเกิดขึ้นในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 (รอสังเกตได้ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของคืนวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม) โดยจันทรุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นระหว่างเวลา 02:30 - 04:13 น. โอกาสเห็นสำหรับประเทศไทยอาจไม่ค่อยดีนักเนื่องจากเป็นกลางฤดูฝน มีโอกาสที่จะถูกเมฆบัง อย่างไรก็ตาม หากบังเอิญเป็นช่วงที่ฝนลดลง อาจพอจะสังเกตได้ในบางพื้นที่