สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับดาวหาง

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับดาวหาง

9 ตุลาคม 2546 โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 12 ธันวาคม 2559
ดาวหางที่เคยพบว่ามีหางมากที่สุดคือ ดาวหางเชอซู (Cheseaux) ที่ค้นพบในปี พ.ศ. ๒๒๘๓ มีหางไม่น้อยกว่า ๖ หาง

ดาวหางที่เคยเข้าใกล้โลกมากที่สุดคือ ดาวหางลีเซลล์ ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๓ โดย ชาลส์ เมสซิเยร์ ดาวหางได้เฉียดโลกไปเพียง ๒.๒ ล้านกิโลเมตร

ดาวหางรายคาบที่สว่างที่สุดคือ ดาวหางฮัลเลย์ มีคาบเท่ากับ 76 ปี ครั้งที่สว่างที่สุดคือ ปี พ.ศ. 1380 ในครั้งนั้นดาวหางได้เข้าใกล้โลกเพียง 0.04 หน่วยดาราศาสตร์ มีอันดับความสว่าง -3.5 และสาดหางออกไปยาวถึง 93 องศา

ดาวหางฮัลเลย์นั้นมีบันทึกการสังเกตมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3,000 ปี การปรากฏของดาวหางฮัลเลย์ในปี 2529 ที่ผ่านมานั้น นับเป็นครั้งที่แย่ที่สุดในรอบ 2,000 ปี ส่วนในครั้งต่อไปในปี 2604 นั้น ก็เชื่อว่าคงจะไม่ได้ความอีกเหมือนกัน

ดาวหางดวงแรกที่พบว่าพุ่งเข้าชนดวงอาทิตย์คือ 1979 XI (Howard-Kooman-Michels) พุ่งเข้าชนดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2522

ดวงหางดวงแรกที่พบว่าพุ่งเข้าชนดาวเคราะห์คือ ชูเมกเกอร์-เลวี่ ได้พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีในเดือน กรกฎาคม 2537

ดาวหางคาบสั้นดวงแรกที่สามารถคำนวณวงโคจรได้คือ ดาวหางเองเค

ดาวหางที่มีคาบสั้นที่สุดคือ ดาวหางเองเค มีคาบ 3.3 ปี

ดาวหางเองเคเป็นดาวหางที่มีบันทึกการปรากฏบ่อยครั้งที่สุด คือ 56 รอบ รองลงไปคือ ฮัลเลย์ 30 รอบ และดาวหางพอนส์-วินเนค 20 รอบ

ดาวหางที่มีวงโคจรรีที่สุดคือ ดาวหางเองเค มีความรี (eccentricity) เท่ากับ 0.85

ดาวหางที่มีวงโคจรกลมที่สุดคือ ดาวหางชวาสแมน-วอชแมน มีความรีเท่ากับ 0.11

ดาวหางที่มีวงโคจรเอียงมากที่สุดคือ ดาวหางทัทเติล มีความเอียง 54 องศา

ดาวหางที่มีระนาบวงโคจรเอียงน้อยที่สุดคือ Dutoit-Neujmin-Delporte มีมุมเอียง องศา

ดาวหางที่มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุด คือดาวหางชวาสแมน-วอชแมน (5.45 หน่วยดาราศาสตร์)

ดาวหางที่มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดคือ ดาวหางเองเค (0.34 หน่วยดาราศาสตร์)

ดาวหางที่มีจุดไกลสุดอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุดคือ ดาวหาง Neujmin (12.16 หน่วยดาราศาสตร์)

ดาวหางที่มีจุดไกลสุดอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดคือ ดาวหางเองเค (4.09 หน่วยดาราศาสตร์)

ดาวหางที่มีคาบยาวที่สุดที่เคยยืนยัน คือ ดาวหางเฮอร์เชล-ริโกเลต มีคาบยาว 156 ปี

ดาวหางที่มีคาบยาวที่สุดเท่าที่มีการคำนวณมาได้คือ ดาวหางฟินส์เลอร์(Finsler's comet) มีคาบการโคจรนานถึง 13,600,000 ปี

ดาวหางที่ได้รับการกล่าวขวัญว่าสวยงามที่สุด คือ ดาวหางโดนาติ ในปี 2401 ในช่วงเดือนตุลาคมของปีนั้น ดาวหางโดนาติได้สาดหางออกไปยาวถึงกว่า 80,000,000 กิโลเมตร

ดาวหางที่มีหางยาวที่สุดเท่าที่เคยบันทึกคือ ดาวหางเฮียกุตาเกะ มีหางยาวไม่น้อยกว่า 500,000,000 กิโลเมตร

ดาวหางใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยบันทึกคือ ดาวหางที่พบในปี พ.ศ.2354 เส้นผ่านศูนย์กลางของหัวดาวหางกว้างประมาณ 2,000,000 กิโลเมตร หรือใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ และมีหางยาวกว่า 160,000,000 กิโลเมตร

การศึกษาสเปกตรัมของดาวหางครั้งแรก มีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2407 โดย จี โดนาติ จากการศึกษาเขาได้พบว่า ดาวหางไม่เพียงสะท้อนสเปกตรัมของดวงอาทิตย์เท่านั้น ยังมีสเปกตรัมบางเส้นที่เกิดจากสารที่มีอยู่ในดาวหางเองด้วย

