สมาคมดาราศาสตร์ไทย

จันทรุปราคาคืนวันสิ้นปี 2552

จันทรุปราคาคืนวันสิ้นปี 2552

23 ธันวาคม 2552
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 11 พฤษภาคม 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
คืนวันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม 2552 ซึ่งเป็นคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จะเกิดจันทรุปราคาเห็นได้ทั่วประเทศ จันทรุปราคามี ชนิด ได้แก่ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว จันทรุปราคาเต็มดวงหมายถึงจันทรุปราคาที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์มืดสลัวลงมาก และมีสีส้มหรือน้ำตาล จันทรุปราคาบางส่วนเกิดเมื่อดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบดบังเพียงบางส่วนของดวง ส่วนจันทรุปราคาเงามัวเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้น จันทรุปราคาชนิดสุดท้ายนี้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยากจึงไม่ค่อยน่าสนใจ

การเกิดเงามืดและเงามัวระหว่างจันทรุปราคา (ไม่ได้วาดตามมาตราส่วนจริง) 

ปรากฏการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นขณะดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ จันทรุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อดวงจันทร์สัมผัสเงามัวในเวลา 00:17 น. (เข้าสู่วันที่ มกราคม 2553) แม้ว่าจันทรุปราคาได้เริ่มขึ้นแล้ว แต่ขณะนั้นจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ คาดว่าน่าจะเริ่มสังเกตเห็นพื้นผิวดวงจันทร์คล้ำลงเล็กน้อยตั้งแต่เวลาประมาณ 01:20 น. จันทรุปราคาบางส่วนเริ่มขึ้นในเวลา 01:53 น. สังเกตได้ว่าขอบดวงจันทร์ด้านซ้ายมือจะคล้ำมากและเริ่มแหว่ง

เวลา 02:23 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด ขอบดวงจันทร์ด้านทิศใต้ซึ่งอยู่ทางซ้ายมือเมื่อแหงนหน้าขึ้นมองไปบนฟ้า จะถูกเงามืดของโลกบังไปเพียงราว 8% วัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์มีมุมเงยเหนือขอบฟ้าประมาณ 60 องศา หลังจากนั้นดวงจันทร์จะเคลื่อนออกจากเงาโลก กลับมาเต็มดวงในเวลา 02:53 น. แต่เนื่องจากดวงจันทร์ยังอยู่ในเงามัว เราจึงเห็นพื้นผิวดวงจันทร์หมองคล้ำอยู่เล็กน้อยต่อไปอีกจนถึงเวลาประมาณ 03:20 น. จันทรุปราคาครั้งนี้สิ้นสุดอย่างสมบูรณ์เมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามัวในเวลา 04:28 น.


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาบางส่วน มกราคม 2553
เหตุการณ์เวลามุมเงย (ที่กรุงเทพฯ)มุมทิศ (ที่กรุงเทพฯ)
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)00:17:06 น.79°359°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์เริ่มแหว่ง)01:52:41 น.66°299°
3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)02:22:39 น.59°294°
4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์ทั้งดวงออกจากเงามืด)02:52:44 น.53°292°
5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก04:28:15 น.32°290°


ส่วนอื่น ๆ ของโลกที่เห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้พร้อมประเทศไทย ได้แก่ ทวีปยุโรป แอฟริกา เอเชีย และตะวันตกของออสเตรเลีย ประเทศในเอเชียและออสเตรเลียเห็นจันทรุปราคาในเช้ามืดวันที่ มกราคม 2553 ขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงบนท้องฟ้าทิศตะวันตก ส่วนยุโรปและแอฟริกาจะเห็นจันทรุปราคาในค่ำวันที่ 31 ธันวาคม ขณะดวงจันทร์กำลังเคลื่อนสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าทิศตะวันออก

จันทรุปราคาในช่วงรอยต่อของปี

จันทรุปราคาในช่วงรอยต่อของปีตามปฏิทินสากลและเวลาท้องถิ่น คือในคืนวันที่ 31 ธันวาคม หรือเช้ามืดวันที่ มกราคม เกิดขึ้นยากมาก ถ้าคิดเฉพาะจันทรุปราคาเงามืด (แบบบางส่วนและเต็มดวง) ประเทศไทยเคยเกิดขึ้นล่าสุดเมื่อ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1656 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นยุคที่เรายังไม่ใช้ปฏิทินสากล

จันทรุปราคาคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่เกิดจันทรุปราคาในคืนวันสิ้นปีนับตั้งแต่เปลี่ยนมาใช้ปฏิทินสากล ครั้งถัดไปจะเกิดในคืนวันสิ้นปี พ.ศ. 2571 เป็นครั้งที่น่าสนใจอย่างยิ่งและต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เพราะจากผลการคำนวณพบว่าดวงจันทร์จะถูกเงาโลกบังหมดทั้งดวงเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงระหว่างเวลา 23:16 00:28 น. ดังนั้นการนับถอยหลังเข้าสู่ปีใหม่ พ.ศ. 2572 ในประเทศไทยและประเทศในเขตเวลาเดียวกัน เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซียตะวันตก บางส่วนของมองโกเลีย ตอนกลางของรัสเซีย จะกระทำระหว่างที่กำลังเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงบนท้องฟ้า

มีข้อสังเกตว่า พ.ศ. 2571 ห่างจาก พ.ศ. 2552 เป็นระยะเวลา 19 ปี ซึ่งตรงกับวัฏจักรดวงจันทร์หรือวัฏจักรเมตอน (Metonic cycle) ที่ทุก ๆ 19 ปี ดิถีจันทร์จะกลับมาซ้ำเดิมในวันและเดือนเดียวกันในปฏิทิน หลังจากผ่านพ้นปี 2571 ไปแล้ว อีกเกือบ 400 ปี ประเทศไทยจึงจะเกิดจันทรุปราคาในช่วงรอยต่อของปีอีกครั้งในวันสิ้นปี พ.ศ. 2943 (เป็นจันทรุปราคาบางส่วนในช่วงใกล้เช้ามืดวันที่ มกราคม พ.ศ. 2944)

จันทรุปราคาบางส่วนและเต็มดวงที่เกิดขึ้นในคืนวันที่ 31 ธันวาคม หรือเช้ามืดวันที่ มกราคม ตามเวลาในประเทศไทย ระหว่าง ค.ศ. 1001-3000 (พ.ศ. 1544-3543)
วันที่ชนิดเริ่มคราสบางส่วนเริ่มคราสเต็มดวงบังเต็มที่สิ้นสุดคราสเต็มดวงสิ้นสุดคราสบางส่วน
31 ธันวาคม พ.ศ. 1650บางส่วน22:21 น.-23:28 น.-00:36 น.
31 ธันวาคม พ.ศ. 2180บางส่วน17:11 น.-18:41 น.-20:11 น.
31 ธันวาคม พ.ศ. 2199เต็มดวง15:53 น.16:53 น.17:40 น.18:28 น.19:28 น.
มกราคม พ.ศ. 2553บางส่วน01:53 น.-02:23 น.-02:53 น.
31 ธันวาคม พ.ศ. 2571เต็มดวง22:08 น.23:16 น.23:52 น.00:28 น.01:36 น.
มกราคม พ.ศ. 2944บางส่วน04:03 น.-05:09 น.-06:15 น.
31 ธันวาคม พ.ศ. 2981บางส่วน22:07 น.-23:46 น.-01:25 น.
มกราคม พ.ศ. 3354เต็มดวง00:30 น.01:34 น.02:26 น.03:18 น.04:22 น.










หมายเหตุ:

คาบการหมุนรอบตัวเองของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ทำให้เวลาเกิดคราสสำหรับเหตุการณ์ในอนาคตมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ (ยิ่งไกลจากปัจจุบันมาก ยิ่งมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง)
เวลาประเทศไทย ใช้เวลาตามเขตเวลาซึ่งเร็วกว่าเวลาสากล ชั่วโมง

ปีหน้ามีจันทรุปราคาที่เห็นได้ในประเทศไทยเพียงครั้งเดียว เป็นจันทรุปราคาบางส่วนในช่วงหัวค่ำของวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553 ซึ่งตรงกับวันสุนทรภู่ ปรากฏการณ์ดำเนินอยู่ในระหว่างที่ดวงอาทิตย์ตกและดวงจันทร์ขึ้นบนท้องฟ้าประเทศไทย