องค์การนาซาเคยส่งมนุษย์ไปสำรวจถึงดวงจันทร์มาแล้วในโครงการอะพอลโลเมื่อ 50 ปีก่อน หลังจากโครงการสิ้นสุดไป ก็ไม่มีใครเคยได้ไปดวงจันทร์อีกเลย
แต่อีกเพียงไม่กี่ปีเราอาจจะได้เห็นมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง ภายใต้โครงการใหม่ของนาซาชื่อ อาร์ทิมิส โครงการนี้จะไม่เพียงส่งมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์เพียงสองสามวันแล้วกลับเท่านั้น แต่ต้องการให้มนุษย์ปักหลักอยู่บนดวงจันทร์เป็นเวลานานเลยทีเดียว
แต่ก่อนจะถึงวันที่จะมีมนุษย์ไปอยู่อาศัยบนดวงจันทร์ต้องหาวิธีเอาคนไปบนดวงจันทร์เสียก่อน ล่าสุดองค์การนาซาได้เลือกบริษัทเอกชนสามรายที่มีสิทธิ์ได้งานอภิมหาโครงการนี้ ได้แก่ สเปซเอกซ์ บลูออริจิน และไดเนติกส์
ในระยะแรกเป็นขั้นตอนของการเสนอแบบยานลงจอดบนดวงจันทร์ทั้งสามบริษัทมีเวลาสิบเดือนในการร่างและปรับปรุงแบบของตน โดยมีงบในส่วนนี้จากนาซารวม 967 ล้านดอลลาร์ เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า นาซาจะตัดสินใจเลือกเอาผู้ชนะเพียงรายเดียว ซึ่งบริษัทนั้นก็จะได้สัญญาในการสร้างยานนำมนุษย์ไปลงดวงจันทร์ต่อไป
ยานลงจอดของบลูออริจินมีชื่อว่าไอแอลวี (ILV--Integrated Laner Vehicle) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากแบบของยานบลูมูนซึ่งบริษัทได้เปิดเผยแบบมาตั้งแต่ปีก่อนแล้ว คณะของบลูออริจินประกอบด้วยผู้คร่ำหวอดในวงการอากาศยานอย่างล็อกฮีดมาร์ติน นอร์ทร็อปกรัมแมน และเดรเปอร์ จรวดที่จะนำยานนี้ได้คาดว่าจะเป็นจรวดวัลแคนของยูไนเต็ดลอนช์อัลลิอันซ์ที่กำลังพัฒนาอยู่
ไดเนติกส์เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในฮันต์สวีล แอละแบมา ยานของไดเนติกส์มีชื่อว่า ไดเนติกส์ฮิวแมนแลนดิงซีสเท็ม มีรูปร่างสะดุดตาที่แผงเซลสุริยะแนวตั้งสองแผงใหญ่วางคู่กันทำให้ยานดูเหมือนกระต่าย และมีส่วนของที่อยู่อาศัยอยู่ต่ำใกล้พื้นดินมากทำให้มนุษย์อวกาศเข้าออกยานได้สะดวก ยานของไดเนติกส์ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับจรวดวัลแคนของยูแอลเอเช่นกัน
สเปซเอกซ์ไม่ถนัดงานเล็กๆ ยานของสเปซเอกซ์ที่จะอาสานำมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์เป็นยานที่ดัดแปลงจากยานสตาร์ชิป หรือชื่อเดิมคือบิกฟัลคอน ซึ่งเป็นยานขนาดยักษ์เชื่อมต่อกับจรวดส่งที่ชื่อว่าซูเปอร์เฮฟวี สเปซเอกซ์ออกแบบยานสตาร์ชิปเพื่อนำมนุษย์จำนวนมากไปดวงจันทร์รวมถึงดาวอังคารด้วย
ที่น่าสังเกตคือชื่อของบริษัทยักษ์ใหญ่อีกรายหนึ่งหายไปจากตัวเลือกนี้ นั่นคือบริษัทโบอิ้ง คาดว่าโบอิ้งถูกมองข้ามไปเนื่องจากปัจจุบันโบอิ้งมีงานพัฒนาระบบจรวดเอสแอลเอสและยานซีเอสทีสตาร์ไลเนอร์-100 ให้นาซาอยู่แล้ว และโครงการทั้งสองก็ล่าช้ากว่ากำหนดไปหลายปีแล้ว
เดิมทีนาซาออกแบบให้โครงการอาร์ทิมิสมีสถานีอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์อยู่ด้วยมีชื่อเรียกว่า ลูนาร์เกตเวย์ สถานีนี้นอกจากจะใช้เป็นสถานีสำหรับการทดลองต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นจุดพักระหว่างโลกกับดวงจันทร์ด้วย แต่เมื่อไม่นานมานี้นาซาตัดสินใจถอดเกตเวย์ออกจากโครงการอาร์ทิมิส ยานจากโครงการอาร์ทิมิสจะเดินทางไปลงจอดบนดวงจันทร์โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านเกตเวย์ ทั้งนี้เพื่อลดความซับซ้อนของโครงการลงพอที่จะให้โครงการบรรลุเป้าหมายทันเส้นตายที่กำหนด
ในส่วนของการเดินทางจากโลกนาซายังคงเลือกที่จะใช้จรวดเอสแอลเอสและยานโอไรอันของตนเอง ทั้งสองส่วนนี้ยังคงอยู่ระหว่างพัฒนา คาดว่าจรวดเอสแอลเอสลำแรกจะทดสอบการปล่อยครั้งแรกได้ในปี 2564
โครงการอาร์ทิมิสมีเส้นตายที่จะต้องนำมนุษย์กลับไปดวงจันทร์ให้ได้ก่อนสิ้นปี2567 เวลาของนาซามีเหลือไม่มากนัก จึงเป็นที่น่าจับตาว่าจะทำได้ทันตามกำหนดหรือไม่
แต่อีกเพียงไม่กี่ปี
แต่ก่อนจะถึงวันที่จะมีมนุษย์ไปอยู่อาศัยบนดวงจันทร์
ในระยะแรกเป็นขั้นตอนของการเสนอแบบยานลงจอดบนดวงจันทร์
ยานลงจอดของบลูออริจินมีชื่อว่า
ไดเนติกส์
สเปซเอกซ์ไม่ถนัดงานเล็ก
ที่น่าสังเกตคือ
เดิมทีนาซาออกแบบให้โครงการอาร์ทิมิสมีสถานีอวกาศที่โคจรรอบดวงจันทร์อยู่ด้วย
ในส่วนของการเดินทางจากโลก
โครงการอาร์ทิมิสมีเส้นตายที่จะต้องนำมนุษย์กลับไปดวงจันทร์ให้ได้ก่อนสิ้นปี