ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ที่น่าสนใจเสมอในแง่ของการเป็นดาวเคราะห์ที่อาจมีสิ่งมีชีวิต เพราะมีสภาพแวดล้อมที่ดูจะโหดร้ายน้อยที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์นอกจากโลก แม้พื้นผิวดาวอังคารในปัจจุบันจะแห้งแล้ง แต่การสำรวจดาวอังคารที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์พบทั้งธารน้ำดึกดำบรรพ์และหลักฐานอื่นที่แสดงว่าในอดีตดาวอังคารเคยชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ
เมื่อปี2554 ดาวอังคารได้เป็นจุดสนใจอีกครั้งเมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาภาพพื้นผิวดาวดวงนี้ที่ถ่ายโดยกล้องไฮไรส์ของยานมารส์ริคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ และพบบางสิ่งบางอย่างที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สิ่งนั้นคือ แนวเส้นหลายเส้นที่ปรากฏบนไหล่ผาหลายแห่ง พบมากทางซีกใต้ และที่สำคัญเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล โดยจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน และเมื่อถึงฤดูหนาวก็จางหายไป ก่อนจะปรากฏซ้ำอีกในปีถัดไป นักดาราศาสตร์เรียกรอยเหล่านี้ว่า รอยเส้นปรากฏซ้ำบนทางลาด (Recurring Slope Linae)
นักดาราศาสตร์เชื่อว่ารอยเส้นนี้เกิดจากการกระทำของน้ำเค็มใต้ดินที่ซึมผ่านชั้นดินออกมาซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศอุ่นพอที่ทำให้น้ำเค็มใต้ดินละลายเป็นของเหลวได้ต่อมาในปี 2558 สเปกโทรมิเตอร์บนยานมารส์ริคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ก็ตรวจพบร่องรอยของเกลือที่ตำแหน่งของรอยเส้นสว่างซ้ำบางรอย ซึ่งเป็นการสนับสนุนทฤษฎีน้ำเกลือเป็นอย่างดี
หากทฤษฎีนี้ถูกต้องก็นับว่าเป็นข่าวดีมากสำหรับการค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร เพราะน้ำที่อยู่ในสถานะของเหลวเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต บนโลก สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าบนดาวเคราะห์ดวงอื่นก็เป็นเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการสำรวจดาวอังคารในช่วงหลังเริ่มพบหลักฐานที่ทำให้ทฤษฎีน้ำเกลือเริ่มสั่นคลอน เช่นในปี 2561 งานวิจัยหนึ่งได้ตั้งข้อสงสัยว่า สิ่งที่เห็นว่าเป็นรอยเส้นปรากฏซ้ำบนทางลาดนั้นอาจเป็นสิ่งที่กระบวนการประมวลผลข้อมูลสร้างขึ้นมาเอง ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริงบนดาวอังคาร นอกจากนี้ยังมีการทดลองจากบางแห่งที่ให้ผลว่าการถล่มของพื้นดินก็ทำให้เกิดรอยเส้นดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องมีน้ำมาข้องเกี่ยว
อีกหนึ่งหลักฐานสำคัญปรากฏขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เองจากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเจอร์นัลออฟจีโอฟิซิกัลรีเสิร์ช: แพลเนตส์ นำโดยอัลเฟร็ด แม็คอีเวน จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้สอบสวนอุปกรณ์ไฮไรส์ ไฮไรส์ได้พบว่ามีรอยเส้นปรากฏซ้ำบนทางลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง พ.ศ. 2561 โดยได้นับรอยได้ถึง 150 รอย ในขณะที่ในช่วงหกปีก่อนหน้ามีจำนวนรอยเฉลี่ยปีละ 36 รอยเท่านั้น (ปีในที่นี้หมายถึงปีของดาวอังคาร ซึ่งมีระยะเวลาเท่ากับ 687 วันของโลก) ซึ่งในปีนั้นได้เกิดพายุฝุ่นครั้งใหญ่ทั่วทั้งดวงจนยานออปพอร์ทูนิตีซึ่งเป็นยานสำรวจดาวอังคารอีกลำหนึ่งของนาซาถึงกับเสียหาย
ภายหลังที่พายุฝุ่นผ่านพ้นไปก็พบรอยของพายุหมุนปรากฏอยู่ทั่วในเขตละติจูดปานกลางของซีกใต้ซึ่งนักวิจัยคณะดังกล่าวเชื่อว่ากระบวนการหอบเอาฝุ่นขึ้นไปบนอากาศที่เกิดขึ้นบนทางลาดจะทำให้ทางลาดเสียเสถียรภาพ จึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดรอยเส้นปรากฏซ้ำบนทางลาดขึ้น
ดังนั้นแมกอีเวนจึงมองว่าบริเวณที่เกิดรอยเส้นปรากฏซ้ำบนทางลาดนี้ไม่ได้มีความพิเศษไปจากบริเวณอื่นแต่อย่างใด และแน่นอนว่า ไม่มีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อปี
นักดาราศาสตร์เชื่อว่ารอยเส้นนี้เกิดจากการกระทำของน้ำเค็มใต้ดินที่ซึมผ่านชั้นดินออกมาซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศอุ่นพอที่ทำให้น้ำเค็มใต้ดินละลายเป็นของเหลวได้
หากทฤษฎีนี้ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม
อีกหนึ่งหลักฐานสำคัญปรากฏขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้เอง
ภายหลังที่พายุฝุ่นผ่านพ้นไปก็พบรอยของพายุหมุนปรากฏอยู่ทั่วในเขตละติจูดปานกลางของซีกใต้
ดังนั้น