สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ห้องสมุดดาราศาสตร์

พจนานุกรมดาราศาสตร์

ศัพท์ดาราศาสตร์น่ารู้ พร้อมศัพท์บัญญติและความหมาย

วารสารทางช้างเผือก

วารสารฉบับรายสามเดือนของสมาคมดาราศาสตร์ไทย

สารพันคำถาม

รวมคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับดาราศาสตร์

อ้าว.. เหรอ

เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับดาราศาสตร์

จริงหรือไม่ ใช่หรือมั่ว

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีการเผยแพร่กันในโซเชียลมีเดีย

ฐานข้อมูลวัตถุท้องฟ้า

ข้อมูลด้านกายภาพและวงโคจรของวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ

ข้อมูลทั่วไป

บทความ

สาระเก็บตก จากมหกรรมแสงเหนือ

(13 พ.ค. 67) สุดสัปดาห์ (11-12 พฤษภาคม 2567) ที่ผ่านมา เรื่องหนึ่งที่เป็นที่กล่าวถึงกันมากก็คือเรื่องของแสงเหนือที่มีการพบเห็นกันในหลายส่วนของโลก มีการแชร์การโพสภาพแสงเหนือสุดตระการตากันเกลื่อนเฟซบุ๊ก และแฮตช์แท็ก #พายุสุริยะ ก็ติดอันดับในเอกซ์อยู่นาน ...

ระดับความรุนแรงของพายุแม่เหล็กโลก

(11 พ.ค. 67) เมื่อดวงอาทิตย์เกิดการปะทุขึ้น จะเกิดพายุของอนุภาคพลังงานสูงสาดออกไปในอวกาศ พายุนี้เมื่อพัดมาถึงโลกจะทำให้สนามแม่เหล็กโลกปั่นป่วนและส่งผลบางอย่างต่อโลก ...

รู้จักโนวา

(11 ส.ค. 64) โนวาหรือนวดารา (nova) มาจากคำเต็มในภาษาละตินว่า "stella nova" แปลว่าดาวดวงใหม่ หมายถึงดาวที่ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าตรงตำแหน่งที่ไม่เคยมีดาวอยู่ตรงนั้นมาก่อน ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักดาราศาสตร์ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงกระบวนการของการเกิดโนวาและซูเปอร์โนวา จึงไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ ...

รู้จักดาวหาง

(5 มิ.ย. 58) มนุษย์รู้จักดาวหางมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล บันทึกเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับดาวหางเป็นบันทึกของนักดาราศาสตร์ชาวจีนที่เขียนรูปดาวหางลงบนผ้าไหม อยู่ในยุคราชวงศ์ชางของจีน ซึ่งมีอายุถึงกว่าสามพันปีมาแล้ว บันทึกเรื่องของดาวหางจากยุโรปก็มีมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลเช่นกัน ในอดีต ผู้คนยังไม่รู้จักดาวหางมากไปกว่ารู้ว่าเป็นก้อนอยู่บนฟ้าที่ทอดหางยาว คนในยุคนั้นส่วนใหญ่มองดาวหางไปในทางอัปมงคล เช่นเป็นลางร้าย เป็นทูตแห่งความตายและสงคราม ...

ดาวหางยักษ์ในอดีต

(5 มิ.ย. 58) ในบันทึกเกี่ยวกับดาวหางนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดาวหางหลายดวงที่ได้รับการขนานนามว่า ดาวหางยักษ์ ชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกดาวหางที่สว่างมากเป็นพิเศษ มองเห็นได้สะดุดตาแม้เพียงแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ดาวหางยักษ์บางดวงถึงกับมองเห็นได้แม้ในเวลากลางวัน การที่ดาวหางดวงใดจะสว่างจนได้ชื่อว่าเป็นดาวหางยักษ์ได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสามอย่าง คือ มีนิวเคลียสที่ใหญ่และไวต่อการกระตุ้น เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก ...
.
3
.

