สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาและดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2555

อุปราคาและดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2555

16 มกราคม 2555
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2555 มีอุปราคาทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคา ครั้ง กับจันทรุปราคา ครั้ง สุริยุปราคาเกิดในช่วงจันทร์ดับ ดวงจันทร์เคลื่อนมาอยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้เงาดวงจันทร์พาดลงมาบนผิวโลก คนที่อยู่ใต้เงาจะมองเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บัง สังเกตได้โดยดูผ่านแผ่นกรองแสงเพื่อลดความสว่างของดวงอาทิตย์

จันทรุปราคาเกิดในช่วงจันทร์เพ็ญ ดวงจันทร์เคลื่อนเข้าสู่เงาโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหรือมืดสลัวไปเนื่องจากเงาของโลกบังดวงจันทร์ สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากทุกสถานที่ที่อยู่ในด้านกลางคืนของโลกซึ่งหันเข้าหาดวงจันทร์

เงาที่ต้นกำเนิดแสงเป็นดวงอาทิตย์ มีอยู่ ส่วน ได้แก่ เงามืดและเงามัว ในกรณีของสุริยุปราคา คนที่อยู่ใต้เงามัวจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังบางส่วน ใต้เงามืดจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังหมดทั้งดวง สุริยุปราคาที่มีแต่เงามัวของดวงจันทร์เท่านั้นที่สัมผัสผิวโลก จะเรียกสุริยุปราคาครั้งนั้นว่าสุริยุปราคาบางส่วน

ในกรณีของจันทรุปราคา หากดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง เรียกว่าจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท แต่จะกลายเป็นสีแดงอิฐ หรือสีส้ม เนื่องจากแสงอาทิตย์หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาบางส่วน จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาเงามัว

เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นครั้งใด อีกราว 6,585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (Saros) ถูกแบ่งออกเป็นชุด (series) ต่าง ๆ กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข

นอกจากสุริยุปราคาซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์แล้ว ปีนี้ยังจะมีปรากฏการณ์ที่ดาวศุกร์เคลื่อนมาบังบางส่วนของดวงอาทิตย์ด้วย เรียกว่าดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของอุปราคาทั้ง ครั้ง และดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2555

สุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ ตุลาคม 2548 (ภาพ – sancho_panza/Wikimedia Commons) 

1. สุริยุปราคาวงแหวน 21 พฤษภาคม 2555

อุปราคาครั้งแรกของปีเกิดขึ้นในเช้าวันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2555 ตามเวลาประเทศไทย ดวงจันทร์เพิ่งจะผ่านตำแหน่งไกลโลกที่สุดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม วันนี้ดวงจันทร์จึงอยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ เกิดเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสวงแหวนผ่านจีน ญี่ปุ่น ทางเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา


สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา 03:56 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเวลา 05:06 น. เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกในอ่าวตังเกี๋ย ความกว้างของเงาอยู่ที่ 324 กิโลเมตร โดยเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็ว ผ่านพื้นที่บางส่วนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง รวมทั้งมณฑลที่อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ได้แก่ เจียงซี กว่างตง ฝูเจี้ยน และเจ้อเจียง พื้นที่เล็ก ๆ ตรงชายฝั่งทางเหนือของเกาะไห่หนานมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนเป็นเวลาสั้น ๆ ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น

เมืองกว่างโจวในมณฑลกว่างตงอยู่ใกล้เส้นกลางคราส เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 26 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 5° เขตบริหารพิเศษฮ่องกงอยู่ห่างไปทางใต้ แต่ยังอยู่ในเขตสุริยุปราคาวงแหวน เกาะฮ่องกงเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาทีครึ่ง เมืองฝูโจวในมณฑลฝูเจี้ยนเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 15 วินาที มุมเงย 12° ขอบเขตด้านทิศเหนือลากผ่านพื้นที่ทางใต้ของมณฑลเจ้อเจียง

เงาคราสวงแหวนปกคลุมตอนเหนือของช่องแคบไต้หวัน ก่อนเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนตะวันออก ขอบเขตด้านทิศใต้ของแนวสุริยุปราคาวงแหวนผ่านตอนเหนือของเกาะไต้หวัน เมืองไทเปเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 53 วินาที มุมเงย 13°

