สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ห้องสมุดดาราศาสตร์

พจนานุกรมดาราศาสตร์

ศัพท์ดาราศาสตร์น่ารู้ พร้อมศัพท์บัญญติและความหมาย

วารสารทางช้างเผือก

วารสารฉบับรายสามเดือนของสมาคมดาราศาสตร์ไทย

สารพันคำถาม

รวมคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับดาราศาสตร์

อ้าว.. เหรอ

เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับดาราศาสตร์

จริงหรือไม่ ใช่หรือมั่ว

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราวที่มีการเผยแพร่กันในโซเชียลมีเดีย

ฐานข้อมูลวัตถุท้องฟ้า

ข้อมูลด้านกายภาพและวงโคจรของวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ

ข้อมูลทั่วไป

บทความ

ธรรมเนียมแปลก ๆ ของมนุษย์อวกาศ

(25 มี.ค. 67) การบินอวกาศ เป็นแขนงที่อยู่กับสุดยอดของสหวิทยาการ ต้องพึ่งพาความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชั้นสูง แม้จะเป็นวงการที่มีรากฐานด้านวิทยาศาสตร์ แต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยเรื่องความเชื่อ การถือเคล็ด และโชคลาง โดยเฉพาะช่วงก่อนออกเดินทาง ทั้งโดยลูกเรือและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน แล้วไม่ใช่เป็นเรื่องทำกันเล่น ...

เมื่อรัสเซียพกปืนไปอวกาศ

(13 มี.ค. 67) ทราบหรือไม่ มนุษย์อวกาศรัสเซียเขาพกปืนขึ้นไปในอวกาศด้วยนะ เรื่องนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่สมัยที่ยุคอวกาศเริ่มต้นขึ้น ยานอวกาศที่มีมนุษย์ของฝ่ายโซเวียตไม่ว่าจะเป็นรุ่นบุกเบิกอย่างวอสตอก วอสฮอด และโซยุซ ล้วนเป็นมอดูลที่ออกแบบให้ลงจอดบนแผ่นดิน โดยมีร่มชูชีพคอยพยุงจนพื้นพื้น ...

รู้จักโนวา

(11 ส.ค. 64) โนวาหรือนวดารา (nova) มาจากคำเต็มในภาษาละตินว่า "stella nova" แปลว่าดาวดวงใหม่ หมายถึงดาวที่ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าตรงตำแหน่งที่ไม่เคยมีดาวอยู่ตรงนั้นมาก่อน ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักดาราศาสตร์ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงกระบวนการของการเกิดโนวาและซูเปอร์โนวา จึงไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสองสิ่งนี้ ...

รู้จักดาวหาง

(5 มิ.ย. 58) มนุษย์รู้จักดาวหางมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล บันทึกเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับดาวหางเป็นบันทึกของนักดาราศาสตร์ชาวจีนที่เขียนรูปดาวหางลงบนผ้าไหม อยู่ในยุคราชวงศ์ชางของจีน ซึ่งมีอายุถึงกว่าสามพันปีมาแล้ว บันทึกเรื่องของดาวหางจากยุโรปก็มีมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาลเช่นกัน ในอดีต ผู้คนยังไม่รู้จักดาวหางมากไปกว่ารู้ว่าเป็นก้อนอยู่บนฟ้าที่ทอดหางยาว คนในยุคนั้นส่วนใหญ่มองดาวหางไปในทางอัปมงคล เช่นเป็นลางร้าย เป็นทูตแห่งความตายและสงคราม ...

ดาวหางยักษ์ในอดีต

(5 มิ.ย. 58) ในบันทึกเกี่ยวกับดาวหางนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีดาวหางหลายดวงที่ได้รับการขนานนามว่า ดาวหางยักษ์ ชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกดาวหางที่สว่างมากเป็นพิเศษ มองเห็นได้สะดุดตาแม้เพียงแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ดาวหางยักษ์บางดวงถึงกับมองเห็นได้แม้ในเวลากลางวัน การที่ดาวหางดวงใดจะสว่างจนได้ชื่อว่าเป็นดาวหางยักษ์ได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสามอย่าง คือ มีนิวเคลียสที่ใหญ่และไวต่อการกระตุ้น เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก ...

