สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานสำรวจดาวอังคารของอีซาลงจอดพลาด ตกกระแทกพื้นพังยับ

ยานสำรวจดาวอังคารของอีซาลงจอดพลาด ตกกระแทกพื้นพังยับ

25 ต.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ยานมาร์สเทรซแก๊สออร์บิเตอร์ขององค์การอวกาศยุโรปหรืออีซาได้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก เป็นการแจ้งว่ายานได้ปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากการเดินทางนานเจ็ดเดือนเป็นระยะทาง 483 ล้านกิโลเมตรจากโลก

การเข้าสู่วงโคจรครั้งนี้เป็นเพียงข่าวด้านเดียวที่น่ายินดี อีกทางหนึ่ง ก็มีข่าวไม่น่ายินดีจากภารกิจนี้ด้วย

ก่อนหน้านั้น วันยานสกียาปาเรลลี ซึ่งเป็นยานลูกของยานมาร์สเทรซแก๊สออร์บิเตอร์ได้แยกตัวออกจากยานแม่เพื่อเบนทิศทางเข้าสู่ดาวอังคารเพื่อลงจอดบนพื้นผิว

ตามแผนที่วางไว้ เมื่อยานตกลงมาถึงระยะ 11 กิโลเมตรจากพื้นดิน จะกางร่มออกและปลดโล่กันความร้อนใต้ยานทิ้งไป  เมื่อยานลดระดับลงไปจนถึงระยะ 1.2 กิโลเมตรจากพื้นดิน ขณะนั้นยานที่ยังคงพุ่งลงสู่ดาวอังคารด้วยความเร็วประมาณ 255 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะปลดร่มชูชีพกับฝาครอบด้านบนทิ้งไป และจุดจรวดเล็กที่ติดอยู่รอบยานเก้าลำเพื่อชลอความเร็วของยานลงอีก หลังจากนั้นอีก 29 วินาที เมื่อยานจะตกลงไปจนเกือบถึงพื้นจะปิดจรวดชลอขณะที่ยานอยู่สูงจากพื้นเพียงแค่สองเมตร กระบวนการลงจอดทั้งสิ้นนับจากที่ยานเข้าสัมผัสชั้นบรรยากาศจนถึงสัมผัสพื้นดินกินเวลาไม่ถึง นาที

ยานสกียาปาเรลลีได้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2559  21:42 นาฬิกาตามเวลาประเทศไทย ขณะนั้นยานอยู่ที่ความสูง 122 กิโลเมตร และมีความเร็ว 21,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เหตุการณ์เหมือนจะไปด้วยดี แต่แล้วการสื่อสารระหว่างยานสกียาปาเรลลีได้ขาดหายไปก่อนเวลาที่คาดว่ายานจะสัมผัสพื้นเพียงเล็กน้อย ไม่มีใครบอกได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

หลังจากนั้นอีกหนึ่งวัน ยานมาร์สรีคอนเนสเซนส์ออร์บิเตอร์ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวอังคารจากวงโคจรอยู่ก็ได้ให้คำตอบ เมื่อยานได้โคจรผ่านมาแล้วถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคาร ณ ตำแหน่งที่คาดว่าเป็นจุดตก

ภาพถ่ายได้เผยจุดขาวสว่างที่เทียบได้กับวัตถุขนาดกว้าง 12 เมตร ซึ่งเป็นขนาดของร่มชูชีพที่ยานใช้ ห่างออกไปทางเหนือของจุดขาวนั้นราวหนึ่งกิโลเมตร พบแต้มคล้ำมัว ๆ แต้มหนึ่ง คาดว่าเป็นแอ่งขนาด 15 40 เมตร ที่เกิดจากการพุ่งชนของยานสกียาปาเรลลี 