หลังจากผ่านทะเลจีนตะวันออก เงาคราสวงแหวนแตะแผ่นดินอีกครั้งที่ประเทศญี่ปุ่น โดยผ่านเกาะเล็ก ๆ และพื้นที่บางส่วนของภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ คีวชู ชิโกะกุ คันไซ จูบุ คันโต และโทโฮะกุ เมืองโอซะกะอยู่ในเส้นทางคราสวงแหวน แต่ใกล้ขอบเขตด้านทิศเหนือ เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 52 วินาที มุมเงย 31° นะโงะยะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 40 วินาที มุมเงย 32° โตเกียวอยู่ใกล้เส้นกลางคราส เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที วินาที มุมเงย 35°


หลังจากผ่านญี่ปุ่น แนวคราสวงแหวนลากผ่านพื้นที่กว้างใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก กึ่งกลางคราสซึ่งเห็นสุริยุปราคาวงแหวนเกือบนานที่สุด อยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทร นาน นาที 46 วินาที เกิดขึ้นเวลา 06:53:46 น. ที่นั่นเงาคราสวงแหวนกว้าง 237 กิโลเมตร จากนั้นข้ามเส้นแบ่งวันตรงลองจิจูด 180° ในเวลา 07:00 น. แล้วมุ่งหน้าไปแตะชายฝั่งบริเวณพรมแดนระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนียกับออริกอน ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกาในเวลาประมาณ 08:23 น.

เงาคราสวงแหวนผ่านพื้นที่บางส่วนของหลายรัฐในอเมริกันเวสต์ ได้แก่ ออริกอน แคลิฟอร์เนีย เนวาดา ยูทาห์ แอริโซนา โคโลราโด นิวเม็กซิโก และเทกซัส ขณะนั้นเป็นช่วงเย็นของวันที่ 20 พฤษภาคม ตามเวลาท้องถิ่น ขณะแตะชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา ผู้ที่อยู่ตรงแนวเส้นกลางคราสจะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 48 วินาที มุมเงย 22° เงาคราสวงแหวนเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก พาดผ่านเทือกเขาและที่ราบสูงด้านตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ลาสเวกัสในรัฐเนวาดาอยู่ห่างไปทางทิศใต้ นอกแนวคราสวงแหวน

เมืองเซนต์จอร์จ รัฐยูทาห์ เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 12 วินาที มุมเงย 11° เมืองอัลบาเคอร์คี เมืองใหญ่ที่สุดของรัฐนิวเม็กซิโก อยู่ใกล้แนวกลางคราส เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 26 วินาที มุมเงย 5° เงาคราสวงแหวนหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 08:39 น. บริเวณรัฐเทกซัส หลังจากนั้น ปรากฏการณ์จะสิ้นสุดเมื่อเงามัวหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 09:49 น.


พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้ มีโอกาสเห็นสุริยุปราคาบางส่วนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น ภาคกลางเห็นดวงอาทิตย์แหว่งเล็กน้อย และสิ้นสุดปรากฏการณ์ไปไม่นานหลังดวงอาทิตย์ขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุดและนานกว่าภาคอื่น 

บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้คือส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก และส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือ สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากเอเชีย และดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากหลายรัฐในสหรัฐอเมริกา

สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นที่จุดโหนดลงในวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 58 ใน 73 ครั้งของซารอสที่ 128 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 984 สิ้นสุดในวันที่ พฤศจิกายน ค.ศ. 2282 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 24 ครั้ง เต็มดวง ครั้ง ผสม ครั้ง วงแหวน 32 ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ ชุดซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ สิ้นสุดบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 45 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ มิถุนายน ค.ศ. 1453 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 35 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1832

2. จันทรุปราคาบางส่วน มิถุนายน 2555


จันทรุปราคาบางส่วนครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันจันทร์ที่ มิถุนายน 2555 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 17:00 น. และถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 18:03 น. คิดเป็นขนาดความลึก 37% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ สองเวลานี้ประเทศไทยยังไม่เห็น เนื่องจากดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น และเป็นเวลากลางวัน

จันทรุปราคาบางส่วน 17 สิงหาคม 2551 (จาก ศิรวิศ สุรพฤกษ์)

ดวงจันทร์จะขึ้นมาเหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในช่วงครึ่งหลังของปรากฏการณ์ กรุงเทพฯ ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 18:41 น. ถูกเงามืดของโลกบังอยู่ราว 20% จากนั้นกลับมาสว่างเต็มดวงเวลา 19:07 น. ดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าเป็นมุมเพียง 5° และท้องฟ้ายังไม่มืด จึงมีเวลาสังเกตจันทรุปราคาขณะถูกเงามืดบังได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง และอาจสังเกตได้ยาก เนื่องจากอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเวลาสังเกตได้นานกว่า เนื่องจากดวงจันทร์ขึ้นก่อนกรุงเทพฯ เช่น ที่อุบลราชธานี ดวงจันทร์ขึ้นตั้งแต่เวลา 18:25 น.

พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือและใต้ (ยกเว้นด้านตะวันออก) และทวีปแอนตาร์กติกา ผู้ที่อยู่ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียจะเกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นในค่ำวันที่ มิถุนายน ส่วนอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้เกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงในเวลาเช้ามืดของวันเดียวกัน ตามเวลาท้องถิ่น

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา มิถุนายน 2555
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 15:48:08 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 16:59:51 น.
3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 18:03:12 น.
4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 19:06:30 น.
5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 20:18:16 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นที่จุดโหนดขึ้นในวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ห่างดาวแอนทาเรสในกลุ่มดาวแมงป่องประมาณ 8° เป็นจันทรุปราคาครั้งที่ 24 ใน 77 ครั้ง ของซารอสที่ 140 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1597 2968 ซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 20 ครั้ง บางส่วน ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน ครั้ง และเงามัว 14 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2246 และ พฤศจิกายน ค.ศ. 2264 นาน ชั่วโมง 38.6 นาที


3. สุริยุปราคาเต็มดวง 14 พฤศจิกายน 2555

สุริยุปราคาเต็มดวงในเช้าวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2555 เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนที่ดวงจันทร์จะใกล้โลกที่สุดประมาณ 12 ชั่วโมง ดวงจันทร์จึงอยู่ใกล้จนสามารถบดบังดวงอาทิตย์ได้มิดทั้งดวง เส้นทางคราสเต็มดวงผ่านออสเตรเลียและมหาสมุทรแปซิฟิก


สุริยุปราคาครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 02:38 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นสุริยุปราคาเต็มดวงเริ่มเมื่อเงามืดแตะผิวโลกบนแผ่นดินทางตอนเหนือของรัฐนอร์เทิร์นเทริทอรีในเวลา 03:35 น. จุดนั้นอยู่ห่างจากเมืองดาร์วินไปทางทิศตะวันออกประมาณ 250 กิโลเมตร หากท้องฟ้าโปร่งจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน นาที 41 วินาที

เงามืดเคลื่อนตัวไปทางตะวันออก พาดผ่านอ่าวคาร์เพนแทเรีย แตะแผ่นดินอีกครั้งบนคาบสมุทรเคปยอร์ก ทางตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ แล้วลงสู่ทะเลคอรัลในมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งตะวันออกที่หันหน้าออกสู่ทะเล เป็นบริเวณที่มีโอกาสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ดีที่สุดบริเวณหนึ่งของออสเตรเลีย เนื่องจากดวงอาทิตย์จะขึ้นมาเหนือขอบฟ้าทางทิศนี้ บริเวณดังกล่าวมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เมืองเคร์นส์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 151,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในแนวคราสเต็มดวง ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 14°

พอร์ตดักลาส เมืองท่องเที่ยวที่มีประชากรราว 1,000 คน อยู่ถัดขึ้นไปทางเหนือของเคร์นส์ราว 60 กิโลเมตร แต่อยู่ใกล้แนวกลางคราสมากกว่า เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที วินาที การท่องเที่ยวที่นั่นเตรียมจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอนในเช้าวันสุริยุปราคา โดยให้แสงอาทิตย์ที่ฉายออกมาหลังสิ้นสุดสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นสัญญาณปล่อยตัว ผู้จัดคาดว่าจะมีนักวิ่งจากทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 2,000 คน

หลังจากผ่านออสเตรเลีย เส้นทางคราสเต็มดวงลงสู่ทะเลคอรัล ผ่านแนวปะการังเกรตแบเรียรีฟ แล้วผ่านไปทางเหนือของเกาะนอร์ฟอล์ก ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะนิวแคลิโดเนียกับนิวซีแลนด์ เป็นระยะทางราว 160 กิโลเมตร เงามืดของดวงจันทร์ลากผ่านตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกโดยไม่ผ่านเกาะหรือหมู่เกาะขนาดใหญ่ จากนั้นข้ามเส้นแบ่งวันตรงลองจิจูด 172.5° ตะวันตก ในเวลาประมาณ 04:46 น. เงาดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุดในเวลา 05:11:47 น. เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที วินาที ที่จุดนั้น เงามืดของดวงจันทร์กว้าง 179 กิโลเมตร