เมื่อใดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะในประเทศไทย

(23 เม.ย. 54) ฤดูร้อนของประเทศไทยอยู่ในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม หลายคนอาจเข้าใจว่าประเทศไทยมีอากาศร้อนมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนเพราะดวงอาทิตย์ใกล้โลกที่สุด นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดถนัด แท้จริงแล้วสาเหตุมาจากการที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงวัน โดยทำมุมตั้งฉากกับพื้นดิน จึงได้รับรังสีความร้อนจากแสงอาทิตย์เต็มที่ ...
.
2
.

ไปดูดาวริมเขื่อนกันไหม

(4 พ.ค. 65) การเลือกทำเลดูดาว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ หรือดูเพื่อความบันเทิงแบบไม่จริงจัง มีหลักทั่วไปเหมือนกันสองสามข้อก็คือ ต้องมืด ไม่มีแสงรบกวน ห่างไกลจากแสงสว่างจากชุมชน ขอบฟ้าต้องกว้าง ไม่มีสิ่งบดบังมากนัก ...

สีดาวเคราะห์ในนาฬิกาคอลเล็กชัน ไบโอเซรามิกมูนสวอตช์

(26 มี.ค. 65) นาฬิกาคอลเล็กชันนี้วางขายที่ไหน ขายเรือนละเท่าไหร่ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะมาเล่ากัน แต่เรื่องที่อยากมาชวนคุยก็คือเรื่อง สี ของนาฬิกาแต่ละเรือนที่สื่อถึงดาวแต่ละดวง ...

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ “ทายาทสายตรง” ของฮับเบิล

(18 ธ.ค. 64) กล้องฮับเบิลผ่านใช้งานอย่างหนักมาแล้วถึง 31 ปี แม้จะยังไม่มีการกำหนดวันปลดระวางที่แน่นอน แต่ก็คาดว่าคงจะทำหน้าที่ต่อไปได้อีกจนถึงทศวรรษหน้าเป็นอย่างมาก หลังจากพ้นยุคของฮับเบิลไปแล้ว ก็จะเข้าสู่ยุคของกล้องโทรทรรศน์อวกาศกล้องใหม่ ที่นาซาวางตัวไว้ให้เป็น “ทายาทฮับเบิล” กล้องนี้มีชื่อว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ (James Webb Space Telescope) ...

เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับอัตราดาวตกในฝนดาวตก

(11 ส.ค. 64) ในรอบปีมีฝนดาวตกเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ละกลุ่มมีอัตราดาวตกไม่เท่ากัน มีทั้งที่น้อยในระดับไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงไปจนถึงมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง ข้อมูลฝนดาวตกโดยทั่วไปมักจะบอกตัวเลขอัตราสูงสุดของฝนดาวตกกลุ่มนั้น ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่าการสังเกตดาวตกจะสามารถมองเห็นดาวตกเท่ากับจำนวนดังกล่าวได้ตลอดทั้งคืน แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เรามีโอกาสเห็นดาวตกได้ต่ำกว่าตัวเลขนั้นเสมอ ...

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับดาวตกชนิดระเบิด

(23 มิ.ย. 64) สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2564 เวลาประมาณ 18:30 น. ซึ่งมีรายงานผู้พบเห็นดวงไฟสว่างสีเขียวเคลื่อนที่บนท้องฟ้าอย่างรวดเร็ว และเกิดเสียงดังให้ได้ยินเป็นบริเวณกว้าง ต่อไปนี้เป็นคำถาม-คำตอบ ที่จะช่วยอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ...

เราได้เรียนรู้อะไรจากเรื่อง ดาวเคราะห์น้อย?

(11 ส.ค. 62) และแล้วดาวเคราะห์น้อยก็ได้ผ่านโลกไป โดยที่ไม่ส่งผลอะไรต่อโลกตามที่หลายคนกังวล เราควรใช้โอกาสนี้มาย้อนดูกันดีกว่าว่าเราเรียนรู้อะไรกับมันได้บ้าง? ...

เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอะพอลโล 11

(14 มิ.ย. 62) ภารกิจอะพอลโล 11 เป็นภารกิจทางเทคโนโลยีที่น่าจะเรียกได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 และยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่เบื้องหลังภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน ...