อำเภอกันตัง, ดาวอังคาร

(3 มี.ค. 55) แล้วยังมี อำเภอจัตุรัส มี จังหวัดตาก ฯลฯ อยู่บนดาวอังคารอีกต่างหาก คนไทยไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารแล้วหรือ ถ้าใช่คงน่าตื่นเต้นทีเดียว แต่บทความนี้ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ ดังนั้นผมจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีคนไทยบนดาวอังคารจริง ๆ ถึงกระนั้น ผมก็สามารถบอกได้เต็มปากว่า มีชื่ออำเภอกันตังอยู่บนดาวอังคารแน่นอน พร้อมกับอำเภอและจังหวัดของเราอีกหลายแห่ง รวมทั้งมีชื่อสถานที่ที่เป็นภาษาไทยอยู่นอกโลกอีกจำนวนหนึ่งด้วย 
...

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ 2005 YU55

(7 พ.ค. 54) เนื่องจากมีรายงานข่าวว่าดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งอาจชนโลกในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ต่อไปนี้คือคำถาม-คำตอบที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนี้ ...

เมื่อใดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะในประเทศไทย

(23 เม.ย. 54) ฤดูร้อนของประเทศไทยอยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม หลายคนอาจเข้าใจว่าประเทศไทยมีอากาศร้อนมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนเพราะดวงอาทิตย์ใกล้โลกที่สุด นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด แท้จริงแล้วสาเหตุมาจากการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงวัน โดยทำมุมตั้งฉากกับพื้นดิน จึงได้รับรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์เต็มที่ ...

จันทร์เพ็ญเมื่อดวงจันทร์ใกล้โลก

(19 มี.ค. 54) ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี ทำให้จันทร์เพ็ญแต่ละครั้งมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน ดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม ย่างเข้าสู่วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2554 เกิดในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี กล่าวได้ว่าเป็นจันทร์เพ็ญที่ดวงจันทร์โตที่สุดในรอบ 18 ปี ...

ดาวเคราะห์ชุมนุม

(15 มี.ค. 54) ดาวเคราะห์ชุมนุม (planetary grouping) เป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นดาวเคราะห์ตั้งแต่ 3 ดวงขึ้นไป มาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเมื่อสังเกตจากพื้นโลก ในอดีตมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษก็ต่อเมื่อดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง 5 ดวง มาปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวมถึงเหตุการณ์ที่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ...

เราไปมาแล้วจริงๆ : จับผิดคนจับโกหก

(14 พ.ค. 52) มนุษย์เดินทางไปถึงดวงจันทร์มาตั้งแต่ครั้งที่อะพอลโล 11 พา นีล อาร์มสตรอง, เอ็ดวิน (บัซซ์) อัลดริน และ ไมเคิล คอลลินส์ ลงจอดที่ทะเลแห่งความสงบ (Mare Tranquilitatis) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 
หลายปีหลังจบโครงการอะพอลโล มีคนบอกว่าองค์การนาซาไม่เคยส่งใครไปดวงจันทร์เลย ทุกอย่างเป็นเรื่องกุขึ้น พิสูจน์ได้จากภาพถ่ายที่มีพิรุธหลายอย่าง ต่อไปนี้คือข้อจับผิดองค์การนาซา พร้อมคำอธิบายคัดค้าน ...

ดอว์น : ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อย

(13 ต.ค. 50) ดอว์น (Dawn) ที่แปลว่า "อรุณรุ่ง" เป็นชื่อยานอวกาศที่องค์การนาซาส่งออกไปนอกโลกเมื่อปลายเดือนกันยายน เพื่อเดินทางไปในภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อยถึงสองดวง นั่นคือซีรีส (Ceres) กับเวสตา (Vesta) และเนื่องจากเมื่อปี 2549 ซีรีสได้รับการจัดให้มีสถานภาพเป็นดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งด้วย หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้มันจะเป็นยานอวกาศลำแรกที่ไปสำรวจดาวเคราะห์แคระ ...

อุกกาบาตในประเทศไทย

(24 ก.ค. 50) กลางเดือนกรกฎาคม 2550 ได้มีรายงานการเห็นลูกไฟขนาดใหญ่ เคลื่อนผ่านท้องฟ้าในพื้นที่ภาคกลางตอนบนถึงภาคเหนือ รุ่งขึ้นมีชาวบ้านที่ จ.ตาก อ้างว่าเก็บก้อนหินที่เชื่อว่าเป็นอุกกาบาตได้ เป็นข่าวที่สร้างความแตกตื่นอยู่ไม่กี่วันจนกระทั่งกรมทรัพยากรธรณีตรวจพิสูจน์พบว่าไม่ใช่อุกกาบาต ในอดีตประเทศไทยมีรายงานการพบอุกกาบาตที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นของจริงบันทึกไว้ ครั้ง 
...

