สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดูดาวพุธตอนเช้ามืด (เมษายน 2548)

ดูดาวพุธตอนเช้ามืด (เมษายน 2548)

10 กุมภาพันธ์ 2548
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
เดือนเมษายนจะมองเห็นดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น สำหรับประเทศไทย ช่วงที่ดูดาวพุธได้ดีที่สุดเริ่มตั้งแต่ประมาณวันที่ 20 เมษายน เมื่อดาวพุธอยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาประมาณ 5.10 น. ขณะนี้ดาวพุธจะมีความสว่างใกล้เคียงกับดาวอังคารที่กำลังจะออกจากกลุ่มดาวแพะทะเลเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ แต่อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าและห่างไปทางซ้ายมือของดาวอังคาร หากท้องฟ้าโปร่งน่าจะมองเห็นดาวพุธได้ง่าย เพราะบริเวณนี้ไม่มีดาวสว่างดวงอื่นที่สว่างกว่าดาวพุธและดาวอังคาร

ในวันถัด ๆ ไป ณ เวลาเดียวกัน ดาวพุธจะมีตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิมเมื่อเทียบกับขอบฟ้า แต่ความสว่างจะเพิ่มขึ้นทีละน้อย จากโชติมาตร 0.8 ในวันที่ 20 เมษายน ไปอยู่ที่ 0.3 ในวันที่ พฤษภาคม หากดูด้วยกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูง วันที่ 20 เมษายน จะเห็นดาวพุธเป็นเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์ มีขนาดเชิงมุม 9.0 พิลิปดา ส่วนวันที่ พฤษภาคม จะมีส่วนสว่างครึ่งดวง แต่ขนาดเชิงมุมลดลงเหลือ 7.4 พิลิปดา เช้ามืดวันที่ พฤษภาคม ดวงจันทร์เสี้ยวบางๆ จะปรากฏอยู่เหนือดาวพุธเป็นมุม 4.5ฐ ทำให้สามารถมองเห็นดาวพุธและดวงจันทร์ได้พร้อมกันในกล้องสองตา

ดาวพุธปรากฏใกล้ขอบฟ้าก่อนรุ่งอรุณ 

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงมักสังเกตเห็นได้ไม่บ่อย เนื่องจากปรากฏเฉพาะเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังจะขึ้นหรือเพิ่งตกลับขอบฟ้าไปไม่นาน และส่วนใหญ่มีมุมเงยจากขอบฟ้าไม่มาก โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบใน 88 วัน จึงเคลื่อนที่เร็ว เวลาที่สามารถมองเห็นดาวพุธได้ คือ ขณะที่ดาวพุธทำมุมห่างสูงสุดจากดวงอาทิตย์ (greatest elongation) อย่างในช่วงเดือนนี้