การแถลงข่าวภาพหลุมดำภาพแรกในโลก

(24 เม.ย. 62) บทแปลจากงานแถลงข่าวการถ่ายภาพหลุมดำได้เป็นครั้งแรกของโลก โดยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ Event Horizon และ National Science Foundation
...

ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเทียนกง-1

(21 มี.ค. 61) เทียนกง-1 จะตกใส่โลกในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว มาดูกันว่าเรื่องนี้มันน่ากลัวขนาดไหน กับ คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการตกลงสู่โลกของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ...

แคสซีนี - นังทาสของนาซา

(14 ก.ย. 60) ยานแคสซีนีของนาซาจะปิดฉากภารกิจอันยาวนานเกือบ 20 ปีในวันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ หลาย ๆ คนต่างสรรเสริญนาซาว่าได้ใช้ยานลำนี้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และคุ้มค่า ...

รู้จักดาวพฤหัสบดี เรียกน้ำย่อยก่อนถึงยุคจูโน

(5 ก.ค. 59) ต้นเดือนกรกฎาคม 2559 ยานจูโนของนาซาเดินทางไปถึงดาวพฤหัสบดี ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยานจะปรับทิศทางเพื่อเข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ดวงนี้ หลังจากนั้นก็จะเริ่มสำรวจจากวงโคจรเป็นเวลาสองปี ก่อนที่จูโนจะเริ่มภารกิจ เรามารู้จักและทบทวนกันหน่อยดีไหม ว่าดาวพฤหัสบดีนี้มีอะไรน่าสนใจบ้าง ... ...

โลกต่างระบบใหม่ทั้ง 19 แห่งที่ได้ชื่อสามัญจากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล

(26 ธ.ค. 58) รายชื่อโลกต่างระบบ ดาวเคราะห์ต่างระบบ ที่ได้รับการตั้งชื่อสามัญอย่างเป็นทางการโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ...

Chalawan, Taphao Thong, Taphao Kaew -- First Thai Exoworld Names

(19 ธ.ค. 58) The star, and exoplanets of the first Thai axoworld names. Legend behind the names and learning how to pronounce them. ...

สวัสดี “ชาละวัน”

(9 ธ.ค. 58) 47 หมีใหญ่ (47 Ursae Majoris; HIP 53721) หรือต่อไปนี้จะมีชื่อสามัญว่า ชาละวัน (Chalawan) และดาวบริวารทั้ง 2 ดวง ซึ่งก็คือ 47 หมีใหญ่ บี และ 47 หมีใหญ่ ซี หรือ ตะเภาทอง (Taphao Thong) และ ตะเภาแก้ว (Taphao Kaew) ตามลำดับ เป็นหนึ่งในบันทึกหน้าใหม่ของวงการดาราศาสตร์ไทย ...

รวมญาติพลูโต

(16 ก.ค. 58) ณ ขอบนอกของเขตดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ เป็นบริเวณที่ดาวพลูโตโคจรอยู่ บริเวณนี้หากดูเผิน ๆ ดูเหมือนกับจะว่างเปล่า แต่ในความอ้างว้างนั้นกลับเป็นที่อยู่ของวัตถุหลากหลายชนิดที่ถือเป็นสมาชิกของระบบสุริยะด้วย นักดาราศาสตร์ได้จำแนกประเภทวัตถุเหล่านี้ออกเป็นประเภทต่าง ๆ มากมายยากจะจดจำ ยิ่งกว่านั้น เกณฑ์เหล่านี้ก็มีความซ้อนเหลื่อมกันมาก วัตถุดวงหนึ่งอาจถูกจัดประเภทได้หลายประเภท ในที่นี้ ...

รู้จักพลูโต ก่อนจะไปถึงขอบฟ้าใหม่

(11 มิ.ย. 58) เป็นเวลากว่า 70 ปีมาแล้ว ที่เราได้รู้จักชื่อพลูโตว่าเป็นสมาชิกดวงหนึ่งของระบบสุริยะ เป็นดาวเคราะห์ดวงกระจ้อยที่อยู่ไกลสุดกู่ในดินแดนอันหนาวเหน็บ เป็นดาวเคราะห์นอกคอกที่ไม่เข้าพวกกับดาวเคราะห์ดวงอื่น จนถึงเป็นดาวเคราะห์ตกชั้น สิ่งหนึ่งที่เรารู้ดีเกี่ยวกับดาวพลูโตก็คือ เราแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับดาวเคราะห์แคระดวงนี้ ...

