เคยคิดอยากไปไหนเพื่ออยู่เงียบ ๆ คนเดียวบ้างไหม ไปดาวอังคารสิ
บนดาวอังคารมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดเสียงมากมาย เช่น พายุที่รุนแรง ฟ้าแลบฟ้าร้อง แต่กระนั้นดาวเคราะห์ดวงนี้ก็เป็นดินแดนที่เงียบอย่างเหลือเชื่อ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์2564 ยานเพอร์เซอร์วีรันซ์ขององค์การนาซาได้เดินทางไปถึงดาวอังคาร ยานพร้อมทั้งอุปกรณ์สำรวจจำนวนหนึ่งลงจอดบนพื้นผิวได้สำเร็จ หนึ่งในอุปกรณ์ตรวจวัดที่ยานลำนี้นำติดยานไปด้วยก็คือ ไมโครโฟน
หลังจากผ่านไปปีเศษเสียงที่ไมโครโฟนตัวนี้บันทึกได้ส่วนใหญ่คือเสียงการทำงานของยานเอง เช่นลมที่ยานใช้เป่าไล่ฝุ่นออกจากก้อนหินที่ต้องการศึกษา เสียงกลไกภายในกล้องซูเปอร์แคม เสียงใบพัดของอินเจนยูอิตีซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำจิ๋วยานลูกของเพอร์เซอร์วีรันซ์
"บางช่วงมันก็เงียบเสียจนเราคิดว่าไมโครโฟนมันพังนะ"ซีลเวสทร์ โมริส นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยตูลูสซึ่งศึกษาคลื่นเสียงบนดาวอังคารกล่าว
สาเหตุที่ดาวอังคารเงียบได้ขนาดนี้ก็คือบรรยากาศที่แสนจะเบาบางนั่นเองดาวอังคารมีความหนาแน่นของบรรยากาศเพียงประมาณหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของโลกเท่านั้น ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เกือบทั้งหมด
บนผิวโลกเสียงเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 343 เมตรต่อวินาที แต่บนดาวอังคาร ความเร็วเสียงเหลือเพียง 240-250 เมตรต่อวินาที นอกจากจะเดินทางช้าลงแล้ว ยังจางหายไปกับระยะทางได้มากขึ้นอีกด้วย เสียงที่เคยได้ยินจากระยะทาง 65 เมตรบนโลก จะเดินทางได้แค่ 8 เมตรบนดาวอังคาร
สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายแต่อย่างใดนักดาราศาสตร์เคยสร้างแบบจำลองสภาพบรรยากาศบนดาวอังคารเพื่อพยากรณ์ว่าคลื่นเสียงบนดาวอังคารจะประพฤติตัวอย่างไร แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์จากการฟังและบันทึกเสียงจริง ๆ
เพอร์เซอร์วีรันซ์ไม่ใช่ยานลำแรกที่พกไมโครโฟนไปดาวอังคารในปี 2542 ยานมารส์โพลาร์แลนเดอร์ของนาซาเป็นยานลำแรกที่นำไมโครโฟนไปด้วย แต่ภารกิจนี้ล้มเหลว ยานพุ่งชนพื้นดาวอังคารก่อนที่จะมีโอกาสได้บันทึกเสียงใด ๆ ต่อมายานฟีนิกซ์ของนาซาก็ได้ไปดาวอังคารพร้อมกับไมโครโฟนเช่นกัน แต่ก็ประสบปัญหา ไมโครโฟนของยานลำนี้จึงไม่เคยได้ใช้ ฝรั่งเศสก็เคยมีโครงการสำรวจดาวอังคารโดยมียานติดไมโครโฟนเหมือนกัน ภารกิจนี้ชื่อว่าเนตแลนเดอร์ แต่โครงการก็ถูกยกเลิกไปในปี 2547
ด้วยความสำเร็จของเพอร์เซอวีรันซ์ในครั้งนี้เปิดโอกาสให้นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาคลื่นเสียงบนดาวอังคารได้โดยตรง การศึกษาคลื่นเสียงบนดาวอังคารทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงความดันบรรยากาศที่อาจเกิดจากความปั่นป่วนของบรรยากาศหรือฤดูกาลได้ ขณะนี้ดาวอังคารกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนซึ่งความดันบรรยากาศจะสูงขึ้น เสียงย่อมเดินทางได้สะดวกขึ้น นักดาราศาสตร์อาจได้ยินเสียงต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมของดาวอังคารได้มากกว่าเดิม
นอกจากประโยชน์ในแง่การสำรวจแล้วไมโครโฟนยังมีประโยชน์ในทางวิศวกรรมด้วย ผู้ควบคุมภารกิจอาจใช้เสียงจากไมโครโฟนเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพหรืออาการขัดข้องในยานได้ เหมือนช่างยนต์ที่เงี่ยหูฟังเสียงเครื่องยนต์ทำงานก็วิเคราะห์ได้ว่าเกิดความปกติที่ใดบ้าง
บนดาวอังคารมีเหตุการณ์ต่าง
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
หลังจากผ่านไปปีเศษ
"บางช่วงมันก็เงียบเสียจนเราคิดว่าไมโครโฟนมันพังนะ"
เสียงจากดาวอังคาร
สาเหตุที่ดาวอังคารเงียบได้ขนาดนี้ก็คือบรรยากาศที่แสนจะเบาบางนั่นเอง
บนผิวโลก
สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายแต่อย่างใด
เพอร์เซอร์วีรันซ์ไม่ใช่ยานลำแรกที่พกไมโครโฟนไปดาวอังคาร
ด้วยความสำเร็จของเพอร์เซอวีรันซ์ในครั้งนี้
นอกจากประโยชน์ในแง่การสำรวจแล้ว