ยานแคสซีนี-ไฮเกนส์เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์

(24 ก.ค. 50) หลังจากเดินทางรอนแรมในอวกาศเป็นเวลานานถึง 7 ปี วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยานแคสซีนี-ไฮเกนส์ ยานอวกาศมูลค่า 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขององค์การนาซาและยุโรป ประสบความสำเร็จในการเป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์ ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุดดวงหนึ่งของระบบสุริยะ ...

เกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับดวงจันทร์

(14 มิ.ย. 50) เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดวงจันทร์ เช่น ใครเป็นคนแรกที่เสนอความคิดว่าดวงจันทร์เต็มไปด้วยภูเขา คนแรกที่อธิบายแสงจาง ๆ บนดวงจันทร์ด้านมืดในคืนจันทร์เสี้ยวคือใคร ยานสำรวจดวงจันทร์ลำแรกของโลกคือยานลำใด ฯลฯ 
...

เมื่อไร จึงควรจะซื้อกล้องโทรทรรศน์

(11 มี.ค. 50) ผู้เริ่มสนใจหรือนักดาราศาสตร์ขั้นต้นไม่จำเป็นต้องมีกล้องโทรทรรศน์ มีจำนวนไม่น้อยที่ซื้อกล้องราคาแพงก่อนที่จะรู้จักใช้อย่างเป็นประโยชน์หรือมีความพร้อมบางครั้งเจอปัญหาเจ้าของกล้องหงุดหงิด ท้อแท้เพราะใช้ไม่เป็น ในที่สุดก็เก็บกล้องไว้เฉย ๆ เลิกสนใจดาวไปเลยนับว่าน่าเสียดายที่เขาไม่มีโอกาสเห็นสิ่งสวยงามจำนวนมากรอเขาอยู่ ...

20 ปี ซูเปอร์โนวา 1987 เอ

(23 ก.พ. 50) คืนวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2530 มันเป็นค่ำคืนปกติทั่วไปที่นักดาราศาสตร์กำลังง่วนอยู่กับงานสังเกตการณ์ที่ทำกันอยู่เป็นกิจวัตร ไม่มีใครรู้ว่าซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุดนับตั้งแต่ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำลังจะปรากฏตัวขึ้นบนท้องฟ้า ...

2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก

(19 ก.พ. 50) วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2572 ขณะที่เรากำลังฉลองเทศกาลสงกรานต์ ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งจะโคจรผ่านใกล้โลก ใกล้มากจนสว่างมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีข่าวลือว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะชนโลก นักวิทยาศาสตร์กำลังเตรียมป้องกันอันตรายจากมัน ข้อเท็จจริงคืออะไร? ...

เจมินกา ซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุด

(12 เม.ย. 49) ยามค่ำคืน เมื่อเรามองไปที่กลุ่มดาวนายพราน ตรงตำแหน่งใกล้ หัวของนายพราน ซึ่งเป็นเขตของดาวคนคู่ บริเวณนี้จะดูไม่มีอะไรเป็นพิเศษนอกจากมีแถบทางช้างเผือกพาดผ่าน แต่เมื่อประมาณ 340,000 ปี ก่อน ได้เกิดซูเปอร์โนวาครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นที่บริเวณนี้ ...

อาหารอวกาศ

(3 ต.ค. 48) เวลาที่เราดูข่าวหรือสารคดีเกี่ยวกับนักบินอวกาศของนาซาและรัสเซียที่ออกเดินทางไปกับกระสวยอวกาศและที่อาศัยอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งโคจรอยู่ในวงโคจรรอบโลก ท่านผู้อ่านเคยนึกสงสัยไหมครับว่านักบินอวกาศบนนั้นจะใช้ชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหารที่ดูเหมือนเป็นสิ่งยากลำบากในสภาวะไร้น้ำหนักเช่นนั้น ...