เตรียมตัวต้อนรับกล้องยักษ์รุ่นใหม่

(5 มิ.ย. 58) กล้องโทรทรรศน์กล้องแรกของโลกที่สร้างขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงไม่กี่เซนติเมตร ตลอดระยะเวลาหลายศตวรรษหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์พยายามสร้างกล้องโทรทรรศน์ให้ใหญ่ขึ้น เพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้จักรวาลให้ไกลขึ้น ละเอียดขึ้น กล้องโทรทรรศน์ชั้นนำของโลกที่สร้างขึ้นใหม่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากเป็นนิ้วเป็นระดับฟุต และต้องใช้เวลาถึง 180 ปี จึงเริ่มเข้าสู่พรมแดนของระดับเมตรเมื่อเฮอร์เชลสร้าง ...

อำเภอกันตัง, ดาวอังคาร

(3 มี.ค. 55) แล้วยังมี อำเภอจัตุรัส มี จังหวัดตาก ฯลฯ อยู่บนดาวอังคารอีกต่างหาก คนไทยไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารแล้วหรือ ถ้าใช่คงน่าตื่นเต้นทีเดียว แต่บทความนี้ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ ดังนั้นผมจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีคนไทยบนดาวอังคารจริง ๆ ถึงกระนั้น ผมก็สามารถบอกได้เต็มปากว่า มีชื่ออำเภอกันตังอยู่บนดาวอังคารแน่นอน พร้อมกับอำเภอและจังหวัดของเราอีกหลายแห่ง รวมทั้งมีชื่อสถานที่ที่เป็นภาษาไทยอยู่นอกโลกอีกจำนวนหนึ่งด้วย 
...

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ 2005 YU55

(7 พ.ค. 54) เนื่องจากมีรายงานข่าวว่าดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งอาจชนโลกในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ต่อไปนี้คือคำถาม-คำตอบที่เกี่ยวข้องกับวัตถุนี้ ...

จันทร์เพ็ญเมื่อดวงจันทร์ใกล้โลก

(19 มี.ค. 54) ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี ทำให้จันทร์เพ็ญแต่ละครั้งมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน ดวงจันทร์เต็มดวงในคืนวันเสาร์ที่ 19 มีนาคม ย่างเข้าสู่วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2554 เกิดในช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี กล่าวได้ว่าเป็นจันทร์เพ็ญที่ดวงจันทร์โตที่สุดในรอบ 18 ปี ...
.
2
.

จากเว็บไซต์อื่น

  • Internet STELLAR DATABASE ฐานข้อมูลดาวฤกษ์
  • The NGC/IC Product Public Access NGC/IC Database ฐานข้อมูลวัตถุท้องฟ้าตามบัญชี NGC/IC
  • List of largest optical reflecting telescopes อันดับของกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • Forthcoming Close Approaches To The Earth รายชื่อดาวเคราะห์น้อยที่จะเฉียดเข้าใกล้โลกภายใน 33 ปีข้างหน้า
  • Record-setting Solar Flares อันดับการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์เรียงตามความรุนแรง โดย SpaceWeather.com
  • ดาวเคราะห์น้อย ข้อมูลดาวเคราะห์น้อย เฉพาะดวงที่ใหญ่ที่สุด 40 ดวง
  • Current solar images ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ปัจจุบัน โดยดาวเทียมโซโฮ
  • Solar and Heliospheric Observatory ภาพดวงอาทิตย์ในเวลาปัจจุบัน จากดาวเทียมโซโฮ
  • Big Bear Solar Observatory ภาพถ่ายดวงอาทิตย์รายวันจากหอสังเกตการณ์บิกแบร์
  • List of Potentially Hazardous Asteroids รายชื่อดาวเคราะห์น้อยอันตราย จากศูนย์ดาวเคราะห์น้อยฮาร์วาร์ด
  • Observable Comet ข้อมูลด้านตำแหน่งและองค์ประกอบวงโคจรของดาวหางที่มองเห็นได้ในปัจจุบัน