เงามืดเคลื่อนต่อไปจนกระทั่งเวลา 06:48 น. จึงหลุดออกจากผิวโลกในมหาสมุทร ตรงกลางระหว่างเกาะฮวนแฟร์นันเดซกับเกาะซานเฟลิกซ์ ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซานติอาโกในประเทศชิลีเกือบ 1,000 กิโลเมตร หลังจากนั้น เงามัวจะหลุดออกจากผิวโลกเวลา 07:46 น. สิ้นสุดสุริยุปราคาในวันนี้


บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนซึ่งเงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ในแปซิฟิกใต้ ตอนล่างของทวีปอเมริกาใต้ และบางส่วนของแอนตาร์กติกา สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากด้านตะวันตกของออสเตรเลีย นิวกินี ปาปัวนิวกินี และดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากชิลีและอาร์เจนตินา

สุริยุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นที่จุดโหนดขึ้นในวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 45 ใน 72 ครั้งของซารอสที่ 133 ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1219 สิ้นสุดในวันที่ กันยายน ค.ศ. 2499 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 12 ครั้ง วงแหวน ครั้ง ผสม ครั้ง เต็มดวง 46 ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ ซารอสนี้เริ่มบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ สิ้นสุดใกล้ขั้วโลกใต้ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้คือ นาที 14 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1453 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 50 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ สิงหาคม ค.ศ. 1850

สุริยุปราคาในซารอสที่ 133 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยมี ครั้ง ครั้งแรกคือสุริยุปราคาเต็มดวงที่คณะบาทหลวงเยซูอิตชาวฝรั่งเศสตั้งกล้องถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรที่พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระที่นั่งเย็น) เมืองละโว้ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 (เห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน) ครั้งที่ คือสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนวณและเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรที่บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยคณะสำรวจจากอังกฤษและฝรั่งเศส

4. จันทรุปราคาเงามัว 28 พฤศจิกายน 2555

อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเป็นจันทรุปราคาเงามัว เกิดขึ้นในคืนวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ตรงกับคืนวันลอยกระทง ดวงจันทร์ถูกเงามัวของโลกบังลึกที่สุดเวลา 21:33 น. พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป ด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก และเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ ยกเว้นด้านตะวันออก

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดเงามัว ซึ่งคนทั่วไปมักสังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตดี ๆ จะพบว่าผิวดวงจันทร์หมองคล้ำลงเล็กน้อย เนื่องจากดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามัวเกือบทั้งดวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระหว่างเวลา ทุ่ม ซึ่งขอบด้านทิศเหนือจะคล้ำกว่าด้านทิศใต้

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 28 พฤศจิกายน 2555
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 19:14:57 น.
2. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 21:32:59 น.
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 23:51:01 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นที่จุดโหนดลงในวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาววัว ห่างดาวอัลเดบารันประมาณ 5° และมีดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างที่ระยะใกล้เคียงกัน วัตถุ ชิ้นนี้ทำมุมเกือบเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 ใน 71 ครั้ง ของซารอสที่ 145 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1832 3094 ซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 18 ครั้ง บางส่วน 10 ครั้ง เต็มดวง 15 ครั้ง บางส่วน 20 ครั้ง และเงามัว ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของซารอสนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ สิงหาคม ค.ศ. 2427 นาน ชั่วโมง 44.4 นาที


ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ มิถุนายน 2555

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวศุกร์เคลื่อนมาอยู่ในแนวระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกมีโอกาสเห็นดาวศุกร์ปรากฏเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ วันพุธที่ มิถุนายน 2555 ประเทศไทยสามารถสังเกตดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ในช่วงเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลาประมาณ 11:50 น. โดยดาวศุกร์เริ่มผ่านหน้าดวงอาทิตย์ตั้งแต่ประมาณ 20 นาที ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ประเทศไทย วันนั้นดาวศุกร์มีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 33 เท่า

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดเป็นคู่ ภายในคู่ห่างกัน ปี แต่ละคู่ห่างกัน 105 หรือ 120 ปี ระยะห่างระหว่างแต่ละครั้งจะมีรูปแบบที่แน่นอน คือ 8, 121.5, และ 105.5 ปี และวนซ้ำกันเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ มิถุนายน 2547 ซึ่งเห็นได้ในประเทศไทย หลังจากครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่าคนที่มีชีวิตอยู่บนโลกในปัจจุบันทั้งหมด จะไม่มีโอกาสได้เห็นดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อีก เพราะดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์คู่ถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2660 (ค.ศ. 2117) และวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2668 (ค.ศ. 2125)