จากการสอบสวนเบื้องต้น ศูนย์ควบคุมภารกิจคาดว่ายานได้ปลดร่มและฝาครอบก่อนเวลาที่กำหนดไว้ และจรวดชลอที่ทำหน้าที่ประคองให้ยานลงจอดอย่างนิ่มนวลก็ปิดลงก่อนเวลา ยานจึงตกลงสู่พื้นผิวด้วยความเร็วสูงกว่าที่กำหนดไว้มากจนทำให้ยานเสียหาย คาดว่ายานสกียาปาเรลลีตกลงอย่างอิสระจากความสูงประมาณ 2-4 กิโลเมตร ก่อนกระแทกเข้ากับพื้นดินด้วยความเร็วมากกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และคาดว่าอาจระเบิดเมื่อกระแทกพื้นด้วยเนื่องจากบนยานมีถังเชื้อเพลิงของจรวดที่ยังมีเชื้อเพลิงอยู่เต็ม

จนถึงขณะนี้ผู้สอบสวนยังไม่ทราบว่าเหตุใดจรวดชลอจึงหยุดทำงานก่อนเวลา การที่มียานสำรวจถึงสามลำที่เฝ้ามองการลงจอดของยานในครั้งนี้จากตำแหน่งต่างกัน ผู้สอบสวนจึงหวังว่าข้อมูลจากยานทั้งสามนี้จะช่วยให้สร้างสถานการณ์จำลองการตกได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เมื่อนั้นอาจได้คำตอบได้ว่าเหตุใดภารกิจลงจอดครั้งนี้จึงล้มเหลว


ภาพจำลองตามจินตนาการของศิลปินของยานสกียาปาเรลลีกับร่มชูชีพขณะพุ่งแหวกบรรยากาศลงสู่พื้นผิวดาวอังคาร ร่มอาจถูกปลดออกก่อนเวลาที่กำหนด เป็นผลให้ยานตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วจนเสียหาย

ภาพจำลองตามจินตนาการของศิลปินของยานสกียาปาเรลลีกับร่มชูชีพขณะพุ่งแหวกบรรยากาศลงสู่พื้นผิวดาวอังคาร ร่มอาจถูกปลดออกก่อนเวลาที่กำหนด เป็นผลให้ยานตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็วจนเสียหาย (จาก ESA)

ยานสกียาปาเรลลีขณะขับจรวดชลอทั้งเก้าลำรอบยานเพื่อให้ยานลดความเร็วลงอีก <wbr>ยานอาจปิดจรวดเร็วก่อนกำหนด <wbr>เป็นอีกสาเหตุหนึ่งให้ยานตกลงสู่พื้นดินอย่างอิสระจากความสูงจนพังเสียหาย<br />

ยานสกียาปาเรลลีขณะขับจรวดชลอทั้งเก้าลำรอบยานเพื่อให้ยานลดความเร็วลงอีก ยานอาจปิดจรวดเร็วก่อนกำหนด เป็นอีกสาเหตุหนึ่งให้ยานตกลงสู่พื้นดินอย่างอิสระจากความสูงจนพังเสียหาย
(จาก ESA)

ภาพถ่ายพื้นดินดาวอังคาร ณ บริเวณที่คาดว่าเป็นจุดลงจอดของยานสกียาปาเรลลี ถ่ายโดยยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ ภาพแต่ละภาพมีความละเอียด 6 เมตรต่อพิกเซล เป็นภาพที่สลับไปมาระหว่างภาพที่ถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคมกับภาพที่ถ่ายในวันถัดจากการลงจอดของยาน จุดสีดำน่าจะเป็นจุดที่ยานตกกระทบพื้น จุดขาวด้านล่างคือร่มชูชีพที่ปลดทิ้งออกไป

ภาพถ่ายพื้นดินดาวอังคาร ณ บริเวณที่คาดว่าเป็นจุดลงจอดของยานสกียาปาเรลลี ถ่ายโดยยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ ภาพแต่ละภาพมีความละเอียด 6 เมตรต่อพิกเซล เป็นภาพที่สลับไปมาระหว่างภาพที่ถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคมกับภาพที่ถ่ายในวันถัดจากการลงจอดของยาน จุดสีดำน่าจะเป็นจุดที่ยานตกกระทบพื้น จุดขาวด้านล่างคือร่มชูชีพที่ปลดทิ้งออกไป (จาก NASA)

ที่มา: