ยานฮะยะบุซะ เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา (JAXA) ยานนี้ได้ออกเดินทางจากโลกเมื่อปี 2548 โดยมีเป้าหมายที่ดาวเคราะห์น้อยชื่อ อิโตะกะวะ ยานได้กลับมายังโลกในปี 2553 โดยนำตัวอย่างจากผิวดาวเคราะห์น้อยกลับมาเพื่อวิจัยด้วย
เมื่อวันที่1 พฤษภาคมที่ผ่านมารายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวาสารไซนส์ โดยคณะนักวิจัยที่นำโพย ซีเลียง จิน จากสำนักวิชาสำรวจโลกและอวกาศของมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต หัวหน้านักวิจัยระบุว่า ตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยที่นำกลับมานี้มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มากเมื่อเทียบกับวัตถุในระบบสุริยะชั้นในทั่วไป
ปริมาณของตัวอย่างของอิโตะกะวะที่ยานเก็บมาได้มีเพียงเล็กน้อยแต่ละเม็ดมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของความหนาเส้นผมเท่านั้น
"การจะชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยอย่างอิโตะกะวะเป็นแหล่งต้นกำเนิดของน้ำบนโลกเรามองไปที่อัตราส่วนของดิวทีเรียมต่อไฮโดรเจน ดิวทีเรียมเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน ตัวเลขนี้จะเป็นเหมือนลายนิ้วมือประจำตัวที่บอกได้ว่าน้ำในวัตถุต่าง ๆ มีต้นกำเนิดมากจากที่ใด" ไมตรียา โบส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการสำรวจโลกและอวกาศจากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต หนึ่งในผู้ร่วมวิจัยคณะนี้กล่าว
"ซีเลียงและดิฉันพบว่าน้ำที่พบในอิโตะกะวะและโลกมีอัตราส่วนของดิวทีเรียมต่อไฮโดรเจนเหมือนกันซึ่งหมายความว่าน้ำจากทั้งสองดวงนี้มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน ดาวหางและดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีอัตราส่วนดิวทีเรียมต่อไฮโดรเจนสูงกว่ามาก ซึ่งหากวัตถุเหล่านั้นชนเข้ากับโลกและทิ้งน้ำไว้ น้ำบนโลกย่อมมีอัตราส่วนดิวทีเรียมต่อไฮโดรเจนสูงกว่าที่เป็นอยู่นี้มาก ดังนั้นเราจึงเชื่อว่าน้ำบนโลกมีที่มาจากดาวเคราะห์น้อยประเภทเดียวกับอิโตะกะวะ"
การศึกษาพบว่าตัวอย่างที่เก็บมามีน้ำเป็นส่วนประกอบมากอย่างคาดไม่ถึงทั้งที่อิโตะกะวะเคยมองว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่แห้งดวงหนึ่ง
การค้นพบในครั้งนี้สนับสนุนแนวคิดว่าในยุคอดีต โลกเคยถูกวัตถุประเภทอิโตะกะวะพุ่งชนครั้งแล้วครั้งเล่า การชนแต่ละครั้งได้ทิ้งน้ำเอาไว้บนโลก และอาจรวมถึงสารอินทรีย์บางชนิดที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตให้แก่โลกของเรา นี่แสดงน้ำในมหาสมุทรบนโลกราวครึ่งหนึ่งอาจมีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อย
ดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วดูเหมือนเกิดจากวัตถุประเภทกองหินสองกองถูกนำมาดันให้ติดกัน มีความกว้างราว 213-305 เมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 18 เดือน มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ มีวงโครรีมาก ช่วงที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ส่วนช่วงที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ห่างกว่ารัศมีวงโคจรของดาวอังคาร
นักดาราศาสตร์คาดว่าอิโตะกะวะเป็นเศษที่เหลือจากการถูกชนของวัตถุดวงอื่นซึ่งคาดว่ามีความกว้างไม่น้อยกว่า19 กิโลเมตร แรงกระแทกจากการพุ่งชนทำให้วัตถุดวงนั้นแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ต่อมามีเศษดาวเคราะห์น้อยที่แตกออกมาสองชิ้นได้มาชนกันและเกาะติดกันเป็นดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะดังที่เห็นในปัจจุบัน
เมื่อวันที่
ปริมาณของตัวอย่างของอิโตะกะวะที่ยานเก็บมาได้มีเพียงเล็กน้อย
ดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ ถ่ายโดยยานฮะยะบุซะ ตัวอย่างของอิโตะกะวะที่ยานนำกลับมาเก็บขึ้นมาจากทะเลมิวเซส (Muses Sea) ซึ่งเป็นบริเวณที่ราบเรียบบริเวณกลางดวง
(จาก Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA))
"การจะชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยอย่างอิโตะกะวะเป็นแหล่งต้นกำเนิดของน้ำบนโลก
"ซีเลียงและดิฉันพบว่าน้ำที่พบในอิโตะกะวะและโลกมีอัตราส่วนของดิวทีเรียมต่อไฮโดรเจนเหมือนกัน
การศึกษาพบว่าตัวอย่างที่เก็บมามีน้ำเป็นส่วนประกอบมากอย่างคาดไม่ถึง
การค้นพบในครั้งนี้สนับสนุนแนวคิดว่า
ซีเลียง จิน (ซ้าย) และ ไมตรียา โบส กำลังเตรียมตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะเพื่อการวิเคราะห์
(จาก Z. Jin and M. Bose/ASU)
ดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว
นักดาราศาสตร์คาดว่าอิโตะกะวะเป็นเศษที่เหลือจากการถูกชนของวัตถุดวงอื่นซึ่งคาดว่ามีความกว้างไม่น้อยกว่า