แพรัลแลกซ์ของดาวศุกร์ทำให้การสังเกตดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จากสถานที่ต่างกัน ให้เวลาสัมผัสที่ต่างกัน ยกตัวอย่าง ที่กรุงเทพฯ สิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 11:49:51 น. แต่ที่โตเกียว สิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลา 11:47:27 น. ตามเวลาในเขตเวลาเดียวกัน (ถ้าแปลงเป็นเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่นต้องบวก ชั่วโมง) เป็นต้น

พื้นที่ที่เห็นปรากฏการณ์ได้ตลอดตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดคือประเทศทางด้านตะวันออกของเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ด้านตะวันออกของจีน มองโกเลีย ด้านตะวันออกของรัสเซีย ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย เกือบทั้งหมดของนิวซีแลนด์ ฮาวาย ด้านตะวันตกของแคนาดา และรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา พื้นที่ที่เห็นได้ขณะดวงอาทิตย์ขึ้น คือดาวศุกร์ได้เคลื่อนเข้ามาในดวงอาทิตย์แล้วก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ได้แก่ เกือบทั้งหมดของยุโรป ตะวันออกกลาง ด้านตะวันออกของแอฟริกา ด้านตะวันตกของเอเชีย ด้านตะวันตกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งประเทศไทย) และด้านตะวันตกของออสเตรเลีย

พื้นที่ที่เห็นได้ขณะดวงอาทิตย์ตก คือดวงอาทิตย์ตกขณะที่ดาวศุกร์ยังอยู่ในดวงอาทิตย์ ได้แก่ ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือ และด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ ซึ่งพื้นที่นี้ยังเป็นวันที่ มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่น

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในปี 2555 ปรากฏการณ์เกิดขึ้นในเช้าวันที่ มิถุนายน ตามเวลาประเทศไทย ส่วนทวีปอเมริกาเหนือและใต้จะเห็นได้ในเย็นวันที่ มิถุนายน ตามเวลาท้องถิ่น ภาพนี้แสดงเวลาที่ดาวศุกร์สัมผัสขอบดวงอาทิตย์ ซึ่งแบ่งเป็น สัมผัส ตามเวลาประเทศไทย โดยสมมุติว่าสังเกตการณ์จากศูนย์กลางโลก หรืออีกนัยหนึ่งคือสังเกตจากผิวโลกขณะดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเหนือศีรษะ แพรัลแลกซ์ของดาวศุกร์ ทำให้เวลาที่มองเห็นดาวศุกร์แตะขอบดวงอาทิตย์จากสถานที่ต่าง ๆ เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน สำหรับกรุงเทพฯ จะเห็นได้เฉพาะสัมผัสที่ และ เกิดขึ้นในเวลา 11:32:28 น. และ 11:49:51 น. ตามลำดับ 

พ.ศ. 2556

จันทรุปราคาบางส่วน 26 เมษายน 2556 ประเทศไทยเห็นได้ในเวลากลางดึก ขณะบังลึกที่สุดเวลา 03:07 น. ดวงจันทร์แหว่งเพียง 1.5%
สุริยุปราคาวงแหวน 10 พฤษภาคม 2556 แนวคราสวงแหวนผ่านออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะกิลเบิร์ตในคิริบาส และตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
จันทรุปราคาเงามัว 25 พฤษภาคม 2556 ไม่เห็นในประเทศไทย
จันทรุปราคาเงามัว 19 ตุลาคม 2556 ประเทศไทยเห็นได้ขณะดวงจันทร์ตก แต่ดวงจันทร์ลดความสว่างลงน้อยมาก ยากที่จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง
สุริยุปราคาผสม พฤศจิกายน 2556 แนวคราสวงแหวนเริ่มต้นทางด้านตะวันตกของแอตแลนติกเหนือ จากนั้นแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก แล้วเข้าสู่ตอนกลางของทวีปแอฟริกา โดยผ่านกาบอง สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยา เอธิโอเปีย และโซมาเลีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

ดูเพิ่ม

 สุริยุปราคา 21 พฤษภาคม 2555
 จันทรุปราคาบางส่วน มิถุนายน 2555
 ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ มิถุนายน 2555
 จันทรุปราคา พ.ศ. 2551-2555
 สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดวงอาทิตย์
 สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดวงจันทร์
 ถ่ายทอดสด ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ มิถุนายน 2547