ดาวหางที่สว่างที่สุดในศตวรรษที่ 20 คือ ดาวหางกลางวันแห่งปี ค.ศ.1910(Day-light Comet of 1910) มีอันดับความสว่างประมาณ -5 (สว่างกว่าดาวศุกร์)

ดาวหางที่มีสีเขียวที่สุดคือ ดาวหาง Jorlov-Achmarov-Hassell ในปี พ.ศ.2482

ฝุ่นจากดาวหางที่ใหญ่ที่สุดที่เคยตรวจพบคือ ฝุ่นจากดาวหาง พี/เทมเปล (P/Temple2) ตรวจพบโดยดาวเทียม IRAS ในปี พ.ศ.2530 มีขนาดตั้งแต่ 0.006 มิลลิเมตร ไปจนถึงใหญ่ขนาด เซนติเมตร

ดาวหางที่ได้ชื่อว่าเป็นดาวหางแห่งความผิดหวังคือ ดาวหางโคฮูเทก ในปี พ.ศ.2516 ดาวหางดวงนี้ถูกค้นพบในขณะที่ดาวหางอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 700 ล้านกิโลเมตร ทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า เมื่อเข้าใกล้โลกจะต้องเป็นดาวหางที่มีความสว่างไสวอย่างมากแน่นอน แต่เมื่อถึงเวลานั้น โคฮูเทกกลับกลายเป็นแค่ดาวหางธรรมดาเล็ก ๆ ดวงหนึ่งเท่านั้น

ดาวหางดวงแรกที่ค้นพบในขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง คือ ดาวหางทีวฟิก(Tewfik's Comet) ค้นพบในปี พ.ศ.2425 ภาพการค้นพบครั้งนี้ถ่ายที่ประเทศอียิปต์ และหลังจากนั้นแล้วก็ไม่เห็นดาวหางดวงนี้อีกเลย ภาพ ๆ นั้นจึงเป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวเท่าที่มีอยู่

บุคคลที่เป็นผู้ค้นพบดาวหางมากที่สุดคือ เจ แอล พอนส์ พบ 37 ดวง ชาลส์ เมซิเยร์นักล่าดาวหางชื่อดังยังเป็นรองหลายขุม พบเพียง 13 ดวง ส่วนแชมป์ในศตวรรษที่ 20 นี้คือ บิลล์ แบรดฟิลด์ ค้นพบไม่ต่ำกว่า 14 ดวง

การถ่ายภาพดาวหางมีขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2404 โดยนักสำรวจชาวอังกฤษ W. de la Rue ได้พยายามถ่ายภาพดาวหางยักษ์แห่งปี ค.ศ.1861 แต่ว่าไม่สำเร็จ

นับตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปัจจุบัน (ตุลาคม 2540) ได้มีการค้นพบดาวหางแล้วทั้งสิ้น 76 ดวง ในจำนวนนี้ มี ดวงที่ค้นพบโดยคนสองคน และมี ดวงที่ค้นพบโดยคน คน 32 ดวงจาก 76 ดวงค้นพบในก่อนเที่ยงคืน และมี 44 ดวงถูกค้นพบหลังเที่ยงคืน 42 ดวงถูกค้นพบในซีกฟ้าเหนือ และ 34 ดวงถูกค้บพบในซีกฟ้าใต้ ในจำนวนดาวหาง 23 ดวงที่ถูกค้นพบโดยผู้ที่อาศัยอยู่ในซีกโลกใต้ เป็นดาวหางที่ถูกค้นพบในขณะอยู่ในซีกฟ้าใต้ทั้งสิ้น ส่วนผู้ค้นพบที่อาศัยอยู่ที่ซีกโลกเหนือ ได้ค้นพบดาวหางทั้งที่อยู่ในซีกฟ้าใต้และซีกฟ้าเหนือ

ดาวหางที่เข้าใกล้โลกมากที่สุด นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1700

ระยะห่าง (หน่วยดาราศาสตร์)วันที่ (TT)ดาวหาง
0.01511770 July 1.7D/1770 L1 (Lexell)
0.02291366 Oct. 26.455P/1366 U1 (Tempel-Tuttle)
0.03121983 May 11.5C/1983 H1 (IRAS-Araki-Alcock)
0.0334837 Apr. 10.51P/837 F1 (Halley)
0.03661805 Dec. 9.93D/1805 V1 (Biela)
0.03901743 Feb. 8.9C/1743 C1
0.03941927 June 26.87P/Pons-Winnecke
0.04371702 Apr. 20.2C/1702 H1
0.06171930 May 31.773P/1930 J1 (Schwassmann-Wachmann 3)
0.06281983 June 12.8C/1983 J1 (Sugano-Saigusa-Fujikawa)
0.06821760 Jan. 8.2C/1760 A1 (Great comet)
0.08391853 Apr. 29.1C/1853 G1 (Schweizer)
0.08791797 Aug. 16.5C/1797 P1 (Bouvard-Herschel)
0.0884374 Apr. 1.91P/374 E1 (Halley)
0.0898607 Apr. 19.21P/607 H1 (Halley)
0.09341763 Sept.23.7C/1763 S1 (Messier)
0.09641864 Aug. 8.4C/1864 N1 (Tempel)
0.09821862 July 4.6C/1862 N1 (Schmidt)
0.10181996 Mar. 25.3C/1996 B2 (Hyakutake)
0.10191961 Nov. 15.2C/1961 T1 (Seki)