สร้างโลหะไฮโดรเจน เห็นถึงภายในดาวพฤหัสบดี

(5 ม.ค. 48) ณ ห้องทดลองหนึ่งในห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอวเรนซ์ลิเวอร์มอร์ มีปืนใหญ่กระบอกหนึ่งตั้งอยู่ มันมีความยาวเท่ากับรถบัสสองคัน ภายในลำกล้องปืนบรรจุก๊าซไฮโดรเจน มีแท่งระเบิดไดนาไมต์นับสิบแท่งเป็นเชื้อเพลิงขับดัน ปืนนี้ไม่ใช่อาวุธที่จะไปรบกับใคร แต่นี้คืออุปกรณ์ทดลองชิ้นหนึ่ง เป้าหมายของปืนนี้เป็นแค่ไฮโดรเจนเหลวเพียงสองสามหยด ...

กล้องโทรทรรศน์

(5 ม.ค. 48) ในการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์นั้น กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้แทบจะขาดมิได้ เนื่องจากวัตถุท้องฟ้า ไม่ว่าจะเป็นดวงดาว กาแล็กซี หรือเนบิวลาต่าง ๆ ล้วนอยู่ห่างจากโลกเราหลายปีแสง และมักมีความสว่างน้อยนิด จึงจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อดึงภาพของวัตถุเหล่านั้นให้เหมือนกับว่ามาอยู่ใกล้ ๆ เพื่อศึกษารายละเอียดได้สะดวก และรวมแสงให้สว่างพอให้ตามองเห็น 
...

จดหมายเหตุดาราศาสตร์

(30 มี.ค. 47) ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ 140 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ...

มังกรจีนผงาดฟ้า

(13 ธ.ค. 46) ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าผมกำลังจะพูดถึงภาพยนตร์จีนกำลังภายในหรือหนังสือนวนิยายจีนเล่มใหม่ แต่ผมกำลังจะพูดถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านอวกาศของจีน ที่กำลังจะได้ชื่อว่าเป็นชาติที่ 3 ของโลกที่สามารถส่งมนุษย์ขึ้นไปในอวกาศด้วยยานที่สร้างขึ้นเอง ...

ที่สุดของดาราศาสตร์

(26 พ.ย. 46) ดาวอะไรใหญ่ที่สุด? ดาราจักรไหนใกล้โลกที่สุด? ดาราจักรไหนอยู่ไกลที่สุด? ดาวที่ร้อนที่สุดชื่ออะไร? ... คำถามเหล่านี้มักถูกหยิบยกขึ้นมาถามกันในหมู่นักดูดาวอยู่บ่อย ๆ คำตอบที่ได้รับมักเป็นข้อมูลน่าตื่นเต้น น่าสนใจอยู่เสมอ ปริมาณทางดาราศาสตร์ที่น่าตื่นตะลึงสามารถดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้คนทั่วไปเกิดจินตนาการเกี่ยวกับอวกาศได้โดยง่าย การนำเสนอตัวเลขอันมหรรศจรรย์เหล่านี้ จึงเป็นการช่วยให้คนสนใจและสนุกกับดาราศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง 
...
.
3
.

จากเว็บไซต์อื่น

  • Internet STELLAR DATABASE ฐานข้อมูลดาวฤกษ์
  • The NGC/IC Product Public Access NGC/IC Database ฐานข้อมูลวัตถุท้องฟ้าตามบัญชี NGC/IC
  • List of largest optical reflecting telescopes อันดับของกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • Forthcoming Close Approaches To The Earth รายชื่อดาวเคราะห์น้อยที่จะเฉียดเข้าใกล้โลกภายใน 33 ปีข้างหน้า
  • Record-setting Solar Flares อันดับการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์เรียงตามความรุนแรง โดย SpaceWeather.com
  • ดาวเคราะห์น้อย ข้อมูลดาวเคราะห์น้อย เฉพาะดวงที่ใหญ่ที่สุด 40 ดวง
  • Current solar images ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ปัจจุบัน โดยดาวเทียมโซโฮ
  • Solar and Heliospheric Observatory ภาพดวงอาทิตย์ในเวลาปัจจุบัน จากดาวเทียมโซโฮ
  • Big Bear Solar Observatory ภาพถ่ายดวงอาทิตย์รายวันจากหอสังเกตการณ์บิกแบร์
  • List of Potentially Hazardous Asteroids รายชื่อดาวเคราะห์น้อยอันตราย จากศูนย์ดาวเคราะห์น้อยฮาร์วาร์ด
  • Observable Comet ข้อมูลด้านตำแหน่งและองค์ประกอบวงโคจรของดาวหางที่มองเห็นได้ในปัจจุบัน